ภัยความมั่นคงชาติสู่ภัยร้ายของทวิตเตอร์

Loading

คอลัมน์ : Tech Times ผู้เขียน : มัชฌิมา จันทร์สว่างภูวนะ ข่าวสะเทือนขวัญวงการเทคประจำสัปดาห์นี้คือ การที่อดีตผู้บริหารของทวิตเตอร์ออกมาแฉว่า บริษัทยอมผ่อนปรนระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อให้รัฐบาลเผด็จการจากหลายประเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานได้ CNN และ The Washington Post รายงานว่า “ปีเตอร์ แซดโก้” อดีต Head of Security ของทวิตเตอร์ ได้ยื่นเอกสารและหลักฐานประกอบกว่า 200 หน้า ให้รัฐสภา กระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องในเดือนกรกฎาคม เพื่อเปิดโปงพฤติกรรมของบริษัทที่เขาอ้างว่าเป็น “ภัยต่อความมั่นคงของชาติ” และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานตกเป็นเป้าการสอดแนมจากรัฐบาลเผด็จการ “แซดโก้” กล่าวหาว่า ทวิตเตอร์มี “สปาย” แฝงตัวอยู่ในบริษัทเพื่อสอดแนมข้อมูลให้ต่างชาติ รวมทั้งมีการรับเงิน หรือสยบยอมต่อแรงกดดันของรัฐบาลหลายประเทศ เช่น จีน รัสเซีย ไนจีเรีย และซาอุดีอาระเบีย เพื่อแลกกับโอกาสในการสร้างรายได้และขยายฐานลูกค้า นอกจากนี้ เขายังกล่าวหาผู้บริหารระดับสูง รวมถึง “ปราค อัครวาล” ซีอีโอของทวิตเตอร์ ว่ามีความพยายามปกปิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยเหล่านี้ “แซดโก้”…

ปม “เหยียดเชื้อชาติ” ยังไม่แผ่ว Gen Z เชื้อสายเอเชีย ต้องดิ้นรน ในสหรัฐฯ

Loading

  ปัญหา “อาชญากรรมความเกลียดชัง” ในสหรัฐฯ ยังคงน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะปมเหยียดเชื้อชาติ กับ “ผู้มีเชื้อสายเอเชีย” ที่ต้องถึงกับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเพราะกลัวถูกคุกคาม ขณะที่คนรุ่นใหม่ วัย Gen Z พบปัญหา ไม่ได้รับการยอมรับ และต้องดิ้นรนปรับตัวเพื่ออยู่รอด รายงานข่าวจากซินหัว เมื่อ 26 ส.ค.65 อ้างอิงผลการวิจัยโดยศูนย์ศึกษาความเกลียดชังและลัทธิหัวรุนแรงของมหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐฯ เกี่ยวกับ “อาชญากรรมจากความเกลียดชัง” ที่ปมมาจากการ “เหยียดเชื้อชาติ” ในหลายเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ ว่า ยังคงเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจของ 15 เมืองใหญ่ที่มีประชากรรวมกัน 25.5 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าจำนวนเหตุร้ายที่มีอคติเป็นมูลเหตุเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 5 ในปีนี้ ขณะข้อมูลขนาดใหญ่กว่าจาก 52 เมืองใหญ่ แสดงให้เห็นว่าอาชญากรรมจากความเกลียดชังในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 30 ในปี 2021 เว็บไซต์เบรกกิงนิวส์เท็กซัสรายงานว่า อาชญากรรมจากความเกลียดชังในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเหตุจากหลายปัจจัยตั้งแต่ทัศนคติต่อต้านชาวเอเชียที่พุ่งสูงในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จนถึงความเกลียดชังคนผิวดำเพราะการประท้วงสนับสนุนความยุติธรรมทางเชื้อชาติที่ปะทุขึ้นทั่วประเทศเมื่อปี 2020 หลังเกิดเหตุสังหารชายชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน “จอร์จ ฟลอยด์” ขณะถูกตำรวจควบคุมตัว…

นราฯระอุ ปะทะเดือดบนภูเขา – เจอ 5 หลุมระเบิดรอซุกบึ้ม

Loading

  หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส สนธิกำลังเปิดยุทธการไล่ล่ายิงปะทะกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงบนภูเขาในพื้นที่ ต.สากอ สุไหงปาดี นราธิวาส ยังไม่รายงานความสูญเสีย ส่วนที่ อ.ยี่งอ พบหลุมริมถนนสาย 42 คาดคนร้ายขุดไว้หวังก่อเหตุลอบวางระเบิด ด้านชาวบ้านเหยื่อบึ้มในสวนยางพาราต้องเสียขาทั้งสองข้าง มีรายงานว่า พล.ต.เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 (ผบ.พล.ร.15) และผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส (ผบ.ฉก.นราธิวาส) ได้จัดกำลังร่วมกับฝ่ายตำรวจ และฝ่ายปกครอง เปิดแผนปฏิบัติการในห้วงตั้งแต่วันที่ 27 ส.ค.65 เป็นต้นมา ประกอบด้วยหน่วยแยก พล.ร.15 ฉก.นราธิวาส , นปพ.ร่วมป่าภูเขา (หน่วยปฏิบัติการพิเศษร่วมฯ), นปพ.ร่วมประจำ จ.นราธิวาส ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจส่วนหน้า และหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48 (ฉก.ทพ.48) โดยเข้าพิสูจน์ทราบเป้าหมายกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ป่าเขา ท้องที่ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส หลังจากได้ข้อมูลการข่าวเชิงลึกพบความเคลื่อนไหวของผู้ก่อเหตุรุนแรงรวมกลุ่มกันในพื้นที่นี้ ระหว่างการปฏิบัติ กำลังผสมได้เปิดฉากยิงปะทะกับกลุ่มติดอาวุธต้องสงสัย บริเวณป่าเชิงเขา ท้องที่หมู่ 1 บ้านตือระ ต.สากอ ซึ่งเป็นเส้นทางขึ้นเขาข้ามไปในพื้นที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส…

AI อาชญากรรม ใช้ในงานอาชญากรรม คาดการณ์แม่นยำ ก่อนเกิดเหตุ

Loading

  ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน เหตุอาชญากรรมมีอัตราถี่มากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ จากวิกฤติด้านเศรษฐกิจและปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ทำให้ตอนนี้นักวิจัยได้พัฒนา AI อาชญากรรม เพื่อคาดการณ์เหตุอาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้น มีความแม่นยำมากกว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ และตอนนี้ได้นำทดลองใช้ในหลายเมืองของสหรัฐฯ แล้ว . ในบทความล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน Nature Human Behaviour ศาสตราจารย์ Ishanu Chattopadhyay และเพื่อนร่วมงานได้สาธิตโมเดล AI เชิงทำนายในแปดเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ . แนวคิดการทำงานของ AI นั่นเรียบง่ายครับ โดยจะมีการนำข้อมูลบันทึกเหตุการณ์สำหรับอาชญากรรมแต่ละประเภท รวมถึงสถานที่และเวลาที่อาชญากรรมเกิดขึ้นไปป้อนเข้าสู่อัลกอริธึม และ Machine Learning ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลแยกออกมาเป็นตารางของผังเมืองแต่ละที่ และบันทึกเหตุการณ์จะถูกรวมเข้ากับพื้นที่นั้น ๆ เพื่อสร้างสิ่งที่นักวิจัยเรียกว่า “อนุกรมเวลา” จากนั้น AI จะใช้อนุกรมเวลาเหล่านี้เพื่อทำนายอาชญากรรมโดยพิจารณาจากสถานที่และเวลาที่มักเกิดขึ้น . แต่บางคนอาจเกิดความกังวลว่า หากคนที่ใส่ข้อมูลในอัลกอริธึมมีอัคติล่ะ เช่น อาจไม่ชอบคนผิวสี อย่างที่เคยเป็นข่าวเหยีดผิวในสหรัฐบ่อย ๆ หรือบางคนจะถูกจับขังเข้าคุกหรือเปล่า ๆ ทั้ง ๆ ที่เขาอาจยังไม่ได้ทำความผิดใด ๆ…

รัสเซียล่าตัวชายต้องสงสัยร่วมขบวนสังหาร ‘ดาเรีย ดูกินา’ ลูกสาวคนสนิทปูติน

Loading

  รัสเซียพบชายต้องสงสัยอีกรายร่วมขบวนสังหาร ‘ดาเรีย ดูกินา’ บุตรสาวคนใกล้ชิดของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน สำนักงานความมั่นคงกลางรัสเซีย (FSB) เปิดเผยว่า มีชายชาวยูเครนอีกรายหนึ่งที่คาดว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบสังหาร ‘ดาเรีย ดูกินา’ บุตรสาวของอเล็กซานเดอร์ ดูกิน นักปรัชญาชาตินิยมสุดโต่ง ผู้เป็นพันธมิตรคนสนิทที่ได้ชื่อว่าเป็นมันสมองของประธานาธิบดีปูติน ก่อนหน้านี้ FSB ได้เปิดเผยชื่อ นาตาเลีย โวฟค์ หญิงชาวยูเครนที่เชื่อว่าเป็นคนลงมือสังหารหลังจากที่วางแผนมาหลายเดือน ด้วยการเข้ามาอาศัยอยู่ในรัสเซียตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค. เพื่อสอดแนมและซุ่มติดตามดูกินา โดยพบว่า โวฟค์อยู่ในงานเทศกาลวัฒนธรรมที่อเล็กซานเดอร์ ดูกิน และดาเรีย ดูกินา เข้าร่วมในวันเกิดเหตุด้วย ซึ่ง FSB อ้างว่าโวฟค์เป็นผู้กดระเบิดสังหารก่อนจะหนีไปยังเอสโตเนีย ล่าสุด FSB ได้ออกแถลงการณ์ในวันนี้ (29 ส.ค.) ว่ามีผู้ต้องส่งสัยอีกรายหนึ่งที่คาดว่าเป็นผู้ร่วมขบวนการก่อเหตุสังหารดูกินา เป็นชายชาวยูเครนอายุ 44 ปี โดยพบหลักฐานเป็นกล้องวงจรปิดในขณะที่ชายผู้นี้ช่วยมือสังหารประกอบรถยนต์ที่ใช้ก่อเหตุในอู่ซ่อมรถแห่งหนึ่งในกรุงมอสโก และได้เดินทางออกจากรัสเซียไปยังเอสโตเนียก่อนที่จะเกิดเหตุคาร์บอม 1 วัน ภาพจากกล้องวงจรปิดซึ่ง FSB นำออกมาเปิดเผย ปรากฏภาพของชายคนดังกล่าวซึ่งถูกระบุว่า เดินทางเข้ารัสเซียเมื่อวันที่ 30 ก.ค. โดยได้มีการเดินทางเข้าและออกจากอู่ซ่อมรถอยู่หลายครั้ง…

แค่ฟังเสียงก็รู้! แฮ็กเกอร์สาธิตการถอดข้อความโดยอาศัยแค่การวิเคราะห์เสียงกดแป้นพิมพ์

Loading

สาธิตใช้ Keytap3 ถอดรหัสข้อความจากเสียงกดแป้นพิมพ์ Georgi Gerganov นักวิจัยความปลอดภัยได้โพสต์คลิปวิดีโอสาธิตการดักจับข้อความที่ถูกพิมพ์โดยอาศัยเพียงการดักฟังเสียงกดแป้นพิมพ์เท่านั้น Gerganov ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า Keytap3 ที่ทำการถอดรหัสข้อความแบบเรียลไทม์จากเสียงกดแป้นพิมพ์ที่มันจับเสียงได้ ตัวอย่างที่เขาสาธิตนั้นอาศัยเพียงไมโครโฟนของสมาร์ทโฟนธรรมดาก็ดีเพียงพอสำหรับการทำงานของ Keytap3 แล้ว จากชื่อของมัน Keytap3 นี้เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนามาเป็นเวอร์ชั่นที่ 3 แล้ว ในเวอร์ชั่นก่อนนั้นการจับเสียงจะต้องวางไมโครโฟนไว้ตำแหน่งเดียวห้ามเคลื่อนย้าย และจะต้องมีการพิมพ์ข้อความมาตรฐาน (เหมือนเป็นการปรับศูนย์จูนระบบ) ลงบนแป้นพิมพ์ให้จบก่อน ซอฟต์แวร์จึงจะเริ่มทำการถอดรหัสข้อความหลังจากนั้นได้ แต่แน่นอนว่า Keytap3 ในตอนนี้ไม่ต้องมีเงื่อนไขเหล่านั้นอีกต่อไป Gerganov อธิบายแนวคิดการวิเคราะห์เสียงของ Keytap3 ว่ามันจำแนกเสียงการกดแป้นพิมพ์ตัวอักษรต่างๆ ที่มีเสียงคล้ายคลึงกันถูกจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน จากนั้นนำเอาข้อมูลเชิงสถิติว่าตัวอักษรใดถูกใช้งานบ่อยมากน้อยแค่ไหนในภาษานั้นๆ เข้ามาวิเคราะห์ประกอบด้วย และเพื่อยืนยันว่าการวิเคราะห์ถอดรหัสข้อความนั้นอาศัยใช้แค่ข้อมูลเสียงการพิมพ์เท่านั้น คลิปวิดีโอสาธิตของเขาจึงนำเอาแป้นพิมพ์เปล่าๆ ที่ไม่ได้เสียบสายใดๆ มาพิมพ์ข้อความโชว์ให้เห็นกันชัดๆ     อย่างไรก็ตามในตอนนี้ Keytap3 สามารถวิเคราะห์ได้เฉพาะเสียงกดของแป้นพิมพ์แบบเมคานิคอลเป็นหลัก เนื่องจากมีเสียงกดที่ดังและชัดเจนพอสำหรับการวิเคราะห์ ใครที่อยากลองเล่น Keytap3 ก็สามารถเข้าไปทดลองใช้งานได้ที่นี่ ที่มา – TechRadar     ที่มา : blognone   / …