เปิดหน้าชก! BRN รับอยู่เบื้องหลังสั่งบึ้ม 3 จว.ใต้ โจมตีทำลายอำนาจทุนนิยม

Loading

  BRN แถลงการณ์ผ่านโซเชียล รับเป็นผู้สั่งการลอบวางระเบิด วางเพลิง ปั๊มน้ำมัน-ร้านสะดวกซื้อ อ้างทำลายอำนาจทุนนิยม หน่วยความมั่นคงเชื่ออ้างความชอบธรรมในหมู่ประชาชน หวังเปิดหน้าชก ต่อกรอำนาจรัฐ จากกรณีเหตุความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคนร้ายลอบวางเพลิง ลอบวางระเบิด ร้านสะดวกซื้อรวมถึงปั๊มน้ำมันรวม 17 จุด สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง เหตุเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนวันที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา และจากหลักฐานที่ตรวจพบทำให้เชื่อฝีมือกลุ่มแนวร่วม BRN ทั้งเก่า-ใหม่ หวังแสดงศักยภาพ-โชว์ผลงานก่อนแต่งตั้งแกนนำระดับสูงในพื้นที่ ตามที่ได้เสนอข่าวมาอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น วินาทีบึ้ม! วงจรปิดชัด ‘BRN’ โชว์ศักยภาพ ก่อนแต่งตั้งแกนนำระดับสูง เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อช่วงค่ำวันที่ 18 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดน BRN ส่งเอกสารแถลงการณ์ผ่านทาง “โซเชียลมีเดีย” ทั้งภาษา มาลายู และ ภาษาไทย สื่อสารมายังคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยยอมรับว่าเป็นผู้สั่งการให้ แนวร่วมในพื้นที่ก่อเหตุดังกล่าวทั้งหมด และขอแสดงความเสียใจกับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว    …

เพิ่มขึ้นเท่าตัว Adware ตัวร้าย ฝังมัลแวร์มากับโฆษณา

Loading

  Adware หรือแอดแวร์ เป็นมัลแวร์ที่มักจะมีโฆษณาเป็นตัวสนับสนุน มักจะเปิดหน้าต่างป๊อปอัปใหม่โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะมีโฆษณาในเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต หรือเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นของเบราว์เซอร์ หรือมักลิงก์ไปยังเว็บขายของออนไลน์ . บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Kaspersky เปิดเผยรายงานใหม่เกี่ยวกับจำนวนการโจมตีของ Adware ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าใจหาย โดยตั้งแต่มกราคม 2563 ถึงมิถุนายน 2565 แคสเปอร์สกี้ได้บันทึกการโจมตีจาก Adware ที่กำหนดเป้าหมายไปยังผู้ใช้งานมากถึง 4.3 ล้านคน . การโจมตีของ Adware จะใช้ลักษณะที่ปลอมแปลงตัวเองเป็นส่วนขยายของเบราว์เซอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น แอปแปลงเอกสาร จาก .DOC เป็น PDF หรือยูทิลิตี้ในการรวมเอกสาร แน่นอนว่าส่วนขยายเหล่านี้ให้โหลดใช้ฟรี เมื่อใครดาวน์โหลดมาติดตั้ง ก็จะแอบส่งโฆษณามาให้ หรือทำการเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นของเบราว์เซอร์ หรือมักเด้งป๊อปอัปไปยังเว็บขายของออนไลน์เพื่อเอาค่าคอมมิชชั่นครับ . จริง ๆ แล้วตัว Adware อาจไม่ได้อันตรายขนาดนั้น เพียงแต่จะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ เพราะบางคนอาจไม่มีความรู้เรื่องการตั้งค่าเบราว์เซอร์ กด Reset ค่าต่าง ๆ ไม่เป็น ก็เจอโฆษณาอยู่อย่างนั้น และบางครั้งก็กดปิดยากมาก .…

วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร มีเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่

Loading

  วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร มีหลายวิธีที่สามารถตรวจสอบได้ และมีวิธีเช็กเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่ และเช็กว่าบัตรประชาชนของเรานำไปใช้เปิดซิมเบอร์โทรศัพท์มือถือไปแล้วกี่เบอร์ เพื่อป้องกันถูกคิดค่าบริการจากคนอื่นที่ใช้บัตรประชาชนเราเปิดเบอร์ด้วย วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร ? เบอร์เครือข่าย AIS หากทราบว่าเบอร์นี้เป็นเบอร์ของ AIS ง่ายสุดคือใส่ซิมลงในมือถือ ดาวน์โหลดแอป My AIS แล้วทำการ login ผ่าน OTP จะแสดงเบอร์โทรศัพท์ของคุณ หากมีการลงทะเบียนแล้วจะแสดงเป็นชื่อ นามสกุลเจ้าของเบอร์โทรในหน้าเมนูด้วย เบอร์เครือข่าย True ตรวจสอบได้ผ่านทางกด *153# โทรออก ระบบจะแจ้งว่าเบอร์นี้ลงทะเบียนกับบัตรลงท้ายอะไร สำหรับซิมระบบเติมเงิน ส่วนถ้าใช้ซิมรายเดือนก็จะเป็นการเช็คว่าจดทะเบียนแล้วหรือยัง เบอร์เครือข่าย dtac สามารถกด *102# โทรออกเพื่อเช็คเลขบัตรประชาชน 4 ตัวสุดท้ายที่จดทะเบียนด้วยเบอร์เติมเงิน วิธีตรวจสอบ มีเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่ หรือบัตรประชาชนของเราไปเปิดเบอร์มือถือเบอร์ไหนบ้าง     ดาวน์โหลดแอป 3 ชั้น ทาง App Store หรือ Google Play จากนั้นเตรียมบัตรประชาชนในการทำการลงทะเบียนด้วย เริ่มต้นเปิดแอป 3…

Human Error มนุษย์คือจุดอ่อน เปิดทางแฮกเกอร์เข้าโจมตี

Loading

ไม่มีใครไม่เคยทำผิดพลาด การทำผิดพลาดล้วนสร้างประสบการณ์และบทเรียนให้กับมนุษย์ นั่นคือวิธีที่เราเติบโตและเรียนรู้ แต่การรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ความผิดพลาดของมนุษย์อาจเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามมากเกินไป . จากการศึกษาของ IBM ข้อผิดพลาดของมนุษย์เป็นสาเหตุหลักของการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ 95 เปอร์เซ็นต์ พูดง่าย ๆ คือ หากเราสามารถลด Human Error ได้ เราสามารถลดการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากถึง 19 จาก 20 ครั้งเลยทีเดียว . ปัจจุบัน ประเทศถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกกำหนดเป็นเป้าหมายในการโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเราได้มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโควิด แต่นั่นก็ทำให้ตัวเลขการโจมตีเพิ่มสูงขึ้นมากเช่นกัน . ในบริบทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความผิดพลาดของมนุษย์หมายถึงการกระทำที่อาจไม่ได้ตั้งใจหรือขาดความยั้งคิดจนทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น โดยพนักงานและผู้ใช้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจาย หรืออนุญาตให้มีการละเมิดความปลอดภัยเกิดขึ้น ตั้งแต่การดาวน์โหลดไฟล์แนบที่ติดมัลแวร์มา การตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย ไปจนถึงการอนุญาติสิทธิ์โดยไม่รู้ตัว . ด้วยสภาพแวดล้อมการทำงานที่ก้าวหน้าและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงมีเครื่องมือและบริการต่างๆ ที่เราใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ในการยืนยันสิทธิ์เข้าใช้งาน เรามีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน และสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องจดจำสำหรับแต่ละรายการ ทั้งหมดนี้เพิ่มขึ้น ทำให้พนักงานเริ่มใช้ทางลัดเพื่อทำให้ชีวิตตัวเองง่ายขึ้น . สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิด…

อึ้ง! ศาล รธน.ฟ้องเรียก 10 ล้าน คดีแฮกเว็บเปลี่ยนชื่อ Kangaroo Court ฐานทำชื่อเสียงเสียหาย

Loading

  สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องเรียก 10 ล้าน คดีแฮกเว็บเปลี่ยนชื่อ Kangaroo Court ฐานทำชื่อเสียงเสียหาย โดยศาลแพ่งยกคำร้อง เพราะไม่สอดคล้องข้อมูลความผิดอาญา ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องคดีอาญา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเล่าเรื่องคดีแฮกเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Kangaroo Court โดยระบุว่า คดีแฮกเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Kangaroo Court ส่วนคดีอาญา จำเลยให้การรับสภาพ ไม่ได้ต่อสู้คดี แต่ค่าเสียหายในส่วนแพ่งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เรียกค่าเสียหายมาทั้งหมด 10,288,972 บาท แบ่งเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียง 10,000,000 บาท ค่าเสียหายในส่วนแพ่งเราสู้คดีหลายประเด็น ประเด็นสำคัญ คือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 เพราะคดีนี้อัยการโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเกี่ยวกับการทำให้เสียหาย แก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมฯ ไม่ได้ฟ้องความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเสื่อมเสียชื่อเสียง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียง ตามมาตรา 44/1 เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนแพ่งที่ไม่สอดคล้องกับมูลความผิดทางอาญา ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องคดีอาญา ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเพียงแค่ 87,227…

ทางการ Tokyo เริ่มใช้หุ่นยนต์ลาดตระเวนช่วยงานรักษาความปลอดภัยในอาคาร

Loading

หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย SQ-2 ทางการโตเกียวได้เริ่มใช้หุ่นยนต์ลาดตระเวนในพื้นที่สำนักงานของศาลาว่าการ Tokyo โดยหุ่นยนต์เหล่านี้จะคอยวิ่งตรวจตราพื้นที่ภายในอาคารและยังเป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่ให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ด้วย ก่อนหน้านี้ทางการโตเกียวได้ทดลองใช้งานหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ในอาคารมาตั้งแต่ปี 2018 แต่ครั้งนี้คือการจัดสรรหุ่นยนต์มาใช้งานจริงอย่างเป็นทางการจำนวน 3 ตัว โดยหุ่นเหล่านี้มีชื่อรุ่นว่า SQ-2 ผลิตโดยบริษัท SEQSENSE ผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2016 SQ-2 มีขนาดความสูง 1.30 เมตร น้ำหนัก 65 กิโลกรัม ด้านบนของมันติดตั้งเซ็นเซอร์ LIDAR เพื่อใช้สแกนพื้นที่โดยรอบเพื่อสร้างแผนที่ รวมทั้งใช้เพื่อการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ตลอดจนการคำนวณหาตำแหน่งของตนเองเทียบกับข้อมูลแผนที่อาคาร มันสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงหลังการชาร์จไฟแต่ละครั้ง โดยเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมดหุ่น SQ-2 จะวิ่งกลับไปสถานีชาร์จไฟได้เอง ตัวหุ่นมีกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงพร้อมระบบส่งข้อมูลแบบไร้สายเพื่อส่งสัญญาณภาพกลับไปให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่นั่งประจำการอยู่ในห้องควบคุม นอกจากนี้มันยังมีไมโครโฟนและลำโพงสำหรับให้คนที่อยู่ใกล้เคียงสามารถพูดคุยสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ในห้องควบคุมได้ด้วย เจ้าหน้าที่ของทางการ Tokyo อธิบายถึงสาเหตุหลักของการใช้หุ่นยนต์ทำหน้าที่ลาดตระเวนพื้นที่นี้ว่าเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนคนทำงานด้านการรักษาความปลอดภัย และด้วยปัญหาขาดแคลนคนนี้จึงเป็นไปได้มากว่าเราจะเห็นการใช้งานหุ่นยนต์แบบนี้เพิ่มมากขึ้นอีกหลายที่ในอนาคต ที่มา – SoraNews24       ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่ 18 ส.ค.65 Link…