“พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” แท้จริงแล้วคืออะไร และจะสามารถช่วยนำพาราชการไทยสู่ “รัฐบาลดิจิทัล” ได้จริงหรือไม่ ติดตามอ่านได้จากบทความนี้
พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ร่างกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ที่ได้ผ่านการเห็นชอบจากทางรัฐสภา คาดว่าจะเริ่มใช้ปี 2566
พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีแล้วดีอย่างไร?
ข้อดีของการมี “พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” มีดังนี้
– ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
– ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
– อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
– ช่วยลดต้นทุนกระดาษและวัสดุสิ้นเปลือง
– ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลอีกด้วย
ไม่ใช่เพียงภาครัฐหรือหน่วยงานราชการเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ทุกองค์กรก็สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้เช่นกัน
ตัวช่วยเปลี่ยนองค์กรให้เป็น “Intelligent Office”
ระบบสำนักงานอัจฉริยะ คือซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่จะเข้ามาช่วยบริหารระบบงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” และ “ข้อกำหนด PDPA” ซึ่งภายในซอฟต์แวร์ตัวนี้จะช่วยจัดการงานเอกสาร และงานประชุมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
– ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document System) จะเข้ามาช่วยสนับสนุนงานด้านสารบรรณทั้งหมด เช่น การลงทะเบียนเพื่อออกเลขรับเลขส่งเอกสาร , การรับ-ส่ง-เสนอ และเกษียนหนังสือออกภายในหน่วยงาน , รับส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน , มีเครื่องมือช่วยในการสืบค้น , สามารถติดตามหนังสือที่ต้องการได้ โดยระบบสำนักงานอัจฉริยะจะสอดคล้องกับ พรบ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
– ระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Document Management System) ช่วยในการจัดเก็บและค้นเอกสารกระดาษภายในองค์กรในรูปแบบไฟล์ชนิดต่างๆ เช่น Microsoft Word , PDF , ภาพ , เสียง และไฟล์อื่นๆ ง่ายต่อการสืบค้นและเรียกดูเอกสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ในการเข้าใช้ระบบ มีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้า และสอดคล้องกับข้อกำหนด PDPA ซึ่งกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– งานระบบบริหารวาระการประชุม (Agenda Management System) ระบบจะสนับสนุนงานการประชุมทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มสร้างหัวข้อในการประชุมเพื่อเสนอผ่านระบบ การนำหัวข้อหรือประเด็นต่างๆ มาจัดเข้าวาระการประชุม การบันทึกรายละเอียดผู้ร่วมประชุม การเรียกดูวาระการประชุม การบันทึกมติที่ประชุม และการติดตามผลมติในที่ประชุม
อีกทั้ง โครงการระบบสำนักงานอัจฉริยะได้เลือกใช้และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากมีข้อสงสัยหรือต้องการใช้ระบบสำนักงานอัจฉริยะสามารถปรึกษาการใช้งาน และแจ้งปัญหาการทำงานต่างๆ ของระบบผ่านทาง Call Center และ Line Official ของ บมจ. ดิทโต้ (ประเทศไทย) ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นี่คือระบบที่เปลี่ยนให้องค์กรเป็น Smart Organization เพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่อัจฉริยะอย่างสมบูรณ์แบบ สร้างประโยชน์และคุณค่าที่ดีกลับคืนสู่ประชาชนที่มาติดต่องานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ / วันที่เผยแพร่ 9 ก.ย.65
Link : https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1025653