สำหรับคนทั่วไปการป้องกันการระเบิดอาจหมายความว่ามันสามารถทนต่อการจากแหล่งภายนอกเข้ามาหาภายใน อย่างไรก็ตามการป้องกันการระเบิด และ คำจำกัดความอาจมีมากกว่าที่หลายคนเข้าใจได้ ซึ่งในบทความนี้การกันการระเบิดจะหมายถึงอุปกรณ์ป้องกันการระเบิด ภายในไม่ให้ออกไปออกสู่ภายนอกอุปกรณ์ได้
การป้องกันการระเบิดคืออะไร?
เรามักจะมีความกังวลถึงความปลอดภัยในพื้นที่อันตรายมาก ๆ หรือพื้นที่ไวไฟ เช่น ห้องเก็บสารเคมี ห้องเก็บเชื้อเพลิงไวไฟ นิยมติดตั้งในอุตสาหกรรมโรงงานประเภท ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส เป็นต้น การป้องกันการระเบิดที่อาจจะเกิดจากประกายไฟ หรือ การลุกติดไฟส่วนใหญ่มุ่งไปที่อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่นำมาใช้ภายในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว
“อุปกรณ์ป้องกันการระเบิด” คือวัสดุที่ได้รับการออกแบบ และ สร้างขึ้นเพื่อระงับประกายไฟ หรือ การปล่อยประจุ วัสดุอาจประกอบด้วยอะลูมิเนียมหล่อ หรือ สแตนเลส โดยมีมวล และ ความแข็งแรงมากพอปกป้องสารไวไฟไม่สามารถทะลุผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากภายในได้ออกไปสู่ด้านนอกของอุปกรณ์ได้ นอกจากนี้การออกแบบยังป้องกันการเพิ่มอุณหภูมิความร้อนพื้นผิวไม่ให้เกินระดับที่จุดเดือดอีกด้วย
มาตรฐานไฟฟ้าแห่งชาติ (NEC), สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (NFPA) และ ห้องปฏิบัติการการรับประกันภัย (UL) ได้กำหนดรหัสที่จัดหมวดหมู่แบบแบ่งพื้นที่อันตรายออกเป็นคลาส และ โซนเพื่อง่ายต่อการเลือกใช้อุปรกรณ์ระดับต่างๆที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของพื้นที่เรา
หลักการป้องกันการระเบิดเกิดขึ้นได้อย่างไร?
หลักการป้องกันไม่ให้เกิดการระเบิดคือพื้นฐานขององค์ประกอบของการติดไฟ (Fire Triangle) หรือ สามเหลี่ยม “ไฟ” โดยการป้องกันการระเบิดโดยตัดแหล่งที่มาของเชื้อเพลิง (ก๊าซ ของเหลว หรือไอระเหยที่สามารถระเบิดได้) การติดไฟ (ไฟ ประกายไฟ หรือการระเบิด) และ อากาศ หรือ ออกซิเจน หากสามสิ่งนี้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมก็จะเกิดการระเบิด แต่หากเราตัดตัวประกายไฟไม่ให้ไปสัมผัสกับตัวอื่นๆได้ การระเบิดก็จะไม่เกิดขึ้นนั้นเอง
เชื้อเพลิง — วัสดุไวไฟได้ หรือ ที่ง่ายต่อการติดไฟได้ ซึ่งอาจเป็นก๊าซ ของเหลว หรือ ของแข็ง
ความร้อน — แหล่งกำเนิดประกายไฟที่อาจจะมีเปลวไฟ หรือประกายไฟอื่นๆ (เช่น จากกระแสไฟฟ้า กระแสไฟลัดวงจร) นอกจากนี้ปฏิกิริยาเคมีก็สร้างความร้อน และ ติดไฟได้โดยมีองค์ประกอบส่วนผสมของเชื้อเพลิง และออกซิเจน
ออกซิเจน — แหล่งออกซิเจน (อากาศ) สามารถมาจากสารเคมีที่เรียกว่าตัวออกซิไดซ์ ตัวอย่างเช่น ตัวออกซิไดซ์ทั่วไปคือประเภทของสารเคมี เช่น คลอรีน คลอรีนไดออกไซด์ โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต และโพแทสเซียมคลอเรต
อุปกรณ์ป้องกันการระเบิด EXPLOSION PROOF มีอะไรบ้าง
อุปกรณ์ป้องกันการระเบิดนั้นมีมากมายหลายชนิดหรือเทียบเท่ากับอุปกรณ์ทั่วไปเลยก็ว่าได้เช่น
– ตู้คอนโทรลไฟฟ้า
– โคมไฟ
– สวิตซ์กันระเบิด
– ที่แขวนโคมไฟกันระเบิด
– ข้อต่อต่าง ๆ
– สายเคเบิล
หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันระเบิด
มาตรฐาน IEC (สากล) และ NEC (อเมริกา)
1. พื้นที่เสี่ยงสูงมาก Zone 0 คือ พื้นที่ที่มีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นมากพอที่จะเกิดระเบิด มากกว่า 1,000 ชม./ปี ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นที่นี้
2. พื้นที่เสี่ยงสูง Zone 1 / Division 1 คือ พื้นที่ที่ในภาวะปกติอาจมีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นมากพอที่จะเกิดระเบิดได้ หรือมีสสารอันตรายระหว่าง 10-1,000 ชม./ปี ซึ่งต้องใช้ได้โคมไฟกันระเบิดระดับ Zone 1 หรือ 21 เท่านั้น
3. พื้นที่เสี่ยงต่ำ Zone 2 / Division 2 คือ พื้นที่ที่ในภาวะปกติเกือบจะไม่มีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นมากพอที่จะเกิดระเบิดได้ หรือมีสสารอันตรายไม่เกิน 10 ชม./ปี หรือพื้นที่เสี่ยงที่อยู่ติดกับพื้นที่ Zone 1
นั่นหมายความว่าโคมไฟกันระเบิดที่ติดตั้งในพื้นที่เสี่ยงสูงอย่าง Zone 1 ย่อมต้องมีการป้องกันและคุณภาพวัสดุที่สูงกว่าโคมไฟกันระเบิดที่ติดตั้งในพื้นที่เสี่ยงต่ำกว่าใน Zone 2 โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องเลือกติดตั้งโคมไฟกันระเบิดที่มีมาตรฐานรองรับตรงกับพื้นที่เสี่ยงนั้นๆ
————————————————————————————–
ที่มา : จป ทูเดย์ / วันที่เผยแพร่ –
Link : https://www.jorportoday.com/explosion-proof/