หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นในอนาคตอันใกล้ และมีผู้รอดชีวิตติดอยู่ใต้เศษซากของอาคาร สิ่งตอบสนองอย่างแรกที่จะระบุตำแหน่งของพวกเขาคือ ฝูงแมลงสาบไซบอร์ก
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่า “แมลงสาบไซบอร์ก” เป็นการประยุกต์ใช้ที่มีศักยภาพของการพัฒนาล่าสุดโดยกลุ่มนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ซึ่งสาธิตความสามารถในการติดตั้ง “กระเป๋าสะพายหลัง” ของโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนตัวแมลง และควบคุมการเคลื่อนไหวของพวกมันด้วยรีโมตคอนโทรล
นักวิจัยสาธิตการส่งสัญญาณเข้าสู่อุปกรณ์ ที่อยู่บนหลังของแมลงสาบมาดากัสการ์
นายเคนจิโร่ ฟุคุดะ และทีมของเขา จากห้องปฏิบัติการอุปกรณ์ชนิดฟิล์มบาง ของบริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น “ริเคน” ทำการพัฒนาฟิล์มโซลาร์เซลล์แบบยืดหยุ่น ซึ่งมีความหนา 4 ไมครอน, กว้างประมาณ 1 ส่วน 25 ของเส้นผมมนุษย์ และสามารถใส่ได้พอดีกับท้องของแมลง โดยฟิล์มดังกล่าวจะทำให้แมลงสาบเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ในขณะที่โซลาร์เซลล์จะผลิตพลังงานที่เพียงพอต่อการประมวลผล และส่งสัญญาณบอกทิศทางไปยังอวัยวะรับความรู้สึก ที่อยู่ส่วนหลังของแมลง
นักวิจัยกำลังทำการติดตั้งอุปกรณ์บนตัวแมลงสาบมาดากัสการ์
อนึ่ง การวิจัยนี้จัดทำขึ้นจากการทดลองควบคุมแมลงของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ซึ่งทีมวิจัยของฟุคุดะ คาดหวังว่าในอนาคต แมลงไซบอร์กจะสามารถเข้าไปในพื้นที่อันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าหุ่นยนต์อีกด้วย
If an earthquake strikes in the not-too distant future and survivors are trapped under tones of rubble, the first responders to locate them could be swarms of cyborg cockroaches pic.twitter.com/hQbYH30yDa
— Reuters (@Reuters) September 22, 2022
ฟุคุดะและทีมของเขาเลือกแมลงสาบมาดากัสการ์สำหรับการทดลอง เพราะมันมีขนาดตัวที่ใหญ่พอ และไม่มีปีกที่อาจเป็นอุปสรรค ซึ่งแม้ว่าอุปกรณ์ และฟิล์มจะถูกติดอยู่ที่หลัง แต่แมลงสาบเหล่านี้ยังสามารถข้ามผ่านสิ่งกีดขวางเล็ก ๆ หรือพลิกตัวกลับเมื่อมันหงายท้องได้
อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ยังต้องใช้เวลาอีกนาน เนื่องจากในการสาธิตครั้งล่าสุด นายูจิโร่ คาเคอิ นักวิจัยของริเคน ใช้คอมพิวเตอร์เฉพาะและสัญญาณบลูทูธไร้สาย เพื่อบอกให้แมลงสาบไซบอร์กเลี้ยวซ้าย ซึ่งมันก็ขยับไปในทิศทางนั้น แต่เมื่อให้สัญญาณไปทางขวา แมลงสาบกลับหมุนตัววนเป็นวงกลม
นอกจากนี้ ความท้าทายต่อไปสำหรับทีมวิจัยคือ การลดขนาดส่วนประกอบ เพื่อให้แมลงสามารถเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น และสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ หรือแม้แต่กล้องได้.
เครดิตภาพ : REUTERS
———————————————————————————————————————————————
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ 22 ก.ย.65
Link : https://www.dailynews.co.th/news/1497364/