นักบินขู่พุ่งเครื่องบินเล็กใส่วอลมาร์ทในสหรัฐฯ

Loading

  เกิดเหตุระทึกพนักงานของสนามบินแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ขับเครื่องบินเล็กที่ขโมยมาและขู่พุ่งเครื่องบินใส่ร้านวอลมาร์ทในรัฐมิสซิสซิปปี แต่สุดท้ายนำเครื่องลงจอดในทุ่งอย่างปลอดภัยและถูกจับกุมตัวแล้ว   จอห์น ควอกา หัวหน้าตำรวจเมืองทูเพโล รัฐมิสซิสซิปปี แถลงว่า คอรี เวยน์ แพทเทอร์สัน พนักงานของบริษัททูเพโล เอวิเอชัน นาน 10 ปี ก่อเหตุขโมยเครื่องบินเล็กรุ่น บีชคราฟต์ คิง แอร์ ซี90 แบบเครื่องยนต์ 2 ตัว และขับเครื่องบินออกจากสนามบิน ทูเพโล รีเจียนัล แอร์พอร์ตในเมืองทูเพโลเมื่อเวลา 5.08 น. ของวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น เขาโทรศัพท์แจ้งตำรวจเขต ลี เคาน์ตีในเวลา 5.23 น. ว่า จะขับเครื่องบินพุ่งใส่ร้านเวสต์เมน วอลมาร์ทในเมืองทูเพโล ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องอพยพคนในร้านและบริเวณใกล้เคียง และปิดถนนสายหลักหลายสายในเมือง   นักเจรจาของตำรวจพยายามโน้มน้าวให้เขานำเครื่องบินลงจอดที่สนามบิน โดยมีนักบินเอกชนช่วยเหลือตำรวจในการแนะนำแพทเทอร์สันนำเครื่องลงจอด แต่เขากลับเปลี่ยนใจไม่ลงจอด และภาพจากเวบไซต์ Flightradar24.Com เผยให้เห็นว่า เครื่องบินบินวนไปมารอบเมือง     ตำรวจเปิดเผยว่า ในอีกกว่า…

บพข. พัฒนาเทคโนโลยี 5G – AI ป้องกันการอาชญากรรม

Loading

  หน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) และเกาหลีใต้ “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G – AI” เพื่อติดตามและป้องกันอาชญากรรม เช่น การตรวจจับใบหน้า ติดตามวัตถุ สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้แก่ประชาชน   สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล ม.สงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลง “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ AI” เพื่อกิจการงานตำรวจ ซึ่งนำร่องด้วยแพลตฟอร์ม 5G-AI รักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง ม.สงขลานครินทร์, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, บริษัท พอยท์ ไอที คอนซัลทิ่ง จำกัด   และภาคเอกประเทศเกาหลีใต้ ประกอบด้วย Hanwha Techwin (ประเทศไทย) บริษัท ฟาโตส จำกัด (FATOS) และ บริษัท อินโนเดป อิงค์ (InnoDep Inc) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ เพื่อติดตามและป้องกันการเกิดอาชญากรรม สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ…

อินเดียยกระดับการป้องกันทางไซเบอร์ต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ หลังประสบเหตุโจมตีหลายครั้ง

Loading

  ราช คูมาร์ สิงห์ (Raj Kumar Singh) รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของอินเดียเผยว่ารัฐบาลจะเพิ่มให้แก่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายไฟฟ้าฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2022 (Electricity Amendment Bill)   กฎหมายฯ ฉบับดังกล่าวให้อำนาจในการตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อระบบโครงข่ายที่ควบคุมการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้า   “เรากำลังเผชิญการโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบการส่งกระแสไฟฟ้า เรารู้ว่าผู้โจมตีมาจากที่ไหน เราจึงต้องปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยทางไซเบอร์” สิงห์ระบุ   ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สิงห์เคยออกมายอมรับว่าเคยมีเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ โดยเกิดขึ้นในหลายช่วง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 – กุมภาพันธ์ 2022 แต่ไม่มีครั้งไหนที่ทำสำเร็จ และเคยมีรายงานในช่วงต้นปีว่ามีการโจมตีศูนย์บริหารราชการใน 7 รัฐของอินเดีย รวมถึงจุดจ่ายกระแสไฟฟ้าบริเวณชายแดนด้วย   สำหรับกฎหมายไฟฟ้าฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ได้เพิ่มอำนาจให้แก่การไฟฟ้าแห่งชาติ (National Load Dispatch Center) ของอินเดียในการรักษาความปลอดภัยของศูนย์จ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและระบบพลังงานของประเทศ   มีการอำนาจศูนย์จ่ายไฟการตรวจสอบความผิดปกติได้ตลอดเวลาและให้สามารถมอบคำสั่งได้หากจำเป็น โดยย้ำว่าระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของประเทศมีความเปราะบางมาก หากมีจุดใดจุดหนึ่งที่ล่ม ก็อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อทั้งประเทศได้   สิงห์ย้ำว่าแม้ที่ผ่านมาการโจมตีทางไซเบอร์จะไม่สำเร็จ แต่ประเทศก็ต้องมีความเข้มแข็งพอเพื่อจะพร้อมรับมือเหตุการณ์ในอนาคตอยู่เสมอ    …

รัฐบาลสหรัฐฯ ออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการขายชิปเซตให้กับรัสเซียและจีน

Loading

  ผู้ผลิตชิปเซตชั้นนำของโลกทั้งอินวิเดียและเอเอ็มดี กล่าวถึงการจำกัดการขายชิปเซตที่มีความสลับซับซ้อนให้กับรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯ   ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการขายชิปเซตที่มีความสลับซับซ้อนทางเทคโนโลยีบางรุ่นให้กับรัสเซียและจีน   คำสั่งบริหารของปธน.ไบเดน ส่งผลให้ชิปเซตกราฟิกระดับไฮเอนด์ ที่ผลิตและจำหน่ายโดยเอเอ็มดี (AMD) และอินวิเดีย (Nvidia) จะไม่ถูกปล่อยไปยังคู่ขัดแย้งทางการเมืองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยง่าย ผู้ขายจำเป็นต้องขอใบอนุญาตส่งออกสำหรับการขายชิปเซต ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ มีความตั้งใจที่จะให้ชิปเซตระดับสูงเหล่านี้ ไม่ถูกนำไปใช้ทางการทหารของประเทศรัสเซีย และจีน   ในอดีตผลิตภัณฑ์ในส่วนชิปเซตกราฟิกระดับไฮเอนด์ มักถูกนำไปใช้สำหรับการพัฒนาวิดีโอเกม เพื่อให้ภาพที่ได้มีความสมจริงมากที่สุด แต่ในช่วง 10 ปีหลังสุด ชิปเซตกราฟิกระดับสูงหลายรุ่น ได้ถูกนำไปใช้กับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์   ในเวลาเดียวกัน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ในหลายประเทศก็ถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาอาวุธทางการทหาร หรือในประเทศจีน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้สอดส่องพลเมืองของตัวเอง ด้วยการระบุใบหน้าในภาพวิดีโอ เป็นต้น   ก่อนหน้านี้ อินวิเดีย มีลูกค้าจำนวนมากทั้งในประเทศจีน และรัสเซีย แต่จากการที่ รัสเซีย เข้าบุกรุกยูเครน จึงทำให้อินวิเดีย ไม่ได้ขายชิปเซตให้กับรัสเซียอีกแล้ว ซึ่งส่งผลให้อินวิเดียสูญเสียรายได้ราว 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสล่าสุด   ทางด้านเอเอ็มดี ยอมรับว่า…