2 แอปอันตราย จ้องดูดเงินคริปโต ซ่อนมัลแวร์ ลวงผู้ใช้แอนดรอยด์

Loading

  งานเข้ารัว ๆ Android เจอศึกหนัก พบอีก 2 แอปอันตราย เข้าข่ายกระจายมัลแวร์ SharkBot โทรจันที่มุ่งเป้าขโมยข้อมูลเข้าระบบของแอปสกุลเงินดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี   ล่าสุดมีข้อมูลว่าผู้ใช้หลายพันคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ทันทีที่ Google ออกมาแนะนำให้ผู้ใช้ลบแอปที่ได้รับผลกระทบ ออกจากเครื่องทันที เพื่อป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงบัญชีของเหยื่อได้   SharkBot ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2018 แต่ล่าสุดกลับมาโผล่บน Google Play โดยซ่อนอยู่ในแอปที่ชื่อว่า “Mister Phone Cleaner” และ “Kylhavy Mobile Security” ที่ขายเรื่องป้องกันภัยจากไวรัส   แต่เมื่อใครก็ตามที่เผยติดตั้งแอปอันตราย 2 ตัวนี้ลงในเครื่อง แอปจะล่อลวงให้ดาวน์โหลดเวอร์ชันป้องกันมัลแวร์ปลอม ที่แฝงอันตรายตามมาด้วย   Google แนะนำให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ลบแอปออกจากเครื่องทันที ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ของ Fox-IT ผู้ค้นพบได้รายงานไว้   โดยพฤติกรรมของ Sharkbot จะทำให้สมาร์ทโฟนติดไวรัสเมื่อดาวน์โหลดลงเครื่อง และจ้องขโมยเงินจากบัญชีธนาคารออนไลน์ของผู้ใช้ Android และสร้างหน้าเข้าสู่ระบบปลอม เพื่อให้แฮกเกอร์ขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านได้…

เมื่อผู้รับจ้างทำข้อมูลรั่วไหล

Loading

    การบริหารความเสี่ยงขององค์กรจากการใช้ผู้รับจ้างภายนอกในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยภัยคุกคามและความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบหลักขององค์กรที่เป็น “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ในการที่จะประเมินและบริหารความเสี่ยงโดยการจัดให้มีมาตรการเชิงเทคนิคและมาตรการเชิงองค์กรที่เหมาะสม   โดยเฉพาะการที่ต้องจัดให้มีมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม และหน้าที่ในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ดังกล่าว รวมไปถึงเมื่อมีการจ้างบุคคลที่สามมาทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วยที่องค์กรในฐานะผู้ว่าจ้างต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากบุคคลที่สามอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ     ทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในส่วนของการจัดให้มี “มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย” แต่หน้าที่ในส่วนของการแจ้งตามกฎหมายเมื่อเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Breach notification) เป็นหน้าที่และความรับผิดของผู้ว่าจ้างในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น ผู้ว่าจ้างจึงมีหน้าที่ในการบริหารจัดการความเสี่ยงในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม   การเริ่มนับระยะเวลา 72 ชั่วโมงในกรณีที่เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดจากการดำเนินการของผู้รับจ้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบริการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ โดยตามแนวทางของ WP29 Guidelines on Personal data breach notification under Regulation 2016/679 (GDPR) ให้ข้อสังเกตว่าการเริ่มนับระยะเวลา “นับแต่ทราบเหตุ” ให้พิจารณาหลักเกณฑ์ ดังนี้   มีการยืนยันว่ามีเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (confirmed breach) : ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีความมั่นใจในระดับที่เหมาะสมว่าเกิดเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย (security…

ปักกิ่งกวาดล้างศาสนาอย่างหนัก “61 สมาชิกโบสถ์เซินเจิ้นโฮลีรีฟอร์ม” ลี้ภัยเข้า “ไทย” หลังความหวังในเกาหลีใต้ริบหรี่

Loading

  เอพี/เอเจนซีส์ – สมาชิกโบสถ์เซินเจิ้นโฮลีรีฟอร์ม (Shenzhen Holy Reformed Church) เปิดเผยกลางกรุงเทพฯความยากลำบากในการอยู่ในจีนหลังรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนเพิ่มความรุนแรงกวาดล้างศาสนาอย่างหนักเพื่อควบคุมศรัทธาของคนและประชาชนจีนแม้กระทั่งพ้นแดนมังกร ตัดสินใจเข้ามาขอลี้ภัยในไทยหลังหลบหนีออกจากจีนเมื่อ 3 ปีก่อนหน้ามายังเกาะเจจูของเกาหลีใต้แต่ความหวังขอลี้ภัยริบหรี่   เอพีรายงานเมื่อวานนี้ (7 ก.ย) ว่า สมาชิกโบสถ์เซินเจิ้นโฮลีรีฟอร์ม (Shenzhen Holy Reformed Church) ซึ่งมีกำหนดต้องยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยในวันจันทร์ (5) ที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR กลางกรุงเทพฯ โดยได้ยื่นเอกสารที่บรรจุในซองสีน้ำตาลที่ตู้รับจดหมายด้านนอก UNHCR   คนทั้งหมด 61 คน ซึ่งเมื่อสมาชิกโบสถ์มาถึงกรุงเทพฯพบว่าได้แบ่งเป็นกลุ่มเพื่อเข้าพักตามโรงแรมและประกอบพิธีแมสทางวิดีโอซูมวันอาทิตย์ ขณะเดียวกันวิตกถึงการถูกตำรวจจีนจะพบตัว   เอพีชี้ว่า ในการบอกเล่าจาก บาทหลวงพาน หย่งกวง ( Pastor Pan Yongguang ) หนึ่งในสมาชิกโบสถ์กล่าวว่า การนับถือศาสนาในจีนถือเป็นเรื่องยาก เพราะประชาชนจีนที่นับถือศาสนาคริสต์นั้นจะสามารถเข้าโบสถ์คริสจักรที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ควบคุมเท่านั้น แต่ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จีนอดทนต่อโบสถ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนที่มีสมาชิกหลายล้านที่บางทีอาจมากกว่าสมาชิกโบสถ์ถูกกฎหมายเสียอีก   อย่างไรก็ตามในไม่กี่ปีที่ผ่านมาพบว่าปักกิ่งได้เพิ่มความเข้มงวดและกวาดล้างโบสถ์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ทว่าไม่เหมือนเมื่อครั้งที่จีนเคยกวาดล้าง ฟาหลุนกง (Falun Gong)…

แฮ็กเกอร์นำข้อมูลลับทางทหารของโปรตุเกสไปขายบนดาร์กเว็บ

Loading

  ข้อมูลลับที่อ้างว่าถูกแฮ็กไปจากกองบัญชาการทหารโปรตุเกส (Armed Forces General Staff – EMGFA) ถูกนำไปขายในดาร์กเว็บ   EMGFA เพิ่งจะรู้ตัวว่าโดนแฮ็กไปก็เมื่อแฮ็กเกอร์ได้เผยตัวอย่างของเอกสารที่ขโมยไปได้บนดาร์กเว็บ โดยมีการเสนอขายข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ที่สนใจ   เจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตรวจพบการขายเอกสารดังกล่าวและได้แจ้งเตือนต่อสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส ซึ่งก็ได้เตือนต่อไปยังรัฐบาลโปรตุเกส   เมื่อได้รับการแจ้งเตือนแล้ว สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Office – GNS) และศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของโปรตุเกสได้เข้าตรวจสอบระบบเครือข่ายของ EMGFA ทันที   ทั้งนี้ สำนักข่าวท้องถิ่น Diario de Noticias อ้างว่าได้ตรวจสอบกับแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อซึ่งมีความใกล้ชิดกับกระบวนการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วพบว่าข้อมูลที่มีการเสนอขายบนดาร์กเว็บนั้นเป็นของจริง   แหล่งข่าวดังกล่าวระบุว่าเอกสารที่หลุดออกมานั้นมีความร้ายแรงสูงมาก การเผยแพร่ออกไปอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างร้ายแรง โดยอ้างต่อไปว่าแฮกเกอร์ได้ใช้บอตที่มีความสามารถในการตรวจพบเอกสารชนิดนี้ในการแทรกซึมเข้ามาในระบบ อีกทั้งยังเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้เวลานานและไม่สามารถตรวจพบได้   ณ ขณะนี้ ทางรัฐบาลโปรตุเกสยังไม่มีการออกมาแถลงใด ๆ แต่สมาชิกรัฐสภาหลายรายออกมาแสดงความประหลาดใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่หน่วยงานด้านข่าวกรองไม่สามารถตรวจพบการแฮ็กได้เลย และขอให้ประธานคณะกรรมาธิการทหารของรัฐสภาออกมาดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด     ที่มา Bleeping Computer  …