อุบัติการณ์ ‘ภัยไซเบอร์’ พันธกิจวัดใจองค์กรดิจิทัล

Loading

  แม้ว่าทุกวันนี้ผู้นำองค์กรต่างให้ความสำคัญและสนใจลงทุนเพื่อยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทว่าก็ยังคงหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะมีช่องโหว่และเปิดโอกาสให้โจรไซเบอร์บุกรุกเข้ามา…   พีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า การศึกษาของฟอร์ติเน็ตด้านเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (โอที) ของประเทศไทย ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างมากในการแก้ไขช่องว่างด้านความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่โอทีปรับเปลี่ยนเข้าสู่การทำงานแบบดิจิทัล   โดยพบว่า 8 ใน 10 ขององค์กรด้านโอทีต่างได้รับผลกระทบต่อการดำเนินงานของสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเนื่องจากการบุกจู่โจมทางไซเบอร์ ที่ผ่านมา 71% ขององค์กรพบปัญหาการหยุดการทำงานของระบบซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางกายภาพ ซึ่งมากกว่าการสูญเสียทั้งผลผลิตและรายได้   ปัจจุบัน ประเทศไทยตระหนักดีว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คือ ปัญหาร้ายแรงสำหรับผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นควรมีซีอีโอทำหน้าที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลสูงสุดในการตัดสินใจในเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้   ความรับผิดชอบ ‘C-level’   เป็นเรื่องที่ดี หากรวมเอาไซเบอร์ซิเคียวริตี้บนโอทีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับ “C-level” เพราะจะเป็นการช่วยสนับสนุนให้ทีมไอทีและโอทีทำงานร่วมกันในการร่วมกันวางแผนพร้อมให้ภาพการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ในแบบองค์รวม   รายงานสถานการณ์การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และระบบเชิงปฏิบัติงานปีนี้ชี้ให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรมยังคงตกเป็นเป้าหมายอาชญากรไซเบอร์ โดยในไทยองค์กร 88% ต่างเคยมีประสบการณ์การถูกบุกรุกอย่างน้อยหนึ่งครั้งช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา   โดยท็อป 3 ของการบุกรุกที่องค์กรในประเทศไทยต้องเผชิญได้แก่ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และแฮกเกอร์ ผลลัพธ์จากการโดนบุกรุกเหล่านี้ ทำให้เกือบ…

จีนเรียกร้องพันธมิตร ร่วมกันป้องกันการแทรกแซง “จากภายนอก”

Loading

  ผู้นำจีนกล่าวต่อที่ประชุมองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เรียกร้องสมาชิกรวมถึงรัสเซียและอินเดีย ร่วมกันยับยั้งการแทรกแซงทางการเมืองจากภายนอก และยกระดับความมั่นคงร่วมกัน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองซามาร์กันด์ ประเทศอุซเบกิสถาน เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ว่า ประธานาธิบดีสี จิ้งผิง ผู้นำจีน กล่าวต่อที่ประชุม องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (เอสซีโอ) ที่เมืองซามาร์กันด์ ในอุซเบกิสถาน เรียกร้องรัสเซียและสมาชิกเอสซีโอ สนับสนุนซึ่งกันและกันด้วยความแข็งแกร่ง เพื่อป้องปราม “การใช้อำนาจจากภายนอกกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติสี” ภายในประเทศสมาชิก ซึ่งหมายถึงการลุกฮือของประชาชนที่ได้รับอิทธิพลทางความคิด “จากกระแสโลกาภิวัตน์”   ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย   ทั้งนี้ ผู้นำจีนไม่ได้กล่าวถึงยูเครนตลอดการแถลงต่อที่ประชุมเอสซีโอ แต่ประกาศเพิ่มเติมด้วยว่า รัฐบาลปักกิ่งพร้อมมอบความสนับสนุนด้านการฝึกฝนทางยุทธวิธี มุ่งเน้นภารกิจต่อต้านการก่อการร้าย ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง 2,000 นาย จากประเทศสมาชิกเอสซีโอ ภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้   นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย   China's Xi urges Russia and other countries…

กดบึ้ม 25 กิโลฯ หวังโจมตีทหารพรานเจาะไอร้อง

Loading

  กลุ่มก่อความไม่สงบกดบึ้ม 25 กิโลฯ หวังปลิดชีพทหารพราน แต่ระเบิดขัดข้อง ทำงานก่อนเวลา รอดตายหวุดหวิด ส่วนถนน ท่อลอด พังยับ   สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีเหตุการณ์ลอบโจมตีเจ้าหน้าที่ฝ่ายกองกำลังแทบทุกวัน โดยเมื่อเวลา 10.00 น. วันศุกร์ที่ 16 ก.ย.65 พ.ต.อ.ดุลยมาน แยนา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส (รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส), พ.ต.อ.วรวุฒิ กิติศักดิ์รณกรณ์ ผู้กำกับการ สภ.เจาะไอร้อง, พ.อ.ภาคิน เกื้อกูล ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48, นายมาหะมะยากี หะยีมะ นายอำเภอเจาะไอร้อง พร้อมด้วยชุดพิสูจน์หลักฐาน และชุดเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด หรือ อีโอดี เดินทางเข้าพื้นที่ไปตรวจสอบเหตุระเบิดบนถนนชนบท รอยต่อระหว่างบ้านโต๊ะเล็ง หมู่ 3 กับบ้านบาตาปาเซ หมู่ 6 ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เพื่อโจมตีทหารพราน เป็นระเบิดลูกใหญ่ แต่โชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ   โดยเหตุระเบิดเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลา 17.00…

อดีต จนท.ความปลอดภัยไซเบอร์แฉทวิตเตอร์ปล่อยสายลับจีน-อินเดียแฝงตัวทำงานในบริษัท

Loading

  อดีตหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของทวิตเตอร์ ปีเตอร์ “มัดจ์” แซตโก ให้ปากคำต่อรัฐสภาอเมริกันว่า มีสายลับจีนอย่างน้อย 1 คนทำงานอยู่ในบริษัท นอกจากนั้น ทวิตเตอร์ยังปล่อยให้อินเดียส่งสายลับอีกจำนวนหนึ่งเข้าไปทำงานเช่นกัน และทำให้ 2 ประเทศดังกล่าวมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหวของผู้ใช้   ถ้อยแถลงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการให้การของ แซตโก ซึ่งเป็นทั้งแฮ็กเกอร์ชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งยังเป็นผู้เปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของทวิตเตอร์ ต่อคณะกรรมาธิการการยุติธรรมของวุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร (13)   แซตโก แฉว่า ทวิตเตอร์มีปัญหาระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์หละหลวมทำให้เสี่ยงถูกแสวงหาผลประโยชน์จากวัยรุ่น อาชญากร และสายลับ รวมทั้งทำให้ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ตกอยู่ในความเสี่ยง   เขาเสริมว่า พนักงานทวิตเตอร์บางคนกังวลว่า รัฐบาลจีนอาจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ของบริษัท   ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการรักษาความปลอดภัยหละหลวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 ที่แฮกเกอร์วัยรุ่นเข้าควบคุมบัญชีของผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงหลายสิบบัญชี ซึ่งรวมถึงบัญชีของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ   ในการให้ปากคำเมื่อวันอังคาร แซตโกเปิดเผยปัญหาการรักษาความปลอดภัยของทวิตเตอร์ที่ร้ายแรงกว่านั้นเสียอีก ด้วยการกล่าวหาเป็นครั้งแรกว่า ก่อนเขาถูกไล่ออกราว 1 สัปดาห์ เขาได้รับรู้ว่า บริษัทแห่งนี้ได้รับแจ้งจากสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) สหรัฐฯ ว่า มีสายลับจากหน่วยข่าวกรองของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีนแฝงตัวทำงานอยู่ในบริษัท…

รอยันหลานบวช! ‘จดหมายลับควีนเอลิซาเบธ’ ฝากไว้ที่ ‘ซิดนีย์’ ห้ามเปิดอ่านจนกว่าจะถึงปี 2085

Loading

  อีกหนึ่งเรื่องราวปริศนาที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ โดยครั้งหนึ่งทรงมีพระราชหัตเลขา “ลับสุดยอด” ฝากไว้ให้ชาวนครซิดนีย์ในออสเตรเลีย และทรงกำชับหนักหนาว่า “ห้ามเปิดอ่านเด็ดขาด” จนกว่าจะถึงปี ค.ศ.2085   สมเด็จพระราชินีนาถซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา ขณะมีพระชนมายุ 96 พรรษา ได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ไว้เมื่อปี 1986 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการบูรณะอาคารควีนวิกตอเรีย (Queen Victoria Building) ซึ่งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน   อาคารหลังนี้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 1898 และได้รับการตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และถือเป็นหนึ่งในอาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดของนครซิดนีย์   สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงฝากพระราชหัตถเลขาปิดผนึกไว้กับนายกเทศมนตรีซิดนีย์ และทรงมีพระราชเสาวนีย์ว่า “ณ วันที่ท่านคิดว่าเหมาะสมในปี ค.ศ.2085 ขอให้ท่านช่วยเปิดจดหมายนี้ออกอ่าน และแจ้งเนื้อความให้พลเมืองซิดนีย์ได้ทราบด้วย”   แม้ข้อความในพระราชหัตถเลขาจะยังคงเป็นความลับอยู่ แต่มีผู้คาดเดาว่าพระองค์น่าจะทรงขอบใจชาวซิดนีย์ที่ได้เก็บรักษาและซ่อมแซมอาคารประวัติศาสตร์เอาไว้ หลังจากที่มันเกือบจะถูกรื้อทิ้งเพื่อทำเป็นลานจอดรถ   เมื่อปี 1986 บริษัทสัญชาติมาเลเซียได้ทำสัญญาเช่าอาคารควีนวิกตอเรียเป็นระยะเวลา 99 ปี หรือเท่ากับว่าจะสิ้นสุดสัญญาในปี 2085 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่พระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระราชินีนาถจะถูกเปิดอ่านพอดี   ปัจจุบัน…