วิธีรับมือกับ “ข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บน Google” ป้องกันมิจฉาชีพนำไปใช้

Loading

  ถ้าสงสัยว่ามีข้อมูลส่วนตัวของตัวเองใน Google หรือไม่ ให้ลองพิมพ์ชื่อ หรือเบอร์โทรศัพท์บน Google หากพบก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับ และข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนโลกออนไลน์อาจส่งผลให้มิจฉาชีพไปใช้และเกิดอันตรายได้   ตัวอย่างข้อมูลอะไรบ้าง? ที่น่ากังวลหากมีอยู่บน Google –  หมายเลขประจำตัวประชาชนของรัฐบาล (ID) , –  เลขที่บัญชีธนาคาร, –  หมายเลขบัตรเครดิต, –  ลายเซ็น, –  รูปภาพเอกสารประจำตัว, –  ข้อมูลติดต่อส่วนบุคคล (ที่อยู่จริง หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่อีเมล)     วิธีง่ายๆที่สามารถตรวจเช็กก็คือ เข้า Google > ลองพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวลงไป เช่น ชื่อ-นามสกุล,บัตรประชาชน และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หากพบเจอ ก็สามารถส่งคำขอให้ Google ลบได้โดยวิธีดังนี้ เข้าลิงก์ Google จะพบหน้าดังนี้     คุณยังสามารถขอให้ Google ลบรูปภาพที่ล้าสมัยที่พบใน images.google.com ได้…

รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง

Loading

    กลโกงมิจฉาชีพที่มักใช้หลอกลวงผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม LINE ทั้งอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ , บัญชีทางการ LINE ปลอม , ชวนสมัครงานหรือลงทุน เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว จนสูญเสียทรัพย์สินมาแล้วหลายรายถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ต้องรู้เท่าทัน แต่มีวิธีตรวจสอบและป้องกันได้ ก่อนตกเป็นเหยื่อ   นับวันกลโกงมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ จนหลายคนเผลอ หลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามปราบปรามและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน   เช่นเดียวกับแอป LINE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในไทยกว่า 53 ล้านคน ได้รวบรวม 5 กลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพใช้บนแพลตฟอร์ม LINE หรือแอบอ้างชื่อบริษัทฯ พร้อมข้อเท็จจริง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ LINE เอาไว้เช็คก่อนเชื่อ ไม่เป็นเหยื่อกลโกง   รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง   1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก LINE ทางโทรศัพท์…

ตำรวจญี่ปุ่นปรับปรุงระบบรับแจ้งเหตุด่วน ให้ประชาชนถ่ายทอดสดเพื่อแจ้งเหตุได้

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่นปรับปรุงระบบรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายสายด่วน 110 (เหมือนกับสายด่วน 191 ของประเทศไทย) โดยเพิ่มระบบรับข้อมูลภาพจากการถ่ายทอดสดโดยประชาชนผู้แจ้งเหตุ รวมทั้งรองรับการอัพโหลดไฟล์ภาพและวีดีโอจากประชาชนผู้แจ้งเหตุได้ด้วย   เดิมทีการรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายนั้นจะเป็นการติดต่อทางโทรศัพท์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องพึ่งการบอกเล่ารายละเอียดเหตุการณ์ต่าง ๆ จากคำพูดของประชาชนผู้โทรเข้าไปเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงระบบรับแจ้งเหตุ   ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องการให้ประชาชนผู้แจ้งเหตุด่วนให้ช่วยถ่ายทอดภาพสด ๆ จากสถานที่เกิดเหตุ ทางตำรวจจะส่งลิงก์ไปทาง SMS สู่สมาร์ทโฟนของผู้แจ้งเหตุให้เชื่อมต่อสัญญาณและส่งภาพจากกล้องสมาร์ทโฟนไปให้ตำรวจดูได้ทันที โดยในระหว่างนั้นการพูดคุยทางโทรศัพท์ก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ประชาชนผู้แจ้งเหตุยังสามารถอัพโหลดภาพหรือวิดีโอที่บันทึกไว้ไปให้ทางตำรวจได้ผ่านลิงก์ดังกล่าวได้ด้วย   ระบบรับแจ้งเหตุด่วน 110 ของญี่ปุ่นที่ปรับปรุงใหม่ให้ประชาชนถ่ายทอดสดจากสถานที่เกิดเหตุให้ตำรวจดูได้นี้จะเริ่มใช้งานจริงในวันที่ 1 ตุลาคม       ที่มา – SoraNews24         ——————————————————————————————————————— ที่มา :       Blognone by ตะโร่งโต้ง               …

“พิพิธภัณฑ์ซีไอเอ” ปรับปรุงและเพิ่มนิทรรศการสายลับใหม่

Loading

  พิพิธภัณฑ์สำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งแอบซ่อนอยู่ในทางเดินของสำนักงานใหญ่ในเมืองแลงลีย์ รัฐเวอร์จิเนีย และยังไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม กำลังเปิดเผยสิ่งประดิษฐ์ใหม่บางอย่าง ที่ถูกปลดออกจากการเป็นความลับของปฏิบัติการที่มีเรื่องราวมากที่สุดของหน่วยสืบราชการลับ นับตั้งแต่การก่อตั้งเมื่อ 75 ปีที่แล้ว   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองแลงลีย์ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ว่า นางจาเนลล์ นีเซส รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ซีไอเอ กล่าวในการนำสื่อเที่ยวชมการจัดแสดงที่ปรับปรุงใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ทางพิพิธภัณฑ์ใช้สิ่งประดิษฐ์เพื่อบอกเล่าเรื่องราว มันเป็นวิธีที่จะแสดงถึงความซื่อตรงและโปร่งใสเกี่ยวกับซีไอเอ ซึ่งบางครั้งมันก็เป็นเรื่องยาก แต่มันผิดปกติอย่างมาก ที่ของบางอย่างถูกปลดออกจากการเป็นความลับอย่างรวดเร็ว   BBC News   โมเดลบ้านพักของนายโอซามา บิน ลาเดน ที่เมืองอับบอตตาบัด ในปากีสถาน ซึ่งซีไอเอจำลองเพื่อใช้วางแผนปฏิบัติการให้กับหน่วยรบพิเศษของสหรัฐ   สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ซึ่งบางอย่างสามารถดูได้ทางออนไลน์ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้าง ที่จะขยายการเข้าถึงสาธารณะและการสรรหาบุคลากรโดยหน่วยงานที่เป็นตำนาน แต่ก็เป็นความลับ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างมากในเรื่องอื้อฉาว เช่นเดียวกับความสำเร็จด้านข่าวกรอง   ตัวอย่างเอกสารเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุวินาศกรรม 9/11 สำหรับรายงานด้านความมั่นคงประจำวัน สมัยประธานาธิบดีจอร์จ…

ไปรษณีย์ไทยเตือนระวัง SMS ปลอมแจ้งพัสดุตกค้าง ห้ามกรอกข้อมูลสำคัญ

Loading

  ไปรษณีย์ไทยแจ้งเตือนกลโกงมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ใช้ช่องทาง SMS แจ้งว่ามีพัสดุตกค้าง พร้อมค่าบริการที่ต้องชำระ ไปรษณีย์ไทยขอย้ำว่าผู้ได้รับข้อความดังกล่าวห้ามกรอกข้อมูลสำคัญเนื่องจากเป็นการหลอกให้โอนเงิน   โดยไปรษณีย์ไทยขอแจ้งเตือนภาคประชาชน ซึ่งขณะนี้มีการใช้ช่องทาง SMS ส่งข้อความหาผู้ใช้บริการ โดยระบุข้อความภาษาอังกฤษว่า “Thailandpost : Your Package is still awaiting processing Please confirm Deliver Charges” หรือ “ขณะนี้คุณมีพัสดุตกค้างที่ไม่สามารถจัดส่งได้ กรุณาชำระค่าบริการ”   พร้อมแนบลิงก์เพื่อให้ผู้ที่ได้รับ SMS กด เพื่อนำไปสู่การกรอกข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตรวันหมดอายุของบัตร และรหัส 3 หลักสุดท้าย (CVC/CVV) ที่อยู่ด้านหลังบัตรเครดิต/เอทีเอ็ม พร้อมด้วยจำนวนเงินที่ต้องชำระค่าบริการ และหมายเลขติดตามพัสดุซึ่งไม่ใช่ของจริง   ไปรษณีย์ไทยขอย้ำเตือนว่าผู้ที่ได้รับข้อความดังกล่าวห้ามกดลิงก์ หรือกรอกข้อมูลบนบัตรเครดิต/เอทีเอ็มเด็ดขาด เนื่องจากเป็นการหลอกให้โอนเงินจากมิจฉาชีพ และไปรษณีย์ไทยไม่มีนโยบายในการแจ้งเรียกเก็บค่าดำเนินการใดๆ ผ่านทาง SMS ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์ได้ที่ www.thailandpost.co.th และไลน์ออฟฟิเชียล…

สายการบินแห่งชาติโปรตุเกสยืนยันไม่เจรจากับแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลลูกค้า

Loading

  TAP Air Portugal สายการบินแห่งชาติของโปรตุเกสออกมาประกาศว่าจะไม่ยอมเจรจากับแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลลูกค้าไปปล่อยบนดาร์กเว็บ   ข้อมูลทื่หลุดออกมามีทั้งชื่อลูกค้า สัญชาติ เพศ วันเกิด ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทร วันที่ลงทะเบียน และเลข Frequent Flyer แต่ไม่มีหลักฐานว่าข้อมูลการเงินหลุดไปแต่อย่างใด   สายการบินดังกล่าวถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า Ragna Locker เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้น TAP Air Portugal อ้างว่าสามารถยุติการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และยืนยันว่าไม่มีการหลุดรั่วของข้อมูลลูกค้าแต่อย่างใด   อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเพียง 1 เดือน ทาง Ragnar Locker ก็ออกมาเผยแพร่ข้อมูลลูกค้ามากกว่า 1.5 ล้านราย พร้อมบอกด้วยว่าทาง TAP Air Portugal ยังไม่ได้แก้ไขช่องโหว่ภายในระบบ ซึ่งทางสายการบินก็ออกมายืนยันว่าจะไม่เจรจาเป็นอันขาด   “เราไม่อยากเจรจา เพราะเราไม่อยากที่จะให้รางวัลกับพฤติกรรมแบบนี้” คริสติน อูร์มีเรส-วิเดเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TAP Air…