จีนประณามสหรัฐฯ โจมตีทางไซเบอร์มหาวิทยาลัยจีน

Loading

  นายหวาง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยว่า มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าสหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก และเรียกร้องให้มีความพยายามร่วมกัน เพื่อต่อต้านการละเมิดอธิปไตยในโลกไซเบอร์และกฎระเบียบระหว่างประเทศของสหรัฐฯ   เมื่อวันอังคาร (27 ก.ย.) ศูนย์ตอบสนองเหตุฉุกเฉินไวรัสคอมพิวเตอร์แห่งชาติของจีน รายงานว่า สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSA) เจาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเข้าควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในประเทศจีนและแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายภายในของมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น โปลีเทคนิคอล ของจีนโดยใช้เซิร์ฟเวอร์ในประเทศต่างๆ เช่น เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก เป็นฐานการโจมตีทางไซเบอร์ผ่าน ญี่ปุ่น เยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอื่นๆ มายังประเทศจีน ทำให้สามารถขโมยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและข้อมูลส่วนบุคคลได้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังควบคุมผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่างน้อย 80 ประเทศ และดำเนินการดักฟังโทรศัพท์ของผู้ใช้โทรคมนาคมทั่วโลกตามอำเภอใจ   นายหวาง กล่าวว่า รายงานฉบับนี้นับเป็นฉบับที่ 3 ของเดือนนี้ ที่เกี่ยวกับการที่สหรัฐฯ โจมตีทางไซเบอร์ต่อมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ซึ่งที่ผ่านมา จีนได้เรียกร้องคำอธิบายจากสหรัฐฯ และขอให้ยุติการดำเนินการที่ผิดกฎหมายในทันที แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ยังคงนิ่งเงียบ       —————————————————————————————————————————————– ที่มา :   …

ข้อมูลรั่วไหล ‘คลาวด์’ โจทย์ท้าทายธุรกิจยุคใหม่

Loading

  บริษัทต่าง ๆ ต้องย้ายการดำเนินธุรกิจของตนไปยังระบบคลาวด์กันมากขึ้น การลดความเสี่ยงของบริษัทต่าง ๆ จึงเริ่มยากขึ้นเรื่อย ๆ   มีการคาดการณ์ว่า ตลาดการป้องกันข้อมูลรั่วไหล (Data Loss Prevention หรือ DLP) บนคลาวด์ จะเติบโตจาก 2.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 ไปเป็น 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2574 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตต่อปีถึง 28% ด้วยกัน   ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังได้สร้าง DLP ที่ซับซ้อนในระดับใหม่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการกำกับดูแล   สาเหตุนี้เองที่ส่งผลให้ตลาด DLP เติบโตอย่างกะทันหัน อีกทั้งยังมีการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่ดาวน์โหลดไปยังอุปกรณ์ USB โดยพนักงานถึง 123% และกว่า 74% ของข้อมูลถูกจัดประเภทตามนโยบายการกำกับดูแลข้อมูลขององค์กร ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ครั้งใหญ่นี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน ลูกค้าจึงได้เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่   โดยเริ่มหันมายอมรับและใช้งานเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายกันมากขึ้น มีการใช้โซลูชัน…

EU ยืนยัน ท่อ ‘นอร์ด สตรีม’ รั่วเป็นการก่อวินาศกรรม พบการระเบิดใต้น้ำ

Loading

  สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ออกมายืนยันว่า การรั่วไหลของท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่จากรัสเซียสู่ยุโรป มีสาเหตุจากการก่อวินาศกรรม แต่ไม่ถึงขั้นกล่าวหามอสโกว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง   สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ยืนยันในวันพุธที่ 28 ก.ย. 2565 ว่า การรั่วไหลถึง 3 จุดที่ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นอร์ด สตรีม 1 และ 2 ซึ่งตรวจพบเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เป็นการก่อวินาศกรรม โดยนางเออร์ซูลา วอน แดร์ เลเยน ประธาน EC กล่าวว่าการจงใจทำให้เกิดการหยุดชะงัก จะต้องเผชิญการการตอบสนองอย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้   ด้านนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เชื่อว่าการรั่วไหลที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความยืดหยุ่นทางพลังงาน (energy resilience) ของยุโรป เพราะตอนนี้ท่อทั้งสองไม่ได้กำลังขนส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ยุโรป แม้ว่าภายในท่อจะมีก๊าซอยู่ก็ตาม   นายบลิงเคนไม่ได้กล่าวหารัสเซียว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรั่วไหลที่เกิดขึ้น แต่กล่าวว่า หากเรื่องนี้เกิดจากความจงใจ มันจะไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย   ทั้งนี้ หน่วยงานเดินทะเลของสวีเดนออกคำเตือนเกี่ยวกับการรั่วไหล 2 จุดที่ท่อส่งก๊าซ…

ราชกิจจาฯ ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์กระทบความมั่นคง 4 จังหวัดชายแดนใต้

Loading

  ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ หลังพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปรากฏเหตุการณ์ต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 66   วันที่ 28 กันยายน 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงนามโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2565 มีเนื้อหาว่า   ด้วยสถานการณ์ในเขตพื้นที่อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง อำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี อำเภอเบตง และอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา อำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ยังคงปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งปรากฏเห็นชัดในรูปแบบของเหตุการณ์รุนแรง…

ระทึกกลางอากาศ! ส่งเครื่องบินรบ ประกบ ‘สิงคโปร์ แอร์ไลนส์’ ผู้โดยสารอ้างมีระเบิด

Loading

    “สิงคโปร์” ส่งเครื่องบินรบ 2 ลำ บินประกบเครื่องบินสายการบิน “สิงคโปร์ แอร์ไลนส์” ลงจอดสนามบินชางงี หลังผู้โดยสารอ้างว่ามีระเบิด   กองทัพอากาศสิงคโปร์ แถลงว่า 28 ก.ย. เครื่องบินรบเอฟ 16 ของกองทัพ 2 ลำ ได้ปฏิบัติภารกิจ ขึ้นบินประกบเครื่องบิน เที่ยวบิน SQ33   ขณะที่ ตำรวจสิงคโปร์ระบุว่า ได้รับแจ้งเหตุขู่วางระเบิดบนเที่ยวบินดังกล่าว เมื่อเวลา 02.40 น. ของวันนี้ ตามเวลาในสิงคโปร์ การสืบสวนเบื้องต้นพบว่า ผู้โดยสารชาย วัย 37 ปี ได้อ้างว่าตนเองมีระเบิดอยู่ในกระเป๋าเดินทางที่ถือขึ้นเครื่อง และได้ก่อเหตุทำร้ายพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ก่อนถูกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจับมัดมือ   ผู้โดยสารรายดังกล่าว ถูกตำรวจจับกุมทันที หลังเครื่องบินเดินทางถึงสิงคโปร์ ในความผิดฐานละเมิดข้อบังคับด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และตกเป็นผู้ต้องสงสัย ในข้อหาใช้ยาที่ต้องได้รับการควบคุม ส่วนหนังสือพิมพ์เดอะสเตรทไทม์สของสิงคโปร์ระบุว่า ชายคนดังกล่าวเป็นชาวต่างชาติ   ทางด้านโฆษกสายการบิน แถลงว่า…

ผู้บริหาร Microsoft เตือนภัยจาก Deepfakes ในอนาคตที่อาจสมจริงถึงขั้นที่ไม่มีทางจับได้

Loading

  งานวิจัยชิ้นล่าสุดของ เอริก ฮอร์วิตซ์ (Eric Horvitz) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ Microsoft ในชื่อ ‘On the horizon: Interactive and compositional deepfakes’ คาดการณ์ไว้ว่าเทคโนโลยี Deekfakes ในอนาคตอาจพัฒนาไปไกลถึงขั้นที่ถูกนำมาใช้แบบเรียลไทม์ได้   Deepfakes คือการดัดแปลงคลิปวีดิโอโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning เพื่อสร้างคลิปวีดิโอที่ทำให้ดูเหมือนว่าคน ๆ หนึ่งพูดในสิ่งที่เขาไม่เคยพูดจริง ๆ ได้   ฮอร์วิตซ์เชื่อว่า Deepfakes ในอนาคตอาจก้าวหน้าไปจนถึงขนาดที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ได้   นอกจากนี้ Deepfakes ในอนาคตอาจมีความสมจริงไปจนถึงขั้นที่สังเคราะห์ภาพประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์โลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงได้ หรือที่เรียกว่า Synthetic history (ประวัติศาสตร์สังเคราะห์)   ยิ่งไปกว่านั้น ภาพ Deepfakes ที่สมจริงมากอยู่แล้วในปัจจุบัน อาจยิ่งมีความสมจริงยิ่งขึ้นจนเราไม่สามารถแยกแยะว่าภาพไหนจริงหรือปลอมได้อีกต่อไป รวมถึงยังอาจสามารถหลอกเครื่องมือตรวจจับข้อมูลเท็จที่ล้ำหน้าได้ด้วย     ที่มา TechRadar    …