บิ๊ก มท.ปูด! ให้อำนาจ “นายอำเภอ” ออกใบอนุญาตซื้อปืนไม่จำกัด เปิดช่องว่างถือโอกาส นำ “กระสุน” ออกนอกประเทศ

Loading

  บิ๊กมหาดไทย ปูด! ช่องว่างให้อำนาจ “นายอำเภอ” ออกใบอนุญาตซื้อปืน/กระสุนปืน “แบบ ป.3” ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ไม่ยื่นขอใบอนุญาตขอใช้ “แบบ ป.4” ทำให้บางแห่ง ถือโอกาสจำหน่าย “กระสุนปืน” เป็นจำนวนมาก แถมมีการนำออกนอกประเทศ ด้าน มท.1 จี้ ผู้ว่าฯกำชับ “นายอำเภอ” เข้มงวดเคร่งครัด พร้อมจัดทำ “แนวทางควบคุมออกใบอนุญาต” ให้ชัดเจน สกัดขบวนการทุจริตใบอนุญาตซื้อปืน วันนี้ (1 ก.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในที่ประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (เดือนสิงหาคม) ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (VCS) ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ โดยวาระที่ 4 ว่าด้วยการออกใบอนุญาต ให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน มีข้อสั่งการจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย…

เตือนภัย! ดูดวงรหัส ATM พารวย แต่พาโจรมาแทน! ระวังดูดวงรหัส ATM เงินหายไม่รู้ตัว

Loading

  เตือนภัย! ดูดวงรหัส ATM พารวย แต่พาโจรมาแทน หลังบนโซเชียลโดยเฉพาะเฟซบุ๊กมีการโพสต์ รับดูดวงจากรหัสบัตร ATM โดยอ้างว่าสามารถทำนายดวงชะตาได้ ดูได้ว่าจะรวยถาวรหรือล้มละลายจากรหัสบัตร ATM แล้วยังรับออกแบบรหัสบัตร ATM ให้ผู้ที่สนใจ เตือนภัย! ดูดวงรหัส ATM พารวย แต่พาโจรมาแทน! ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนภัยถึงสายมูเตลูทุกท่านว่า การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงในโลกออนไลน์ อย่างเช่น รหัส เลขหน้าบัตรหรือหลังบัตร เดือนปีหมดอายุของบัตร ATM หรือบัตรเครดิต ลงบนโซเชียล หรือกลุ่มหมอดู หรือบอกรหัสให้หมอดูนั้น อาจทำให้เราตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ เพราะมิจฉาชีพอาจนำข้อมูลเหล่านี้ไปรวมกับข้อมูลส่วนตัวของเรา จนสามารถเข้าถึงเงินในบัญชีธนาคารของเราได้ แม้เรื่องดวงเป็นเรื่องที่สนใจ แต่ไม่ควรมองข้ามเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ หากบอกรหัสสำคัญอย่างบัตรเอทีเอ็มแชร์บนโซเชียลหรือบอกหมอดู ดังนั้นไม่ควรแชร์รหัสผ่านส่วนตัวให้คนอื่นดู หรือให้คนอื่นตั้งรหัสผ่านให้ อ้างอิง ตำรวจสอบสวนกลาง cover iT24Hrs     ที่มา : it24hrs   /   วันที่เผยแพร่ 1 ก.ย.65 Link…

Meta จ่ายปิดปาก 37.5 ล้าน คดีเฟซบุ๊ก ลักลอบติดตามตำแหน่งบนสมาร์ทโฟนของทุกคน

Loading

  Meta โดนคดีเรื่องเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เฟซบุ๊กโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกครั้ง และครั้งนี้เป็นเรื่องของการติดตามที่ฝังอยู่ในแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก ซึ่งคดีนี้ทางบริษัทได้ยอมจ่ายเงินกว่า 37.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ   สมาร์ทโฟนและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ได้กลายเป็นประเด็นอีกครั้งเนื่องจาก Meta ได้ถูกฟ้องในคดีที่ติดตามผู้ใช้โดยแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ซึ่งผู้ใช้สังเกตได้ว่าเมื่อล็อกอินออกจากเฟซบุ๊ก แต่การติดตามตำแหน่งยังคงมีอยู่ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าเฟซบุ๊กกำลังเก็บข้อมูลและตำแหน่งของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนตัวที่ในสหรัฐอเมริกายอมรับไม่ได้   มีหลายแนวคิดที่เข้ามาถกเถียงกันว่า เฟซบุ๊กนั้นเก็บข้อมูลตำแหน่งจาก IP Address ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่รันอยู่บนอินเทอร์เน็ต และสามารถระบุตำแหน่งได้   ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน 2018 Facebook และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Mark Zuckerberg บอกกับรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาว่า ใช้ข้อมูลตำแหน่ง “เพื่อช่วยให้ผู้โฆษณาเข้าถึงผู้คนในพื้นที่เฉพาะ” แต่ด้วยเหตุผลนี้ก็ยังถือว่าผิดกฎหมายในการล้วงข้อมูลส่วนตัวอยู่ดี   ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ที่รับประทานอาหารในร้านอาหารบางแห่งอาจได้รับโพสต์จากเพื่อนที่ทานอาหารที่นั่นด้วย หรือโฆษณาจากธุรกิจที่ต้องการให้บริการในบริเวณใกล้เคียง   เฟซบุ๊กสามารถรู้ที่อยู่เราได้จากอะไรบ้าง?   ตำแหน่ง (Location) ซึ่งเฟซบุ๊กมักจะบังคับเปิดเมื่อคุณต้องการจะแท็กสถานที่หรือทำการเช็กอิน ซึ่งจะจับตำแหน่งจาก GPS ของโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตของคุณ รวมถึงตำแหน่ง Wi-Fi และเครือข่ายมือถือด้วย   ที่อยู่ IP (อินเทอร์เน็ต) ด้วยตัวเลขของอินเทอร์เน็ต…

กลยุทธ์ใหม่ยูเครน หลอกรัสเซียยิงขีปนาวุธใส่เป้าหมายปลอม

Loading

ยูเครนผลิตระบบยิงขีปนาวุธปลอม เพื่อล่อให้รัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตีมาอย่างเสียเปล่า หวังผลาญขีปนาวุธในคลังของรัสเซีย สื่อต่างประเทศรายงานว่า ยูเครนได้มีการใช้ “ตัวล่อ” ที่สร้างเลียนแบบระบบยิงขีปนาวุธขั้นสูง HIMARS ของสหรัฐฯ เพื่อล่อให้รัสเซียโจมตีและเสียกระสุนหรือขีปนาวุธไปฟรี ๆ อย่างสิ้นเปลือง ยังมีรายงานอีกว่า ยูเครนขณะนี้ถึงกับต้องเร่งผลิตระบบยิงขีปนาวุธปลอมเพิ่ม โดยระบุว่า เป้าหมายปลอมเหล่านี้สามารถล่อขีปนาวุธร่อนคาลิเบรอ (Kalibr) ของรัสเซียมาได้แล้วถึงอย่างน้อย 10 ลูก เจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งของยูเครน กล่าวว่า “เมื่อโดรนของรัสเซียตรวจพบระบบขีปนาวุธ มันเหมือนกับเจอเป้าหมายระดับวีไอพี” โดยปกติเมื่อโดรนรัสเซียตรวจพบระบบขีปนาวุธของฝ่ายตรงข้าม จะส่งตำแหน่งของเป้าหมายไปยังระบบยิงขีปนาวุธร่อนของตัวเอง สื่อต่างประเทศยังได้รับรูปถ่ายของเป้าหมายปลอมที่ยูเครนสร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบซ้ำ จึงพอจะเชื่อได้ว่า นี่เป็นกลยุทธ์ที่ยูเครนนำมาใช้จริง นับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน เริ่มขึ้นในเดือน ก.พ. รัสเซียอ้างว่า ได้ทำลายขีปนาวุธที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ไปแล้วเป็นจำนวนมาก รวมถึงระบบขีปนาวุธพิสัยไกล HIMARS ด้วย นักการทูตสหรัฐฯ รายหนึ่งบอกว่า “พวกเขาอ้างว่าได้โจมตี HIMARS จำนวนมากกว่าที่เราเคยส่งไปด้วยซ้ำ” ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ระบบขีปนาวุธที่จัดหาโดยชาติตะวันตกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของยูเครนในการต้านทานกองกำลังรัสเซีย ซึ่งการใช้ตัวล่อปลอมนี้ก็ดูจะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ใหม่ที่ยูเครนนำมาใช้เพื่อปกป้องอาวุธของจริงไว้ไม่ให้ถูกทำลาย แผนตัวล่อปลอมของยูเครนนี้ นอกจากจะเพื่อปกป้องอาวุธจริงแล้ว ยังเพื่อ “ผลาญ” ขีปนาวุธในคลังอาวุธของรัสเซียได้ ไม่ชัดเจนว่า ปัจจุบันรัสเซียได้ใช้ขีปนาวุธไปแล้วกี่ลูก และยังเหลืออยู่อีกกี่ลูก…

“เศรษฐพงค์” เห็นด้วย กสทช. คุมเข้มเผยแพร่ข่าวปมควบรวม

Loading

กทม. 29 ส.ค.- “เศรษฐพงค์” เห็นด้วยประธาน กสทช. คุมเข้มการเผยแพร่ข่าวปมควบรวม หลังมือดีปล่อย “5 Facts กรณีควบรวมทรู-ดีแทค” พร้อมแนะ กสทช. ศึกษาข้อบังคับประชุมปี 55 ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลได้ แต่ต้องไม่ผิดระเบียบ และไม่ทำให้เกิด ความเสียหาย   พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะอดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงกรณี ศ.(คลินิก) นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ออกบันทึกถึงเลขาธิการ กสทช. เรื่องการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์กรณีการควบรวม หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าว ในหัวข้อ “5 Facts กรณีควบรวมทรู-ดีแทค” อ้างที่มาจาก กสทช. ว่า การที่ประธาน กสทช. ตอกย้ำความสำคัญเรื่องการเปิดเผยข้อมูลนั้น ถือเป็นเรื่องดีและทำถูกต้องแล้ว เพราะหากข้อมูลที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการลงมติ และข้อมูลที่อาจขาดความครบถ้วน…

รับมืออย่างไร? เมื่อ “อีเมลอันตราย” 1 ใน 4 จากทั่วโลกมุ่งเจาะ “เอเชียแปซิฟิก”

Loading

  อีเมลไม่ใช่เซฟโซน! จะรับมืออย่างไร เมื่อ 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” ในปี 2022 แถม “อีเมล” ยังคงเป็นช่องทางหลักในการโจมตีด้านความปลอดภัย เพราะโอกาสสำเร็จสูง และต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่นๆ แม้ปัจจุบันจะมี “สมาร์ทโฟน” และแอปพลิเคชันที่ทำให้ติดต่อกันได้แบบสุดแสนจะง่ายดาย แต่ “อีเมล” ก็ยังถือเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะในเชิงธุรกิจ การทำงาน เพราะถูกมองว่าเป็นทางการกว่าและเหมาะกับการส่งข้อมูลในปริมาณมาก ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่มี “สแปมอีเมล” ฉบับแรกช่วงปี 1978 ก็มีเหล่าสแกมเมอร์พยายามใช้อีเมลเป็นช่องทางในการโจมตีด้านความปลอดภัยเสมอมา เนื่องจากอีเมลสามารถกระจายได้ง่ายกว่า ประหยัดกว่า แถมมีโอกาสทำสำเร็จสูงเสียด้วย ข้อมูลอัปเดตล่าสุดพบว่า 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” หรือ “APAC” โดย Noushin Shabab หนึ่งในนักวิจัยของ “Kaspersky” อัปเดตข้อมูลในงาน Kaspersky’s 8th APAC Cyber Security Weekend เกี่ยวกับอีเมลอันตรายเหล่านี้ว่า…