แม้มันดูเหมือนจะเป็นเรื่องราวจากภาพยนตร์ไซไฟ แต่ต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันนั้น ในวงการกฎหมายเริ่มนำเอาเทคโนโลยีอย่าง AI มาประยุกต์ใช้จริง ๆ กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
การเติบโตอย่างบ้าคลั่งของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ข้อมูล Big Data ขนาดมหึมา เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning และข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้รับอย่างต่อเนื่องจากอินเทอร์เน็ต ที่ครอบคลุมทุกอย่างรอบตัวเรา กำลังเปลี่ยนโลกของเราด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อน
มีผลการศึกษาผลกระทบต่อเทคโนโลยีต่อหลากหลายอาชีพ ได้พบว่า นักกฎหมายและผู้พิพากษาอยู่ที่จุดกึ่งกลางของงานที่มีแนวโน้มว่าจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน
มีสิ่งบ่งชี้เกี่ยวกับภัยคุกคามต่ออาชีพนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น chatbot บริการทางกฎหมายที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในสหราชอาณาจักร ที่มีชื่อว่า ‘DoNotPay’ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 ในฐานะ ‘ทนายความหุ่นยนต์’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคอมพิวเตอร์ Watson ของ IBM
ในปี 2016 ระบบ chatbot ได้โต้แย้งข้อพิพาทเรื่องตั๋วจอดรถมากกว่า 250,000 คดีในลอนนดอนและนิวยอร์ก ซึ่งสามารถชนะการตัดสินได้ถึง 160,000 คดี
DoNotPay Chatbot ที่ได้พลังการประมวลผลจาก IBM Watson (CR:Techcrunch)
ในประเทศจีน Xiaofa หุ่นยนต์ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางกฎหมายและช่วยเหลือสังคมทั่วไปในเรื่องกฎหมาย
ในขณะที่ ‘ผู้ช่วย AI’ สามารถช่วยสนับสนุนผู้พิพากษาในนกระบวนการตัดสินใจได้ด้วยการทำนนายและเตรียมคำตัดสินของศาล แต่ ‘ผู้พิพากษา AI’ สามารถที่จะแทนที่ผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์และตัดสินคดีต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองในกระบวนการพิจารณาคดีอัตโนมัติเต็มรูปแบบได้หรือไม่?
นักเขียนชื่อดังเรื่อง AI อย่าง Terence Mauri คิดว่าเหล่าเครื่องจักร AI จะรับรู้สัญญาณของการหลอกลวงทางร่างกายและจิตใจด้วยความแม่นยำ 99.99% เขาประเมิน AI จะเป็นเรื่องปรกติในการพิจารณาคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาในอังกฤษและเวลส์ในอีก 50 ปีข้างหน้า
และตอนนี้ ผู้พิพากษาหุ่นยนต์ที่ใช้เทคโนโลยี AI ได้เริ่มดำเนินการในประเทศจีนแล้ว เพื่อรับฟังกรณีเฉพาะ เช่น ข้อพิพาททางการค้า ความผิดในเรื่องอีคอมเมิร์ซ และการละเมิดลิขสิทธิ์ คดีดังกล่าวหลายล้านคดีได้รับการจัดการโดยผู้พิพากษาหุ่นยนต์แล้ว
บ่อยครั้ง หุ่นยนต์อาจไม่ได้นั่งบนเก้าอี้ผู้พิพากษา แต่อุปกรณ์ AI จะวิเคราะห์ข้อมูลที่อัปโหลดและตัดสินคำตัดสินตามกฎหมายและข้อเท็จจริง
ในอเมริกาที่ลอสแองเจลิสกำลังทำงานในโครงการ Chatbot ของคณะลูกขุน ศาลบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำลังใช้ความคิดริเริ่มในการระงับข้อพิพาททางออนไลน์ (ODR) เพื่อจัดการกับความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
กระทรวงยุติธรรมเอสโตเนียได้กระตุ้นให้ Velsberg Ott หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านข้อมูลของตนออกแบบ ‘ผู้พิพากษาหุ่นยนต์’ ที่เปิดใช้งาน AI เพื่อตัดสินข้อพิพาทสำหรับการเรียกร้องเล็ก ๆ น้อย ๆ กว่า 7,000 คดี
ซึ่งจะทำให้การให้บริการด้านการพิจารณาคดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะอัปโหลดเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ และ AI จะออกคำตัดสินที่สามารถอุทธรณ์ต่อผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ได้
ในขณะที่หลายประเทศกำลังทดลองใช้อัลกอริธึมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อตัดสินทางด้านกฎหมาย โดยแทนที่มนุษย์ ข้อโต้แย้งหลักที่สนับสนุนการพิจารณาตัดสินที่ขับเคลื่อนด้วย AI นั้นเกี่ยวกับสองปัจจัยก็คือประสิทธิภาพที่มากขึ้นและความเป็นไปได้ในการลดอคติของมนุษย์
ข้อผิดพลาด และ “เสียงรบกวน (noise)” หมายถึงความแปรปรวนที่ไม่ต้องการระหว่างการตัดสินที่อาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเหนื่อยของผู้พิพากษาที่จะต้องมาตัดสินหรือผลการแข่งขันของทีมกีฬาที่ผู้พิพากษาเชียร์เมื่อคืนก่อนหน้า
Daniel Kahneman ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Noise ก็กล่าวถึงเรื่องการพิพากษา (CR:Four Mniute Books)
ในภาพยนตร์ของ Steven Spielberg เรื่อง ‘Minority Report’ ในปี 2002 ซึ่งฉายภาพของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 2054 ที่กองกำลังตำรวจ ‘PreCrime’ สามารถทำนายการฆาตกรรมในอนาคตได้โดยใช้การขุดคุ้ยข้อมูลในอดีตและการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่คนใดถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่ออาชญากรรมในอนาคต เขาก็มุ่งมั่นที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเขา! ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ของ Spielberg อาจจะกำลังบรรยายถึงอนาคตของห้องพิจารณาคดีที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ก็เป็นได้นั่นเองครับผม
References :
https://www.ft.com/content/a5709548-03bd-4f65-b9b5-7aa0325c0f6b
https://futurium.ec.europa.eu/en/european-ai-alliance/best-practices/robot-judges-and-ai-systems-chinas-courts-and-public-security-agencies
https://www.thestatesman.com/opinion/robot-judges-chair-1503031697.html
ติดตาม ด.ดล Blog ผ่าน Line OA : @tharadhol
เพียงคลิก : https://lin.ee/aMEkyNA
——————————————————————————————————————————-
ที่มา : Line Today / วันที่เผยแพร่ 2 ต.ค.65
Link : https://today.line.me/th/v2/article/pegwOj7