credit : Red Sift
การหลอกลวงหรือปลอมแปลงเป็นอีเมลที่น่าเชื่อถือนั้นมีความเสียหายเป็นนัยสำคัญอย่างมาก จากสถิติเพียงไตรมาสแรกของปี 2022 ได้แตะถึงสถิติใหม่ที่มีจำนวนการโจมตีทางอีเมลกว่า 1 ล้านครั้ง ซึ่งอันที่จริงแล้วโลกนี้มีทางเลือกสำหรับการป้องกันที่เรียกว่า DMARC และ BIMI
DMARC หรือ (Domain-based Message Authentication, Reporting and Conformance) เป็นโปรโตคอลที่ช่องเรื่องการพิสูจน์ตัวตนของอีเมล อยู่ใน RFC 7489 ออกเมื่อปี 2015 โดย DMARC ทำให้เจ้าของโดเมนอีเมลปกป้องโดเมนของตัวเองจากการนำไปใช้ที่ไม่ดีได้ โดยทำให้ผู้รับสามารถพิสูจน์ที่มาของอีเมลได้ตามข้อกำหนดของเจ้าขอโดเมน และมีขั้นตอนต่างๆว่าถ้าผ่านหรือไม่ผ่านพิสูจน์ตัวตนจะให้ทำอย่างไรต่อไป (กระบวนการภายในประกอบด้วย Sender Policy Framework และ DomainKeys Identified Mail)
BIMI (Brand Indicators for Message Identification) เป็นการยกระดับอีกขั้นด้วยการแสดงโลโก้แบรนด์ในอีเมลไคลเอ้นต์ โดยต้องมีพื้นฐานต่อยอดจาก DMARC ก่อน
2 กระบวนการนี้ควรจะถูกใช้ในองค์กรเพื่อลดการตกเป็นเหยื่อในการโจมตี แต่ผลสำรวจบริษัทระดับ S&P 500 กลับพบว่า (ตามภาพประกอบ) มีบริษัทเพียง 51.2% เท่านั้นที่พอจะใช้ DMARC แล้วและ 2.4% เท่านั้นที่มีการใช้ BIMI ดังนั้นแทบจะไม่ต้องคาดหวังกับบริษัทเล็กทั่วโลกว่าความพร้อมของมาตรการด้าน Email Security เป็นอย่างไร ทั้งๆที่ปัจจุบันอุปกรณ์ฝั่งไคลเอนต์ก็รองรับรอแล้วเช่น iOS 16 เป็นต้น
——————————————————————————————————————————-
ที่มา : TechTalkThai / วันที่เผยแพร่ 30 ก.ย.65
Link : https://www.techtalkthai.com/less-5-percents-of-sp-500-already-use-dmarc-and-bimi-email-protection/