Lufthansa ไม่ได้เพิ่งแบนการใช้ AirTag ในกระเป๋าเดินทาง แต่กฎการบินสากลระบุห้ามโหลดอุปกรณ์ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมใต้เครื่อง

Loading

    สัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวจากเว็บ One Mile at a Time พาดหัวระบุว่าสายการบิน Lufthansa แบนการใช้ AirTag ติดตามกระเป๋าเดินทาง รูปแบบการรายงานและเนื้อหาชวนให้เข้าใจว่าทางสายการบินเพิ่งตัดสินใจว่าจะแบนการโหลด AirTag ไปกับกระเป๋าเดินทางนับแต่ตอนนี้เป็นต้นไป และตั้งคำถามไปว่าสายการบินอื่น ๆ จะทำตามหรือไม่   ต้นทางของข่าวนี้มาจากเว็บ Watson.de สื่อออนไลน์ในเยอรมนีที่ตั้งข้อสงสัยว่าการโหลด AirTag ไปกับกระเป๋าเดินทางใต้เครื่องนั้นทำได้หรือไม่ ทางโฆษกของสายการบิน Lufthansa ตอบกลับโดยอ้างอิงกฎการเดินทางขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ระบุชัดเจนว่าอุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมนั้นต้องถือขึ้นเครื่องไปกับผู้โดยสายเท่านั้น หรือหากจะโหลดใต้เครื่องได้จะต้องปิดการทำงานอย่างสมบูรณ์   กฎความปลอดภัยของ ICAO ออกมาตั้งแต่ปี 2017 สี่ปีก่อนที่ AirTag จะเปิดตัว ครอบคลุมตั้งแต่อุปกรณ์ขนาดเล็กเช่นนาฬิกาไปจนถึงอุปกรณ์ขนาดใหญ่เช่นโน้ตบุ๊ก แต่จำกัดเฉพาะแบตเตอรี่ลิเธียมเท่านั้น น่าสนใจว่าแบตเตอรี่ CR2032 ที่ AirTag ใช้งานนั้นแม้ส่วนมากในตลาดจะเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมแต่ก็มีแบบ Alkaline ขายอยู่ด้วยหากเปลี่ยนชนิดแบตเตอรี่แล้วตามกฎความปลอดภัยนี้ก็อาจจะไม่ขัด แม้จะมีกฎอื่น ๆ เช่นการส่งสัญญาณวิทยุที่อาจจะขัดกฎจากหน่วยงานอื่นอยู่ดีก็ตาม   ทาง Watson.de ยังถามไปยังสนามบินหลายแห่งในเยอรมนี…

ขนทัพเด็กอาชีวะติดตั้งประตูนิรภัยให้ศูนย์เด็กเล็กฯทั่วประเทศ ป้องซ้ำรอยกราดยิงหนองบัวลำภู

Loading

  “ธนุ รับลูกตรีนุช สั่งวิทยาลัยในสังกัด ช่วยติดตั้งระบบประตูป้องกันภัยให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ” ป้องกันซ้ำรอยกราดยิงหนองบัวลำภู   เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ตามที่ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ติดตั้งระบบประตูป้องกันภัยให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกระทรวงมหาดไทยทั่วประเทศ เพื่อคัดกรองบุคคลแปลกหน้าเข้าออกในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ รร.ที่สอนเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นกลุ่มอ่อนแอทางสังคมนั้น   ขณะนี้ตนได้สั่งการให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยในสังกัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประสานกับหน่วยการจัดการศึกษาปฐมวัยในจังหวัด สังกัด สพฐ. เทศบาล องค์กรบริหารส่วนจังหวัด องค์กรบริหารส่วนตำบล และเอกชน สำรวจความต้องการจัดตั้งระบบป้องกันภัย ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยให้สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อาทิ ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างเมคคาทรอนิกส์ และช่างไฟฟ้า จัดทำและติดตั้งระบบป้องกันภัย เพื่อใช้ควบคุมการเข้าออก คัดกรองบุคคลแปลกหน้าหรือผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าออก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   โดยระบบควบคุมความปลอดภัยคุณภาพสูงอาจใช้ระบบสแกนนิ้วมือ/สแกนใบหน้า แอพพลิเคชั่นแจ้งเตือนรูปภาพและข้อความบุคคลเข้าออก ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูกควบคุมได้จาก…

ช่องทีวีของรัฐบาลอิหร่านถูกกลุ่มผู้ประท้วงแฮ็กขณะออกอากาศ

Loading

  ช่องโทรทัศน์ที่รัฐบาลอิหร่านเป็นเจ้าของถูกแฮ็กกลางอากาศโดยกลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาล ที่กระจายตัวในหลายพื้นที่ทั่วประเทศขณะนี้   ภาพรายการปกติถูกตัดไปเป็นภาพของบุคคลสวมหน้ากากในฉากดำ ตามด้วยภาพของ อาลี คาห์เมเนอี (Ali Khamenei) ผู้นำสูงสุดของอิหร่านที่ห้อมล้อมไปด้วยเปลวเพลิง และมีเป้ายิงอยู่ที่ศีรษะ ด้านล่างจอเป็นภาพของ มาฮ์ซา อามินี (Mahsa Amini) และหญิงสาวอีก 3 คนที่เสียชีวิตในระหว่างการประท้วง   หนึ่งในข้อความที่ปรากฎขึ้นมาระบุว่า “มาร่วมกับพวกเราและลุกฮือขึ้นมา” หรือ “เลือดของเยาวชนเราหยดลงใต้อุ้งมือของท่าน” โดยปรากฎขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีก่อนจะถูกตัดเข้าสู่รายการข่าวปกติ   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ‘Adalat Ali’ หรือความยุติธรรมของอาลี   การประท้วงที่เริ่มลุกลามขึ้นทั่วอิหร่านนั้น เกิดจากการเสียชีวิตของอามินี หญิงสาววัย 22 ปีที่ถูกจับโดยตำรวจศีลธรรม ในข้อหาไม่คลุมหัวอย่างเหมาะสมตามหลักศาสนา   ในขณะที่สำนักข่าว IRNA ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลอิหร่านออกมาอ้างว่าการเสียชีวิตของอามินีเป็นเพราะโรคส่วนตัว และผู้ที่ประท้วงอยู่ตอนนี้ถูกยุยงโดยกลุ่มผู้เห็นต่างที่รัฐบาลเรียกว่าเป็น ‘กลุ่มก่อการร้าย’ อย่าง Komleh และ MEK     ที่มา BBC News, IRNA English…

Meta เตือน 402 แอปพลิเคชัน แอบขโมยข้อมูลล็อกอิน Facebook

Loading

  Meta ออกประกาศเตือนถึงแอปพลิเคชันที่แอบขโมยข้อมูลล็อกอิน Facebook ด้วยการปลอมเป็น เกม โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ VPN และยูทิลิตี้อื่น ๆ กว่า 402 แอปพลิเคชัน   Meta เตือนผู้ใช้ Facebook เกี่ยวกับแอปพลิเคชันจำนวนหลายร้อยแอปทั้งในระบบ iOS และ Android ที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลสำหรับการเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ Meta ระบุว่า มีแอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายกว่า 402 แอป ที่ปลอมแปลงเป็นเกม โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ และยูทิลิตี้อื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานเปิดโอกาส “ให้บุกรุกบัญชีของตนโดยไม่รู้ตัวด้วยการดาวน์โหลดแอปเหล่านี้และแบ่งปันข้อมูลประจำตัว” ซึ่งส่งผลกระทบถึงผู้ใช้งานนับล้านราย   Meta ระบุในโพสต์ว่า แอปหลอกล่อให้ผู้คนดาวน์โหลดแอปด้วยรีวิวปลอมและสัญญาว่าจะมีฟังก์ชันที่เป็นประโยชน์ (ทั้งกลวิธีทั่วไปสำหรับแอปหลอกลวงอื่น ๆ ที่พยายามหลอกเอาเงินของคุณมากกว่าข้อมูลการเข้าสู่ระบบ) แต่เมื่อเปิดแอปบางตัวขึ้นมาใช้ ผู้ใช้งานจะได้รับแจ้งให้เข้าสู่ระบบด้วย Facebook ก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปใช้งานอะไรได้จริง ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้นักพัฒนาสามารถขโมยข้อมูลประจำตัวของพวกเขาได้   Meta กล่าวว่า ได้รายงานแอปดังกล่าวไปยัง Google และ Apple เพื่อนำออกแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าพวกเขารองรับลงใน…

รู้จักกับ Deepfake เทคโนโลยีที่หลอกคนได้นับล้าน

Loading

  ความรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตช่วยย่อส่วนโลกให้เล็กลง ทุกวันนี้คุณสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนจากทุกมุมของโลกได้ทันทีผ่านโซเชียลมีเดียที่มีอยู่หลายแพลตฟอร์ม ทั้งยังติดตามข้อมูลข่าวสารได้ด้วยเพียงนิ้วสัมผัส   แต่คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนที่คุยอยู่ หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เห็นตรงหน้าจะเป็นความจริง   ช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี Deepfake ก้าวหน้าขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้ว่าจะมีคนนำไปใช้ในเชิงบวก โดยเฉพาะในวงการบันเทิงและการศึกษา แต่อันตรายของมันก็มีอยู่มากมาย ตั้งแต่การเป็นเครื่องมือของอาชญากรไซเบอร์ที่นำไปใช้ในการหลอกเอาเงินและข้อมูลจากเหยื่อ ไปจนถึงการนำไปใช้แทรกแซงการเมืองระหว่างประเทศ     Deepfake คืออะไร และมีที่มาอย่างไร?   แหล่งกำเนิดของ Deepfake น่าจะมีจุดเริ่มต้นในปี 2017 จากผู้ใช้ Reddit ชื่อว่า Deepfake ได้โพสต์คลิปโป๊ที่นำภาพของผู้หญิงที่มีชื่อเสียง อาทิ กัล กาดอต (Gal Gadot) และ เทย์เลอร์ สวิฟต์ (Taylor Swift) เข้าแปะมาแทนที่ภาพของใบหน้าของดาราหนังโป๊   ศุภศรณ์ สุวจนกรณ์ อธิบายการทำงานของ Deep Learning ในการสังเคราะห์การเคลื่อนไหวของคนขึ้นมาใหม่ (ที่มา: TED)   ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าคำว่า Deepfake…