วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ พร้อมวิธีแก้ไขและป้องกันมือถือ Android ถูกแฮก

Loading

  วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าถูกแฮก หากสมาร์ทโฟนของคุณทำงานผิดปกติ คุณสามารถใช้วิธีนี้ตรวจหามัลแวร์ แอปหลอกลวง และปัญหาอื่นๆ กับอุปกรณ์ของคุณ นอกจากนี้ มีแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้ถูกแฮกได้อีก   วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ ลองสังเกตดังนี้   1.แบตหมดไว มีบางแอปใช้พลังงานแบตมากเกินไป ผิดปกติ ให้เข้าไปที่ Settings > Battery > Battery usage แล้วดูว่ากราฟลดลงมากผิดปกติมั้ย และแอปไหนใช้พลังงานแบตมากที่สุด   อย่างไรก็ตามหากคุณติดตั้งแอปทั่วไปละก็ Google มีระบบรักษาความปลอดภัยในชื่อ Google Play Protect ใน Android เตือนคุณโดยอัตโนมัติถึงแอปที่ติดมัลแวร์ ในสถานการณ์สมมตินี้ คุณอาจมีคีย์ล็อกเกอร์หรือไวรัสซ่อนชื่อไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกพบ ดังนั้นก็น่ากังวลมาก คุณสามารถลองรีบูตโทรศัพท์ บังคับปิดแอปต้องสงสัย หรือถอนการติดตั้งแอปทั้งหมดหากเป็นไปได้   2.เจอแอปที่เราไม่ได้ดาวน์โหลดติดตั้งเอง แก้ได้ด้วยให้ทำการถอนแอปนั้นออกเฉพาะแอปที่น่าสงสัยจริงๆที่ไม่ใช่มาจากผู้ผลิตมือถือ มีแอปมากมายที่ติดตั้งมาล่วงหน้าโดยผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการโทรศัพท์ และไม่เป็นอันตราย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใช้ความระมัดระวังเกี่ยวกับการลบแอปที่สงสัยออก   3.การใช้ข้อมูลเน็ตสูงผิดปกติ จากแอปแปลก…

ตร.รวบหญิงอินโด หลังโบกปืนหน้าทำเนียบประธานาธิบดี

Loading

AP   ตร.รวบหญิงอินโด หลังโบกปืนหน้าทำเนียบประธานาธิบดี   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 25 ตุลาคมว่า เจ้าหน้าที่ทางการอินโดนีเซียจับกุมหญิงชาวอินโดนีเซียรายหนึ่ง หลังถือปืนป้วนเปี้ยนอยู่ด้านนอกวังเมอร์เดกา ซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ในกรุงจาการ์ตา อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ไม่ได้อยู่ในทำเนียบขณะเกิดเหตุ และไม่มีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว   เจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบประธานาธิบดีเผยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.00 น.ของวันเดียวกันนี้ โดยหญิงอายุระหว่าง 20-30 ปีคนดังกล่าว สวมนิกอบ ในมือถือคัมภีร์อัลกุรอาน และโบกปืนไปมาอยู่ใกล้ทำเนียบของประธานาธิบดีวิโดโด ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรีบจับตัวหญิงคนดังกล่าวในทันที อย่างไรก็ดี หญิงคนดังกล่าวไม่ได้เข้าไปในเขตทำเนียบประธานาธิบดีแต่อย่างใด   โฆษกของตำรวจกรุงจาการ์ตาให้รายละเอียดว่าหญิงผู้ก่อเหตุกำลังอยู่ในระหว่างถูกสอบสวน และขณะนี้ยังไม่ทราบถึงเหตุจูงใจ หรือได้อาวุธดังกล่าวมาได้อย่างไร   ก่อนหน้านี้ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ถูกโจมตีจากผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิมบ่อยครั้ง ซึ่งบางครั้งผู้ก่อการร้ายจะมุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่รัฐ หรือกองกำลังรักษาความปลอดภัย       ——————————————————————————————————————————————————- ที่มา :               …

Symantec พบเครื่องมือดูดไฟล์ที่ขโมยได้จากมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าไปในคลาวด์

Loading

  นักวิจัยด้านไซเบอร์จากทีม Threat Hunter แห่ง Symantec บริษัทด้านไซเบอร์พบว่ามีอาชญากรไซเบอร์รายหนึ่งที่ใช้ เครื่องมือที่เรียกว่า Exbyte ในการดูดข้อมูลที่ขโมยมาได้โดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตระกูล BlackByte ไปยังโฟลเดอร์ที่อยู่บนคลังข้อมูลบนคลาวด์ที่ชื่อว่า Mega   ก่อนที่ Exbyte จะส่งข้อมูลไปยังโฟลเดอร์นี้ มันจะทำการตรวจสอบก่อนว่าข้อมูลที่มันพบอยู่ใน Sandbox (สภาพแวดล้อมจำลองภายในอุปกรณ์หรือเซิร์ฟเวอร์ที่ผู้เชี่ยวชาญสร้างขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลมัลแวร์) หรือไม่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ตัวอย่างของมัลแวร์ได้ยาก   Exbyte ยังตรวจสอบด้วยว่าในอุปกรณ์ที่มันเข้าไปขโมยข้อมูลนั้นมีซอฟต์แวร์ Antivirus ติดตั้งอยู่หรือไม่ด้วย   Symantec ชี้ว่า BlackByte ก้าวขึ้นมาผงาดหลังจากที่กลุ่มปฏิบัติการมัลแวร์เรียกค่าไถ่รายใหญ่ ๆ อย่าง Conti หรือ REvil ยุติบทบาทลง   อย่างไรก็ดี Exbyte ไม่ใช่เครื่องมือดูดข้อมูลเดียวที่มีอยู่ในตลาด Symantec เคยพบเครื่องมือที่มีลักษณะการทำงานคล้าย ๆ กันนี้ในเดือนพฤศจิกายน ชื่อของมันคือ Exmatter ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กลุ่มแฮ็กเกอร์อย่าง Blackmatter และ Noberus ใช้ อีกทั้งยังมีเครื่องมืออื่น ๆ…

น่าเป็นห่วง บริษัทไทยตกเป็นเป้าหมาย แฮ็กเกอร์จ้องขโมย Password

Loading

  ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เรามักเห็นข่าวว่าช่อง Youtuber และเว็บไซต์ของธุรกิจไทยบางแห่งโดนโจมตีโดยการขโมย Password แล้วเข้าไปเปลี่ยนข้อมูลภายในเว็บ จ้องทำลายเว็บ หรือเป็นเส้นทางในการโจมตีส่วนอื่น ๆ ต่อไป เช่น การดักจับข้อมูลและใช้ Ransomware โจมตี   ล่าสุด Kaspersky ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติของการโจมตีธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) โดยครึ่งแรกของปี 2022 พบว่าอาชญากรไซเบอร์ได้โจมตีผ่านเว็บจำนวน 11,298,154 ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในไทยมีสถิติการโจมตีมากกว่า 1.4 ล้านครั้งที่ Kaspersky สามารถบล็อกได้   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดขึ้นได้จากช่องโหว่ของผู้ใช้ปลายทาง (Endpoint) บริการเว็บเซอร์วิส และผู้พัฒนา/ผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิส ซึ่งหากไม่ได้มีระบบป้องกันที่ดีพอ้และผู้ใช้ไม่ทันระวังตัว ก็อาจทำให้เกิดการโจมตีดังกล่าวได้   นอกเหนือจากภัยคุกคามทางเว็บแล้ว แคสเปอร์สกี้ยังตรวจพบโทรจันขโมยพาสเวิร์ด Trojan-PSW (Password Stealing Ware) จำนวน 373,138 รายการ (ในไทย 31,917) ที่พยายามแพร่กระจายสู่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภูมิภาค SEA โดย Trojan-PSW…

ออสเตรเลียเตรียมเพิ่มโทษละเมิดข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

Loading

  ออสเตรเลียเตรียมเสนอกฎหมายเข้ารัฐสภาเพื่อเพิ่มบทลงโทษกับบริษัทที่ละเมิดข้อมูลที่สำคัญทางคอมพิวเตอร์ หลังจากการโจมตีทางไซเบอร์ได้โจมตีชาวออสเตรเลียหลายล้านคนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ทีผ่านมา   ภาคธุรกิจโทรคมนาคม การเงิน และภาครัฐของออสเตรเลียมีความตื่นตัวสูงนับตั้งแต่บริษัท Optus ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเปิดเผยเมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่ามีการแฮกข้อมูลส่วนบุคคลจากบัญชีผู้ใช้มากถึง 10 ล้านบัญชี   ต่อมาในเดือนนี้ มีการละเมิดข้อมูลของบริษัทประกันสุขภาพ Medibank Private ซึ่งครอบคลุมถึง 1 ใน 6 ของชาวออสเตรเลีย ส่งผลให้ลูกค้า 100 รายถูกขโมยข้อมูล รวมทั้งการวินิจฉัยโรคและขั้นตอนทางการแพทย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขโมยข้อมูลจำนวน 200 กิกะไบต์ Mark Dreyfus อัยการสูงสุด เปิดเผยในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ว่า รัฐบาลจะเคลื่อนไหวในสัปดาห์หน้าเพื่อ “เพิ่มโทษอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการละเมิดความเป็นส่วนตัว” พร้อมกับการแก้ไขกฎหมายความเป็นส่วนตัว การเปลี่ยนแปลงที่เสนอจะยกเลิกบทลงโทษสูงสุดสำหรับการละเมิดความเป็นส่วนตัวอย่างร้ายแรงหรือซ้ำจาก 2.22 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในปัจจุบัน (1.4 ล้านดอลลาร์) เป็นมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือเป็นมูลค่าสามเท่าของผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด หรือ 30% ของยอดขายในช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด   การละเมิดความเป็นส่วนตัวที่ปรากฎในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าระบบการป้องกันที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องเพิ่มความรุนแรงของการลงโทษสำหรับการละเมิดข้อมูลที่สำคัญ   “เราต้องการกฎหมายที่ดีกว่านี้…