สมช. เคาะแผนรับมือเหตุฉุกเฉินช่วงเอเปก แม้ยังไม่มีเหตุ แต่ต้องรอบคอบ

Loading

  ที่ประชุม สมช. เห็นชอบแผน-มาตรการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในห้วงเอเปก “บิ๊กป้อม” รายงานยังไม่มีอะไรน่ากังวล แต่ได้เน้นย้ำให้ดำเนินการให้รัดกุมและละเอียดรอบคอบ   วันที่ 26 ต.ค. 2565 พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แถลงภายหลังการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติครั้งที่ 1/2566 ว่า ตนได้รายงานสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ช่องแคบไต้หวัน และสถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์ โดยไทยมีท่าทีอย่างชัดเจนในการสนับสนุนการแก้ปัญหาด้วยการเจรจาและสันติวิธี การให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเต็มที่ และยึดถือตามกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศ   นอกจากนี้ ยังรายงานสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่ประชุมได้ให้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ด้วยความจริงใจ เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ไม่ว่าจะกลุ่มใดก็ตามมามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทั้งในด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน การพัฒนาพื้นที่ ให้ประชาชนมีรายได้มีเศรษฐกิจที่ดีในภาพรวม ส่วนการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนให้เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหา การสนับสนุนธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและการศึกษาภายใต้กรอบกฎหมาย   ขณะที่แนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ใช้แนวทางสันติวิธี ยึดถือกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม แก้ตรงจุด ลดเงื่อนไข สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ทั้งนี้ ได้ย้ำให้ส่วนราชการทุกภาคส่วนต้องเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และบูรณาการการทำงานทั้งในเชิงแผนงาน และการปฏิบัติในพื้นที่ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ กอ.รมน. ศอ.บต. และกระทรวงมหาดไทย   พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า…

จีนกลายเป็นภัยคุกคามเจ้าเทคโนโลยีสหรัฐฯ ได้อย่างไร

Loading

ภาพโกลบอลไทมส์   เมื่อ 7 ปีที่แล้ว จีนประกาศแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ “เมดอินไชน่า 2025” ตั้งเป้าหมายการพัฒนา 10 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของแดนมังกร ให้ผงาดทัดเทียมบนเวทีการแข่งขันระดับโลกภายในปี พ.ศ.2568   หากย้อนดูเส้นทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของจีน ก็จะเข้าใจได้ว่า จีนกลายเป็นภัยอันน่ากลัวต่อผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างสหรัฐฯ ในทุกวันนี้ได้อย่างไร   ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ กำลังถูกจีนไล่ตามมาเหลือระยะห่างกันมากน้อยแค่ไหน และเหตุใดรัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน จึงรู้สึกถูกคุกคามถึงขนาดต้องยกระดับมาตรการจำกัดการส่งออกเทคโนโลยีแก่จีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ อธิบายได้จากสิ่งต่อไปนี้   1.ความเฟื่องฟูด้านการวิจัย   จีนมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ตอนนั้นเศรษฐกิจแดนมังกรกำลังบูม หลังจากการฟื้นฟูเปิดประเทศและเศรษฐกิจของผู้นำ “เติ้ง เสี่ยวผิง” ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533-2542)   เมื่อดูการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหมด (Gross R&D spending) ของแต่ละฝ่าย พบว่า จีนไล่ตามมาชนิดหายใจรดต้นคอในปัจจุบัน โดยจีนมีโอกาสลดช่องว่างให้แคบลงในช่วงที่สหรัฐฯ เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ด็อตคอมในปี 2540-2543 และวิกฤตการเงินโลกระหว่างปี 2551-2552 ซึ่งทำให้การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของสหรัฐฯ ชะลอ…

สั่งตั้งวอร์รูมรวมทุกหน่วยการข่าวสกรีนเข้ม กลุ่มเคลื่อนไหวช่วงประชุมเอเปก

Loading

  วงถกสภากลาโหม “หน่วยงานข่าวกรอง” รายงานจับตาทุกกลุ่มเคลื่อนไหวอาจก่อความรุนแรงช่วงประชุมเอเปก ตั้งวอร์รูมรวมทุกหน่วยการข่าวสกรีนเข้ม พร้อมวาง 3 แผนรักษาความปลอดภัย   เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 10/2565 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน หน่วยงานด้านการข่าวได้สรุปกลุ่มเฝ้าระวัง กลุ่มที่เคลื่อนไหวอาจจะกระทบภาพลักษณ์ประเทศ เป็นกลุ่มที่ต้องจับตา รวมถึงกลุ่มที่เคยก่อความรุนแรงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องจับตาด้วยเช่นกัน ในการประชุมเอเปก   ทั้งนี้ จะมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการข่าวส่วนหน้า โดยมีสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) เป็นแกนหลัก กองบัญชาการตำรวจสันติบาล หน่วยข่าวกรองทางทหาร (ขกท.) และศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมแผนรักษาความปลอดภัยโดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.เส้นทาง 2.สถานที่ และ 3.ผู้นำ ทั้งนี้ ขณะนี้สถานการณ์ในภาพรวมยังไม่พบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ   ด้าน พ.อ.จิตนาถ ปุณโณทก รองโฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหม…

‘ไอเอส’ อ้างโจมตี มัสยิดอิหร่าน ดับ 15 ราย รัฐบาลลั่น ‘เอาคืนอย่างสาสม’

Loading

  มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15 ศพ ในเหตุโจมตีมัสยิดทางตอนใต้ของอิหร่าน ซึ่งกลุ่มไอเอสอ้างเป็นผู้ลงมือ ด้านรัฐบาลอิหร่านยืนยัน เตรียมตอบโต้   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ว่าสำนักข่าวแห่งชาติของอิหร่านรายงาน “เหตุก่อการร้ายโดยพวกทักฟิรี” ซึ่งเป็นคำที่รัฐบาลเตหะรานใช้เรียกแทนกลุ่มหัวรุนแรงสุหนี่ ภายในมัสยิดชาห์ เชอรักห์ ซึ่งเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ ในเมืองชีราซ ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 40 คน   รูกระสุนบนกำแพงของมัสยิด ชาห์ เชอรักห์ ในเมืองชีราซของอิหร่าน   หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มไอเอสประกาศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของตัวเอง รับสมอ้างเป็นผู้ก่อเหตุ ขณะที่จำนวนคนร้ายยังไม่เป็นที่ชัดเจน โดยสื่อรายงานว่า มีทั้งคนเดียวและอย่างน้อย 3 คน ส่วนรูปแบบของการลงมือเป็นการกราดยิง   Semi-official Tasnim News agency with links to the IRGC publishes…

ประเทศที่นักเดินทาง พึ่งระวัง! เปิด 10 ประเทศสุดอันตรายที่สุดในโลก

Loading

  เปิด 10 ประเทศสุดอันตรายที่สุดในโลก 2022 ที่คุณอาจไม่เคยรู้ ใครอยากไปต้องระวัง !   การเดินทางรอบโลกนับเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน แต่ความเป็นจริงนั้นอาจไม่สวยหรูเหมือนความฝัน อาจไม่ได้ราบเรียบเสมอไป เพราะยังมีหลายประเทศที่ค่อนข้างอันตรายและไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด หากใครที่พร้อมจะเดินทาง ควรจะต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจเดินทาง ติดต่อคนพื้นที่หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องไว้ก่อนล่วงหน้าเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเรื่องไม่คาดคิด ลองดูกันว่าประเทศต่อไปนี้ อยู่ในลิสต์ประเทศที่คุณปักหมุดไว้หรือไม่?     สำหรับประเทศที่อันตรายมากที่สุดในโลก โดยอ้างอิงจากคะแนน ดัชนีสันติภาพโลกประจำปี 2022 (Global Peace Index 2022) จากตัวชี้วัดสวัสดิการหรือระดับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน (GPI) นับได้จากความรุนแรงความขัดแย้งภายใน ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น ระดับการก่อการร้ายทางการเมือง และความไม่มั่นคงทางการเมือง รวมถึงผลกระทบของการก่อการร้ายอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธหนัก การเสียชีวิตจากความขัดแย้งภายใน ค่าใช้จ่ายทางทหาร อัตราการกักขัง และการรับรู้ถึงความผิดทางอาญา ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่ไม่เป็นมิตรต่อคนแปลหน้าที่จะเข้าไปเยือนอย่างแน่นอน       10 ประเทศสุดอันตรายที่สุดในโลก   1. อัฟกานิสถาน (Afghanistan) GPI : 3.554 ภาวะการย้ายถิ่นและความขัดแย้งภายใน…

กระอัก ออสเตรเลีย ถูกเจาะระบบซ้ำ ข้อมูลสุขภาพรั่วไหล 4 ล้านคน

Loading

  วันที่ 26 ต.ค. เอเอฟพี รายงานว่า นักเจาะระบบคอมพิวเตอร์หรือแฮ็กเกอร์ลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทางด้านสุขภาพนับล้านรายการภายในบริษัทเมดิแบงก์ หนึ่งในเอกชนทำธุรกิจด้านการประกันสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ออสเตรเลีย คาดว่าข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลไปถึง 3.9 ล้านคน ส่งผลให้รัฐบาลออกมายอมรับว่าบรรดาเอกชนยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ   การเจาะระบบล่าสุดเกิดหลังการโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่แฮกเกอร์ลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานของบริษัทออพตัส ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารรายใหญ่ในออสเตรเลีย ส่งผลให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 9 ล้านคนรั่วไหล นับเป็นหนึ่งในการเจาะระบบครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย   นายมาร์ก เดรย์ฟัส อัยการสูงสุดออสเตรเลีย กล่าวว่า บรรดาเอกชนเหล่านี้กำลังเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ามากเกินความจำเป็นและล้มเหลวในการปกป้องข้อมูลเหล่านี้ พร้อมขู่จะลงโทษบรรดาเอกชนขั้นสูงสุดด้วยค่าปรับกว่า 1.2 พันล้านบาท ขณะที่นางแคลร์ โอนีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน (เทียบเท่ามหาดไทย) ยอมรับว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกินเยียวยา     ———————————————————————————————————————————————— ที่มา :                          ข่าวสดออนไลน์       …