เว็บสื่อก็ไม่รอด แฮ็กเกอร์เล็งเป้าโจมตี ปล่อยข่าวปลอม มากับภาพโป๊

Loading

  หากใครชอบอ่านข่าวต่างประเทศ น่าจะเคยผ่านตากับเว็บที่ชื่อว่า Fast Company มาบ้างนะ โดยตอนนี้ เว็บดังกล่าวได้ถูกแฮกเกอร์โจมตี และปล่อยข่าวปลอม ข้อความเหยีดผิว และรูปภาพโป๊อนาจารไปยังผู้อ่านผ่านแพลทฟอร์ม Apple News   ในการตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าว Apple ได้ให้ข้อมูลว่า เว็บไซต์ FastCompany ถูกแฮก ทำให้ Apple ได้ทำการปิดการใช้งาน FastCompany บน Apple News ทันทีครับ   ทั้งนี้ Fast Company ได้แพร่แถลงการณ์ที่ยืนยันการโจมตีจริง ๆ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา จนตอนนี้ ต้องปิดการใช้งานหน้าเว็บ และรอการแก้ไขครับ   เห็นแบบนี้แล้ว เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัว เพราะการเผยแพร่ข่าวที่สร้างความเกลียดชังหรือสร้างกระแสลบใด ๆ ออก การจะแก้ข่าวก็อาจเป็นเรื่องที่ยากกว่า เห็นได้ชัดกับกรณี Fake News ในบ้านเรา ซึ่งถ้าหากว่าวันหนึ่ง เว็บไซต์สื่อดัง ๆ โดนแฮกแล้วเผยแพร่ข่าวปลอม มันอาจจะสร้างความเสียหายมาก ๆ…

Brave จัดให้ บล็อกแบนเนอร์บนหน้าเว็บ เลิกกดยินยอม ให้เก็บข้อมูล

Loading

  ต้องยอมรับว่า Brave เป็นเบราว์เซอร์ที่กล้าหาญสมชื่อเค้าจริง ๆ นะ ด้วยการที่ออกมาประกาศว่า เบราว์เซอร์ในเวอร์ชั่นใหม่นี้จะบล็อกแบนเนอร์ที่ให้เรากดยินยอมการใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ต่าง ๆ   หลายคนน่าจะเคยมีประสบการณ์ ที่ต้องกดยินยอมให้เว็บใช้คุกกี้กันมาบ้างแล้ว จากกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รัฐบาลบังคับใช้งาน โดยหนึ่งในนั้นคือข้อมูลการท่องเว็บของผู้ใช้ก็ถือเป็นข้อมูลส่วนตัวเหมือนกัน ทำให้ทุกเว็บไซต์ต้องมีการขออนุญาต ก่อนจะทำการเก็บข้อมูลครับ   โดยมันจะขึ้นมาเป็นแบนเนอร์ให้เรากด ซึ่งต้องกดทุกครั้งที่เข้าเว็บใหม่ และนั่นทำให้ Brave มองว่า มันอาจไปรบกวนประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ จึงเป็นที่มาว่า Brave ในเวอร์ชันถัดไปนี้ จะทำการ Block แบนเนอร์ที่ขึ้นมาให้กดยินยอมคุกกี้ เพื่อลดความรำคาญของผู้ใช้   หากย้อนกลับไปก่อนที่กฏหมายหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GDPR (ยุโรป) และ PDPA (ไทย) จะถูกบังคับใช้ ทุกเว็บจะมีการเก็บคุกกี้ผู้ใช้งานอยู่แล้ว เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในด้านต่าง ๆ ครับ   ซึ่งในตอนนั้น Brave ก็เป็นเบราว์เซอร์เดียวที่บล็อกการเก็บคุกกี้ได้แบบ Default หรือก็คือติดตั้งเสร็จ เปิดใช้งานมันก็จะบล็อกให้เลย แตกต่างจากเบราว์เซอร์อื่นที่ต้องไปตั้งค่าใหม่เอง หรือบางอันก็ไม่สามารถทำการบล็อกคุกกี้ได้เลยครับ ดังนั้นการบล็อกแบนเนอร์นี้จึงเป็นอีกขั้นที่อาจทำให้ User ชอบใช้งาน Brave…

สุดโหด มือระเบิดฆ่าตัวตาย บึมร.ร.กวดวิชาในอัฟกานิสถาน ตายเจ็บอื้อ 19 ศพ

Loading

  มือระเบิดฆ่าตัวตายเหี้ยมสุดๆ จุดชนวนระเบิดโจมตีโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตสลดอย่างน้อย 19 ศพ บาดเจ็บระนาว   เมื่อ 30 ก.ย. 2565 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายโจมตีศูนย์การศึกษา หรือโรงเรียนกวดวิชา Kaaj ตั้งอยู่ที่เขต Dasht-e-Barchi ทางตะวันตกของกรุงคาบูล เมืองหลวงอัฟกานิสถาน ในวันนี้ (30 ก.ย.) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 ศพ บาดเจ็บอีกอย่างน้อย 27 ราย โดยเบื้องต้น ยังไม่มีกลุ่มใดออกมาอ้างความรับผิดชอบ   เจ้าหน้าที่โรงเรียนกวดวิชาแห่งนี้ กล่าวด้วยความตื่นตระหนก ว่าขณะเกิดเหตุวินาศกรรมสะเทือนขวัญ นักเรียนหลายคนกำลังนั่งทำข้อสอบกวดวิชาเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในขณะที่ เด็กนักเรียนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาจากชนกลุ่มน้อยเผ่าฮาซารา ซึ่งตกเป็นเป้าโจมตีหลายครั้งที่ผ่านมา   ภาพที่รายงานทางสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นในอัฟกานิสถานรวมถึงภาพที่ถูกแชร์ทางโซเชียล แสดงให้เห็นภาพเหตุการณ์ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุ โดยมีศพหลายศพถูกนำมาวางเรียงเป็นแถวอยู่บนพื้น ในขณะที่สื่ออื่น ๆ รายงานจากที่เกิดเหตุ แสดงให้เห็นสภาพความเสียหายภายในห้องเรียนของโรงเรียนกวดวิชาแห่งนี้ ที่ถูกโจมตีด้วยมือระเบิดฆ่าตัวตาย   ทั้งนี้ ศูนย์การศึกษา หรือโรงเรียนกวดวิชา Kaaj เป็นโรงเรียนกวดวิชาเอกชน ซึ่งสอนทั้งนักเรียนชายและหญิง…

สถิติเผย มีองค์กรน้อยกว่า 5% ที่เปิดใช้มาตรการด้าน Email Security

Loading

credit : Red Sift   การหลอกลวงหรือปลอมแปลงเป็นอีเมลที่น่าเชื่อถือนั้นมีความเสียหายเป็นนัยสำคัญอย่างมาก จากสถิติเพียงไตรมาสแรกของปี 2022 ได้แตะถึงสถิติใหม่ที่มีจำนวนการโจมตีทางอีเมลกว่า 1 ล้านครั้ง ซึ่งอันที่จริงแล้วโลกนี้มีทางเลือกสำหรับการป้องกันที่เรียกว่า DMARC และ BIMI   DMARC หรือ (Domain-based Message Authentication, Reporting and Conformance) เป็นโปรโตคอลที่ช่องเรื่องการพิสูจน์ตัวตนของอีเมล อยู่ใน RFC 7489 ออกเมื่อปี 2015 โดย DMARC ทำให้เจ้าของโดเมนอีเมลปกป้องโดเมนของตัวเองจากการนำไปใช้ที่ไม่ดีได้ โดยทำให้ผู้รับสามารถพิสูจน์ที่มาของอีเมลได้ตามข้อกำหนดของเจ้าขอโดเมน และมีขั้นตอนต่างๆว่าถ้าผ่านหรือไม่ผ่านพิสูจน์ตัวตนจะให้ทำอย่างไรต่อไป (กระบวนการภายในประกอบด้วย Sender Policy Framework และ DomainKeys Identified Mail)   BIMI (Brand Indicators for Message Identification) เป็นการยกระดับอีกขั้นด้วยการแสดงโลโก้แบรนด์ในอีเมลไคลเอ้นต์ โดยต้องมีพื้นฐานต่อยอดจาก DMARC ก่อน  …