Symantec พบเครื่องมือดูดไฟล์ที่ขโมยได้จากมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าไปในคลาวด์

Loading

  นักวิจัยด้านไซเบอร์จากทีม Threat Hunter แห่ง Symantec บริษัทด้านไซเบอร์พบว่ามีอาชญากรไซเบอร์รายหนึ่งที่ใช้ เครื่องมือที่เรียกว่า Exbyte ในการดูดข้อมูลที่ขโมยมาได้โดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตระกูล BlackByte ไปยังโฟลเดอร์ที่อยู่บนคลังข้อมูลบนคลาวด์ที่ชื่อว่า Mega   ก่อนที่ Exbyte จะส่งข้อมูลไปยังโฟลเดอร์นี้ มันจะทำการตรวจสอบก่อนว่าข้อมูลที่มันพบอยู่ใน Sandbox (สภาพแวดล้อมจำลองภายในอุปกรณ์หรือเซิร์ฟเวอร์ที่ผู้เชี่ยวชาญสร้างขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลมัลแวร์) หรือไม่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ตัวอย่างของมัลแวร์ได้ยาก   Exbyte ยังตรวจสอบด้วยว่าในอุปกรณ์ที่มันเข้าไปขโมยข้อมูลนั้นมีซอฟต์แวร์ Antivirus ติดตั้งอยู่หรือไม่ด้วย   Symantec ชี้ว่า BlackByte ก้าวขึ้นมาผงาดหลังจากที่กลุ่มปฏิบัติการมัลแวร์เรียกค่าไถ่รายใหญ่ ๆ อย่าง Conti หรือ REvil ยุติบทบาทลง   อย่างไรก็ดี Exbyte ไม่ใช่เครื่องมือดูดข้อมูลเดียวที่มีอยู่ในตลาด Symantec เคยพบเครื่องมือที่มีลักษณะการทำงานคล้าย ๆ กันนี้ในเดือนพฤศจิกายน ชื่อของมันคือ Exmatter ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กลุ่มแฮ็กเกอร์อย่าง Blackmatter และ Noberus ใช้ อีกทั้งยังมีเครื่องมืออื่น ๆ…

น่าเป็นห่วง บริษัทไทยตกเป็นเป้าหมาย แฮ็กเกอร์จ้องขโมย Password

Loading

  ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เรามักเห็นข่าวว่าช่อง Youtuber และเว็บไซต์ของธุรกิจไทยบางแห่งโดนโจมตีโดยการขโมย Password แล้วเข้าไปเปลี่ยนข้อมูลภายในเว็บ จ้องทำลายเว็บ หรือเป็นเส้นทางในการโจมตีส่วนอื่น ๆ ต่อไป เช่น การดักจับข้อมูลและใช้ Ransomware โจมตี   ล่าสุด Kaspersky ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติของการโจมตีธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) โดยครึ่งแรกของปี 2022 พบว่าอาชญากรไซเบอร์ได้โจมตีผ่านเว็บจำนวน 11,298,154 ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในไทยมีสถิติการโจมตีมากกว่า 1.4 ล้านครั้งที่ Kaspersky สามารถบล็อกได้   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดขึ้นได้จากช่องโหว่ของผู้ใช้ปลายทาง (Endpoint) บริการเว็บเซอร์วิส และผู้พัฒนา/ผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิส ซึ่งหากไม่ได้มีระบบป้องกันที่ดีพอ้และผู้ใช้ไม่ทันระวังตัว ก็อาจทำให้เกิดการโจมตีดังกล่าวได้   นอกเหนือจากภัยคุกคามทางเว็บแล้ว แคสเปอร์สกี้ยังตรวจพบโทรจันขโมยพาสเวิร์ด Trojan-PSW (Password Stealing Ware) จำนวน 373,138 รายการ (ในไทย 31,917) ที่พยายามแพร่กระจายสู่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภูมิภาค SEA โดย Trojan-PSW…

ออสเตรเลียเตรียมเพิ่มโทษละเมิดข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

Loading

  ออสเตรเลียเตรียมเสนอกฎหมายเข้ารัฐสภาเพื่อเพิ่มบทลงโทษกับบริษัทที่ละเมิดข้อมูลที่สำคัญทางคอมพิวเตอร์ หลังจากการโจมตีทางไซเบอร์ได้โจมตีชาวออสเตรเลียหลายล้านคนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ทีผ่านมา   ภาคธุรกิจโทรคมนาคม การเงิน และภาครัฐของออสเตรเลียมีความตื่นตัวสูงนับตั้งแต่บริษัท Optus ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเปิดเผยเมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่ามีการแฮกข้อมูลส่วนบุคคลจากบัญชีผู้ใช้มากถึง 10 ล้านบัญชี   ต่อมาในเดือนนี้ มีการละเมิดข้อมูลของบริษัทประกันสุขภาพ Medibank Private ซึ่งครอบคลุมถึง 1 ใน 6 ของชาวออสเตรเลีย ส่งผลให้ลูกค้า 100 รายถูกขโมยข้อมูล รวมทั้งการวินิจฉัยโรคและขั้นตอนทางการแพทย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขโมยข้อมูลจำนวน 200 กิกะไบต์ Mark Dreyfus อัยการสูงสุด เปิดเผยในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ว่า รัฐบาลจะเคลื่อนไหวในสัปดาห์หน้าเพื่อ “เพิ่มโทษอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการละเมิดความเป็นส่วนตัว” พร้อมกับการแก้ไขกฎหมายความเป็นส่วนตัว การเปลี่ยนแปลงที่เสนอจะยกเลิกบทลงโทษสูงสุดสำหรับการละเมิดความเป็นส่วนตัวอย่างร้ายแรงหรือซ้ำจาก 2.22 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในปัจจุบัน (1.4 ล้านดอลลาร์) เป็นมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือเป็นมูลค่าสามเท่าของผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด หรือ 30% ของยอดขายในช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด   การละเมิดความเป็นส่วนตัวที่ปรากฎในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าระบบการป้องกันที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องเพิ่มความรุนแรงของการลงโทษสำหรับการละเมิดข้อมูลที่สำคัญ   “เราต้องการกฎหมายที่ดีกว่านี้…

การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…

‘กล้องวงจรปิด’ ยิ่งเยอะ ยิ่งดีต่อประชาชน ยิ่งเพิ่มความปลอดภัยให้ประเทศ

Loading

  ชวนดูการติดตั้ง ‘กล้องวงจรปิด’ (Surveillance) ในจีน ประเทศที่มีกล้องมากที่สุดในโลก และการใช้ประโยชน์ระบบกล้องวงจรปิดในด้านต่าง ๆ   ไม่นานมานี้ สวี่กานลู่ รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน ให้ข้อมูลผ่านการแถลงข่าวว่า จีนได้รับการยอมรับในวงกว้าง ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในโลก เนื่องจากมีอัตราการฆาตกรรมและจำนวนคดีความเกี่ยวกับปืนและวัตถุระเบิดต่ำที่สุด ทั้งยังมีจำนวนคดีอาญาและอุบัติเหตุด้านความปลอดภัยลดลงอย่างมีนัยสำคัญตลอด 10 ปีที่ผ่านมา     เพราะสังคมไม่ปลอดภัย กล้องวงจรปิด จึงเป็นของที่ต้องมี? ศูนย์สื่อมวลชนสำหรับการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 จัดการแถลงข่าวในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน วันที่ 19 ต.ค. 2022 | ที่มา : Xinhua   หากดูเฉพาะประเทศจีน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้จีนได้ชื่อว่า ปลอดภัยที่สุดในโลก เป็นผลมาจากรัฐบาลสั่งติดตั้ง กล้องวงจรปิด ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้มาตรการปราบปรามอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่   หลังผ่านการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 สวี่เผยตัวเลขแก่สื่อมวลชนว่า จำนวนการกระทำผิดทางอาญาขั้นร้ายแรง อาทิ คดีฆาตกรรมและการข่มขืน ในปี…

คอมพิวเตอร์เก่าอย่านึกว่าทิ้งได้ง่าย ๆ

Loading

  เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา Morgan Stanley Smith Barney (MSSB) บริษัทวาณิชธนกิจชื่อดัง ตกลงยอมความกับ Securities and Exchange Commission (SEC) ในข้อหาเกี่ยวกับการทิ้งเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าในสำนักงานโดยไม่ระมัดระวัง!!!   ทำไม SEC ต้องมายุ่งเกี่ยวกับการทิ้งเครื่องคอมพิวเตอร์เก่า? เหตุผลก็เพราะว่า ในบรรดาเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าโดยเฉพาะ Hard disk และ Server มีข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เป็นลูกค้ากว่า 15 ล้านคน   เรื่องของเรื่องเกิดเมื่อปี 2015 MSSB ทำการเปลี่ยนแปลงคอมพิวเตอร์ของบริษัทนับพันเครื่อง ในการนี้ MSSB ไปว่าจ้างบริษัทแห่งหนึ่งมาทำการจัดการเอาเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าเหล่านั้นไปกำจัด แต่บริษัทแห่งนี้ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการกำจัดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยถูกวิธีมาก่อน ผลสุดท้าย เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถูกนำไปประมูลขายโดยที่มิได้มีการลบข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในเครื่องเหล่านั้นออก ในภายหลัง MSSB ติดตามเครื่องที่ขายไปได้บางส่วน   แต่ว่าส่วนใหญ่ได้หายสาบสูญไปโดยไม่สามารถติดตามได้โดยเฉพาะเครื่อง Server 42 เครื่องที่มีข้อมูลซึ่งไม่ได้เข้ารหัสของลูกค้าอยู่ งานนี้ MSSB ต้องเสียค่าปรับยอมความไปทั้งสิ้น 35 ล้านเหรียญสหรัฐ  …