วันที่ 20 ตุลาคม ในงาน CE Day 2022 Security Transformation Challenge ทางสปริงนิวส์ได้มีโอกาสศึกษาและรวบรวมข้อมูลในหัวข้อ “Digital IoT Tranformation” ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนประเทศไทยได้อย่างไร
คุณนิติ เมฆมหอก นายกสมาคมไอโอที Digital IoT Tranformation ได้แนะนำถึงกลุ่มสมาคมไทย IoT ที่ตั้งมาแล้วกว่า 4 ปี ครึ่ง
ทางสมาคม IoT ประเทศไทยต้องการมุ่งสร้าง 4 หัวข้อได้แก่ Awareness , Expertise , Alliance , Usability ซึ่งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี IoT ว่าจะมามีผลกระทบประวันของท่านอย่างไร
เมื่อมีการรวมตัวกันก็จะมีการพัฒนาแชร์องค์ความรู้และทักษะต่างๆ จะเป็นผู้เชี่ยวชาญและสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานการศึกษา และสร้างงานที่เกิดขึ้นจริง
และทางสมาคมได้นำเสนอข้อมูลความรู้ในหัวข้อ Smart City Handbook : Thailand ซึ่งเป็นมุมมองของต่างชาติเกี่ยวกับ Smart City โดยเน้นเกี่ยวกับแพลตฟอร์มที่ทุกเจ้าสามารถเข้ามาพัฒนางานได้อย่างอิสระ โปร่งใสและชัดเจน , การบริหารในรูปแบบสมัยใหม่ ปรับเปลี่ยนการบริหารในแบบดั้งเดิม , ประชาชนก็ต้องเป็น “Smart Citizen” สุดท้ายแล้วความต้องการเทคโนโลยีเกี่ยวกับ IoT จะมีมากขึ้น
รวมถึงยังได้พูดถึงเทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง , เซนเซอร์ และข้อมูลต่างๆ สามารถหาเซ็นเซอร์เก็บข้อมูลได้ทุกรูปแบบ การรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ ซึ่งมีหลากหลายสมาคมหลากหลายหน่วยองค์กรภาครัฐที่จะเป็นคนขับเคลื่อนองค์กร
อีกทั้งทาง DEPA ต้องการจะมุ่งเป้าหมายและกระจายพัฒนาเข้าสู่ทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการการเก็บข้อมูลและ Sandbox ต่างๆ
ปัจจุบันเราไม่ได้มองกรุงเทพมหานครเป็นเมืองแล้ว แต่จะแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ พร้อมยังมีเป้าหมายที่ต้องการสร้างย่านนวัตกรรมขึ้นมา
เช่น ย่านนวัตกรรมอารีย์ เช่น ภาคเอกชนระดับใหญ่ เช่น AIS , Pruksa , โรงพยาบาลพญาไท เพื่อจะหา Painpoint หรือจุดด้อยในย่านอารีย์ ซึ่งโมเดลนี้จะเกิดขึ้นอีกมากมายและกระจายไปแต่ละพื้นที่เมืองในอนาคต
ซึ่งทางสมาคมยังได้มองในเรื่องของ Urban Governance เป็นเรื่องสำคัญ การมีมุมมองเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอนาคต เช่น การจราจรและระบบขนส่งต่างๆ รวดเร็วต้องมองไปถึงอนาคตเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการจ่ายเงินผ่าน Payment Platform ต่างๆ จะถูกพัฒนาตามยุคสมัย
ซึ่งประเทศไทยยังคงต้องพัฒนาตามแผน ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนพัฒนา และยังคงมีปัญหา นั่นทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูง ซึ่งจะใช้เวลาในการพัฒนาอีก 7 ปีนี้ หลายองค์กรหลายหน่วยงานที่ต้องการพัฒนาประเทศไทยอยู่ในส่วนนี้ไม่น้อย ซึ่งสมาคม IoT ก็จะเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
อีกทั้งการรักษาความปลอดภัยที่จะเข้ามาร่วมงานเกี่ยวกับจราจร ตำรวจ กฎหมายจราจรต่างๆ จะมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาร่วมด้วยในอนาคต
เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยมาตรฐานและข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น การให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนรวม และเข้าใจเรื่องข้อมูลและมีการแนะนำออกมาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆร่วมกับหน่วยงาน
ซึ่งอนาคตจะมีการแชร์ข้อมูลภาครัฐและเอกชนผ่าน Open Data Platform ให้ทุกคนสามารถเข้าถึง ยกตัวอย่างเช่น การใช้เซ็นเซอร์ติดบนรถยนต์ เพื่อวัด PM2.5 ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นข้อมูลอากาศ PM2.5 แบบเรียลไทม์ ซึ่งถือว้่าเป็นเทคโนโลยีที่อนาคตสามารถนำไปต่อยอดได้
อีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจคือ “Smart Energy Environment” ซึ่งมีเคสตัวอย่างคือ NIDA ที่มีการเข้าได้ไปติดเซ็นเซอร์วัดคุณภาพอากาศ , คุณภาพน้ำ และสามารถดึงข้อมูลการใช้พลังงานในทุกชั้นทุกตึกแบบ Real-Time
เมื่อมีข้อมูล ผู้บริหารก็สามารถเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับพลังงาน และสามารถสร้างแผนงานในการลดการใช้พลังงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งคอนเซปต์นี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกพื้นที่
ซึ่งมองกลับมาในมุมมองของประชาชน คนไทยจะมีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้น หากประเทศถูกพัฒนาเป็น ‘Smart City’ ที่มีข้อดีทั้งความปลอดภัย ความสะดวกสบาย หน่วยงานรัฐและเอกชนสามารถให้บริการและแชร์ข้อมูลได้อย่างโปร่งใส
และในอนาคตเทคโนโลยี IoT ก็จะเข้ามาช่วยพัฒนาระบบเหล่านี้อย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นในอนาคตอีก 2-3 ปีนี้ ประเทศไทยจะถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีต่างๆ และก้าวเข้าสู่ “ยุคดิจิทัล” ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
—————————————————————————————————————–
ที่มา : สปริงนิวส์ / วันที่เผยแพร่ 20 ต.ค.65
Link : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/831326