มีคำจำกัดความและแนวคิดเกี่ยวกับ smart city ที่น่าสนใจหลายมุมมองจากบุคลากรทั้งภาครัฐเอกชนหลากหลายท่านที่มาร่วมกันนำเสนอทั้งแนวคิดและนวัตกรรมอัจฉริยะ ภายในงาน Thailand Smart City: Bangkok Model โดย Post Today และเครือเนชั่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
หนึ่งในหัวข้อมากมายที่น่าสนใจในเซสชั่นต่างๆ ก็มีเรื่องของ Smart Poles ในหัวข้อ Infrastructure Technology in Smart City โดยคุณปรเมศวร์ ปรีชญางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด เทคโนโลยี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (UTE)
น่าสนใจตรงที่ โครงการ Smart Poles นี้เป็นเหมือน Infra ของ Infra ที่จะช่วยให้คำว่า Smart City มีความสมาร์ทขึ้นจริงๆ ซึ่งก็คงจะไม่ใช่เมืองที่มีเสาไฟฟ้ารกรุงรังอีกต่อไป เพราะหากเราอยากเห็นกรุงเทพฯ หรือ เมืองต่างๆในประเทศไทยอัจฉริยะขึ้นจริงๆ นอกจากเริ่มที่คนสมาร์ทๆ ที่คุณชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม นำเสนอตอนเปิดงานได้อย่างน่าสนใจแล้ว ก็คงต้องเริ่มที่เสาไฟฟ้าสักต้นก่อน
Smart Pole จึงกำเนิดขึ้นจากการผสมผสานแนวคิดที่รวมเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาผนึกกำลังกับเสาไฟส่องสว่าง จนทำให้มันกลายเป็นเสาอัจฉริยะที่จะช่วยเราจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ทำให้เมืองปลอดภัย ทันสมัยและน่าอยู่ขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
ด้วยมัลติฟังก์ชั่นและความสามารถอันมากมายของเสาอัจฉริยะนี้เอง จึงทำให้เสาต้นหนึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเมืองให้เข้าสู่ Smart City ในอนาคต
ย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงมีแผนติดตั้งเสาไฟอัจฉริยะอเนกประสงค์ หรือ Smart Poles 400 เสา เป็นโครงการระยะเวลา 3 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในฮ่องกงและเพื่อสนับสนุนการใช้งานเครือข่ายมือถือ 5G . ในช่วงเวลาเดียวกัน เซินเจิ้นได้ประกาศแผนการติดตั้งเสาอัจฉริยะ 4,526 ต้นในปี 2563 และเพิ่มเป็น 24,000 ต้นภายในปี 2565
ไม่ผิดนักหากจะบอกว่า เสาอัจฉริยะคือจุดศูนย์รวมฟังค์ชั่นอเนกประสงค์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในเมืองอัจฉริยะ ซึ่งสร้างขึ้นบนเสาไฟถนนอัจฉริยะ (smart streetlights) และเสาสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (connected utility poles)
ABI Research คาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 ฐานการติดตั้งเสาอัจฉริยะจะเกิน 10.8 ล้านแห่งทั่วโลก โดยมีรายได้จากระบบอยู่ที่ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
โดมินิค บอนเต้ รองประธานของ ABI Reserch ได้ให้ความเห็นถึงความสำคัญของ Smart Poles ไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า “ความเกี่ยวข้องของเสาอัจฉริยะสำหรับเมืองอัจฉริยะนั้นยิ่งใหญ่มาก เพราะสิ่งที่เทคโนโลยีนี้มอบให้เราก็คือ เฟรมเวิร์กแบบโมดูลาร์ หรือกรอบการทำงานแบบแยกส่วนที่ทรงประสิทธิภาพ สามารถปรับขนาดพื้นที่ตามการใช้งานได้ สำหรับการนำมาใช้ในโครงสร้างพื้นฐานภายในเมืองอัจฉริยะทั้งหมด ตั้งแต่สมอลเซลล์ 5G และฮอตสปอต Wi-Fi ไปจนถึงกล้องวงจรปิดและกล้องจราจร ป้ายและจอแสดงข้อมูล โซลูชั่นคุณภาพอากาศและการตรวจสอบน้ำท่วม รวมไปถึงจุดชาร์จพลังงานต่างๆ สำหรับยานพาหนะ 2 และ 4 ล้อ โดรน และโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงการผลิตพลังงานหมุนเวียน
“อย่างไรก็ตาม ตัวขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการนำเสาอัจฉริยะมาใช้ก็คือ ความหนาแน่นของเครือข่ายเซลลูลาร์ในรูปแบบของเซลล์ขนาดเล็กทั้ง 5G และ 6G ในอนาคตที่มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการมากๆ เพื่อให้เทคโนโลยีนี้ทรงประสิทธิมากขึ้น รวมถึงการใช้สเปกตรัมคลื่นวิทยุ mmWave
ด้วยเหตุนี้ ระบบนิเวศของโทรคมนาคมจึงต้องได้รับทุนหรืองบฯสนับสนุนในส่วนนี้สำหรับฟังก์ชันเมืองอัจฉริยะเพิ่มเติมที่จะฝังอยู่ในเสาอัจฉริยะทั้งหลาย”
ส่วนอุปสรรคทั่วไปที่ทำให้การนำเสาอัจฉริยะมาใช้ช้าลง ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของร่วมและการจัดการ (การออกแบบ การบำรุงรักษา การแบ่งปันต้นทุนเที่ยวกลับ) ลำดับความสำคัญและวาระการประชุมที่ขัดแย้งกัน ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเซ็นเซอร์ และการขาดความตระหนักของรัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับผลประโยชน์มากมายที่จะได้มาจากเสาอัจฉริยะ ทั้งในแง่ของการประหยัดต้นทุน เวลาในการทำงาน โอกาสในการปรับขนาดธุรกิจ และโมดูลาร์ที่รองรับอนาคต
ดังนั้นจึงมีการคาดคะเนว่า การจะนำเสาอัจฉริยะมาปรับใช้งานได้จริงๆ จะร้องทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ให้ได้เสียก่อนในช่วงปลายทศวรรษนี้
การแข่งขันในวงการ Smart Pole
ตอนนี้ในโลกมีผู้ค้ารายสำคัญๆ ในระบบนิเวศเสาอัจฉริยะ ได้แก่ Ubicquia, Verizon, Huawei, Signify, Nokia/LuxTurrim5G และ ELKO EP นอกจากนั้นก็คือซัพพลายเออร์ไฟถนนอัจฉริยะหลายรายที่เริ่มลงทุนในเทคโนโลยีเสาอัจฉริยะ
ส่วนความคิดริเริ่มหลักๆ ได้แก่ โครงการ Humble Lamppost ของสหภาพยุโรป และการปรับใช้งาน Smart Poles โดยรัฐบาลกรุงโซล ลอสแองเจลิส มิวนิก และโลเวิน นอกจากนี้ก็มีเมืองต่างๆ ในอินเดีย เช่น โบภาล นิวเดลี และอินดอร์ที่ได้เริ่มดำเนินการโครงการเสาอัจฉริยะกันไปแล้ว
การใช้งาน Smart Pole ในประเทศไทย
ประเทศไทยและโดยเฉพาะในเขตเมืองได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับ PM2.5 ก็ได้ Smart Pole เข้ามาเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาช่วยเรื่องนี้
ได้มีการนำอุปกรณ์ตรวจวัดมาติดตั้งไว้บนเสาซึ่งติดตั้งในจุดต่าง ๆ ของเมือง รวมถึงมีการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร เช่น Gateway และ Wifi Hotspot เพื่อใช้ส่งข้อมูลที่ได้ขึ้นระบบ Cloud แบบ Real time ตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจวัดที่มักจะติดตั้งบนเสา ได้แก่ อุปกรณ์ประเภท Sensor ตรวจวัดคุณภาพอากาศ (Air quality sensor) เช่น
– อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม
– ค่าฝุ่น PM2.5 และ PM10
– ค่าก๊าซ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) และ CO (คาร์บอนมอนอกไซด์)
เมื่อติดตั้งแล้ว Sensor บน Smart Pole จะตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศ ณ จุดติดตั้ง แล้วส่งข้อมูลไปยังศูนย์ข้อมูลผ่านระบบ Cloud เพื่อนำไปวิเคราะห์ หากมีค่าใดอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตราย ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกแจ้งเตือนให้ประชาชนในบริเวณนั้นระมัดระวังตัว หรือสวมใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ก่อนออกจากบ้าน เป็นต้น
นอกจากนี้ในปัจจุบัน บน Smart Pole ยังได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อใช้ในการตรวจสอบสภาพโดยรอบแบบ Real time มี Public display เพื่อแจ้งข่าวสารสาธารณะแก่ประชาชนโดยรอบ และยังอาจมีอุปกรณ์สื่อสารประเภทไมโครโฟนและลำโพงเพื่อให้สามารถสื่อสารกับหน่วยงานเจ้าของ Smart Pole ได้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
เครดิตภาพ: https://www.ute.co.th
เสาอัจฉริยะนี้จะเหมาะกับพื้นที่ใดบ้าง และจะอัจฉริยะแค่ไหน?
1. พื้นที่ริมถนน พื้นที่ริมถนนบริเวณจุดรอรถสาธารณะเป็นจุดที่ควรนำร่องติดตั้งเสาอัจฉริยะเป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นบริเวณที่มีผู้คนสัญจรผ่านไปมา UTE ได้นำเสนอไอเดียเสาอัจฉริยะที่มีฟังก์ชันตอบโจทย์ในชีวิตประจำวันของคนเมืองมากมาย เช่น
– Solar Cell การเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ในตอนกลางวันเพื่อใช้ในช่วงเวลากลางคืน
– Charging Station สถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่กำลังได้รับความนิยมในหลายๆ ประเทศ
– Information Display หน้าจอแจ้งข้อมูลข่าวสารแบบเรียลไทม์ เช่น ข้อมูล Covid-19 หรือการประชาสัมพันธ์จากทางภาครัฐ
– Free Wi-Fi ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาของสัญญาณ 5G
– ฟังก์ชัน CCTV & Emergency Alert ที่สามารถบันทึกเหตุการณ์โดยรอบ และกดปุ่มแจ้งเหตุได้ทันทีเมื่อพบเห็นสิ่งผิดปกติ
2. พื้นที่ธุรกิจ ย่านธุรกิจนับเป็นย่านที่มีจำนวนคนหนาแน่น ศูนย์รวมของธุรกิจการค้า ห้างสรรพสินค้า เสาอัจฉริยะจึงถูกออกแบบให้ครอบคลุมวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ ด้วยฟังก์ชันที่น่าสนใจ
– traffic light ควบรวมเสาไฟให้แสงสว่างกับเสาไฟจราจรเป็นต้นเดียว เป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า
– USB Charging ช่องสำหรับเสียบชาร์จอุปกรณ์ต่างๆ
– ฟังก์ชัน Trading Display ที่แปลงจากจอ Digital Signage ให้เปลี่ยนเป็น ตัวเลขหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน หรือแม้กระทั่งเหรียญสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซี่ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
3. พื้นที่สวนสาธารณะ จะดีแค่ไหนหากเสาไฟในสวนมีประโยชน์ได้มากกว่าการให้แสงสว่าง ทั้งยังตอบโจทย์กิจกรรมที่หลากหลายภายในสวนสาธารณะ
– ชาร์จจักรยานไฟฟ้าด้วยระบบ EV Charging
– ระบบไฟสำรองฉุกเฉิน
– IoT Environment Sensor ตรวจวัดค่า PM2.5 ความชื้น อุณหภูมิ หรือพยากรณ์อากาศล่วงหน้า ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์บนจอ Digital Signage ให้คุณไม่ต้องกังวลกับสภาพภูมิอากาศอีกต่อไป
4. พื้นที่หน้าตลาด เสาอัจฉริยะในพื้นที่แห่งนี้ต้องตอบโจทย์การใช้งานที่มักจะมีผู้คน รถ สัญจรไปมาอย่างหนาแน่น และเป็นพื้นที่จัดงานเทศกาลของชุมชนไปในเวลาเดียวกัน การออกแบบพื้นที่นี้จึงดูน่าสนใจไม่น้อย
– ฟังก์ชัน Shop Locator เพื่อให้ข้อมูลตำแหน่งรายละเอียดร้านค้าในบริเวณโดยรอบตลาด
– Public Transportation Services ออกแบบให้เชื่อมโยงกับระบบรถสาธาณะ หรือแม้แต่กลายเป็นป้ายรถเมล์อัจฉริยะ
– Intelligent LED ไฟ LEDที่สามารถปรับเปลี่ยนสีและรูปแบบได้ตามความต้องการของเมืองตามโอกาสและเทศกาลต่างๆ
– Panic Button ปุ่มฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย เมื่อกดเสาต้นนี้จะส่งสัญญาณไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้เคียง
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงไอเดียฟังก์ชันต่างๆ ของเสาอัจฉริยะจาก UTE คำถามคือ จะดีแค่ไหนหากเปลี่ยนเสาไฟที่ชินตาและให้แสงสว่างเพียงอย่างเดียว มาเป็นเสาอัจฉริยะ งานนี้ UTE จึงได้พัฒนาเสาอัจฉริยะขึ้น ภายใต้แบรนด์ LUCKY POLE เสาอัจฉริยะ (Smart Pole) ที่ตอบโจทย์สู่การพัฒนาเป็น Smart City อย่างเต็มรูปแบบ
อ้างอิง:
https://futureiot.tech/smart-poles-are-key-to-smart-city-evolution
https://www.benchachinda.co.th/en/news-detail/11
—————————————————————————————————————————————————————————————-
ที่มา : โพสต์ทูเดย์ / วันที่เผยแพร่ 25 พ.ย.65
Link : https://www.posttoday.com/post-next/innovation/687868