ร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …

Loading

  ร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เผยแพร่ร่างประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. (ร่างประกาศฯ)   เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียได้ร่วมแสดงความคิดเห็นร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 2 – 20 พฤศจิกายน 2565 โดยสามรถดาวน์โหลดเอกสารและแสดงความคิดเห็นได้ผ่านช่องท่าง http://www.pdpc.or.th   ร่างประกาศฯ ดังกล่าวเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 37(4) ของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ที่กำหนดให้ ผู้ควบคุมมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานฯ โดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล   ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด   ร่างประกาศฯ กำหนดว่า “การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า การรั่วไหลหรือการละเมิดมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล อันอาจเกิดจากเจตนา ความจงใจ หรือความประมาทเลินเล่อ หรือเหตุผิดพลาด (Accidental) หรือการกระทำผิดกฎหมายอันจะทำให้เกิดความเสียหาย ความสูญหาย…

วิธีเช็กเว็บไซต์ และไฟล์แนบ ไฟล์ที่ให้โหลดบนเว็บไซต์ปลอดภัยไหม มีไวรัสหรือไม่

Loading

  วิธีเช็กเว็บไซต์ และไฟล์แนบ ไฟล์ที่ให้โหลดบนเว็บไซต์ปลอดภัยไหม มีไวรัสหรือไม่ เชื่อว่าหลายท่านคงเคยเช็กเกี่ยวกับการสแกนไฟล์ไวรัสที่ดาวน์โหลดจากอีเมล หรือเว็บดาวน์โหลดต่าง ๆ ก่อนติดตั้งหรือเปิดไฟล์ ต้องดูให้แน่ใจว่าไม่มีไวรัส แต่สิ่งที่ลืมไปคือเว็บไซต์ที่คุณเข้าชมอาจมีไวรัสด้วยก็ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจริงๆควรใช้เว็บไซต์สแกนไวรัสก่อนคลิก   วิธีเช็กเว็บไซต์ และไฟล์แนบ ไฟล์ที่ให้โหลดบนเว็บไซต์ปลอดภัยไหม มีไวรัสหรือไม่   iT24Hrs   ด้วยเว็บไซต์ virustotal.com โดยสามารถอัปโหลดไฟล์แนบ ไฟล์เอกสาร ไฟล์ zip เพื่อตรวจสอบด้วยเครื่องมือสแกนออนไลน์กว่า 80 ตัว ว่ามีไวรัสหรือไม่มี รายงานเหมือนกันหรือไม่   iT24Hrs   เช่นเดียวกับ url คุณสามารถ copy ไฟล์ในรูปแบบที่อยู่ url รวมถึงใส่ที่อยู่เว็บไซต์ที่คุณจะคลิกลงใน virustotal เพื่อดูว่าเว็บนั้นมีไวรัสแฝงอยู่มั้ย   เลยลองทดสอบด้วย it24hrs.com ก็ปรากฎว่าหน่วยสแกนไวรัสออนไลน์ทั้ง 86 ราย รายงานตรงกันว่าไม่พบไวรัส   แต่ถ้ามีบางรายบอกว่าเป็นไวรัสจะขึ้นเป็นสีแดงๆ เท่ากับว่าเว็บไซต์นั้นอาจมีความเสี่ยง   iT24Hrs…

ตุรกีคิดบัญชีแค้น ส่งเครื่องบินรบถล่มฐานนักรบเคิร์ด ชายแดนซีเรีย อิรัก

Loading

  ตุรกีประกาศคิดบัญชีแค้น ส่งเครื่องบินรบปฏิบัติการโจมตีทางอากาศถล่มเป้าหมายฐานที่มั่นของนักรบเคิร์ด ชายแดนซีเรียและอิรัก ตอบโต้เหตุวางระเบิดที่นครอิสตันบูล   เมื่อ 20 พ.ย. 65 สำนักข่าวอัลจาซีรา รายงาน กองทัพอากาศตุรกีส่งเครื่องบินรบหลายลำปฏิบัติการโจมตีทางอากาศทิ้งระเบิดถล่มเป้าหมายหลายแห่งทางภาคเหนือของซีเรียและอิรัก ตอบโต้เหตุระเบิดย่านช็อปปิ้งยอดนิยมในนครอิสตันบูลเมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ศพ บาดเจ็บกว่า 80 คน โดยกระทรวงกลาโหมตุรกี อ้างว่าเป็นการส่งเครื่องบินรบตุรกีโจมตีเป้าหมายที่ถูกใช้โดยกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดย่านช็อปปิ้งในนครอิสตันบูล เมืองใหญ่สุดของตุรกี เมื่อสัปดาห์ก่อน   กระทรวงกลาโหมตุรกีประกาศผ่านทางทวิตเตอร์ในวันนี้ว่า ‘การคิดบัญชีมาถึงแล้ว’ พร้อมกับเผยแพร่ภาพเครื่องบินรบลำหนึ่งทะยานไปปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในช่วงกลางดึก พร้อมกับเขียนข้อความว่า ‘กลุ่มคนที่ก่อเหตุโจมตีที่เต็มไปด้วยอันตรายจะต้องถูกคิดบัญชี’   ก่อนหน้านี้ รัฐบาลตุรกีได้ตำหนิพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (PKK) กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเคิร์ดทางภาคเหนือของตุรกี ซึ่งถูกตุรกีและสหรัฐฯ ตีตราว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย และยังอยู่ในเครือกลุ่มชาวเคิร์ดในซีเรีย คือกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดที่นครอิสตันบูล เมื่อ 13 พ.ย. แต่ทางกลุ่มนักรบชาวเคิร์ดได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของรัฐบาลตุรกี   นอกจากนั้น กระทรวงกลาโหมตุรกียังได้โพสต์คลิปแสดงให้เห็นนาทีโจมตีเป้าหมายแห่งหนึ่ง พร้อมกับระบุว่าเป็นการโจมตีที่เฉพาะเจาะจงเพื่อทำลายรังของพวกก่อการร้าย   อย่างไรก็ตาม ในขณะที่กระทรวงกลาโหมตุรกีไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับปฏิบัติการโจมตีทางอากาศเมื่อคืนที่ผ่านมา แต่กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ระบุว่า เครื่องบินรบตุรกีได้โจมตีเมือง Kobane…

ผบ.ตร.แถลงปิดกองอำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัยและการจราจร ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค

Loading

  วันที่ 20 พ.ย.2565 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร./รอง ผอ.กอร. เปิดเผยว่าพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ผู้อำนวยการกองอำนวยการฯ มอบหมายให้ตนพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ และแถลงปิดกองอำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัยและการจราจรการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคปี พ.ศ.2565 (14 – 20 พฤศจิกายน 2565)   เจ้าหน้าที่ทุกนาย ทุกฝ่ายและหน่วยร่วมปฏิบัติร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี และภาพรวมในการจัดการประชุมเอเปคเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ ขอขอบคุณพี่น้องประชาชน ที่ให้ความร่วมมือ ในด้านการปิดปรับเส้นทางการจราจรทั้งวันซ้อม และวันปฏิบัติจริง ตลอดจนงดการใช้สถานีรถไฟฟ้าศูนย์การประชุมฯ สวนเบญจกิติ และอื่น ๆ   พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่าการแถลงปิด กองอำนวยการร่วมฯ 14 – 20 พ.ย.65 โดยภาพรวมผลการปฏิบัติในภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์การประชุมฯ เกิดภาพลักษณ์ที่ดี ต่อประเทศไทย การรักษาความปลอดภัยและการจราจร ถือเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการประชุมฯ ครั้งนี้ อย่างไรก็ดี ยังคงมีภารกิจที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยยังคงเหลือเขตเศรษฐกิจเอเปค 4 เขตเศรษฐกิจพิเศษ (ปาปัวนิวกินี จีนไทเป…

“ดีอีเอส” ห่วงประชาน เตือนระวัง SMS คืนเงินหลอกลวงมาอีกแล้ว

Loading

  “ดีอีเอส” ห่วงประชาน เตือนระวัง SMS คืนเงินหลอกลวงมาอีกแล้ว   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประกาศเตือนประชาชน เพิ่มความระมัดระวัง หลังเจอ SMS หลอกโอนเงิน พร้อมแนะ 3 ข้อควรทำ   วันนี้ (20 พ.ย.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง หรือ (ดีอีเอส) ได้ออกมาโพสต์ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับ SMS หรือข้อความที่ส่งเข้ามาในโทรศัพท์มือถือเพื่อให้โอนเงิน หรือส่งมาในรูป จึงอยากจะเตือนประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง พร้อมแนะ 3 ข้อที่ควรตระหนักถึง ดังนี้   “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเตือน ระวัง! SMS คืนเงิน หลอกลวง โดยไม่สมัครใจ มาอีกแล้ว SMS หลอกโอนเงิน “ดีอีเอส” ห่วง ออกโรงเตือนประชาชน ตระหนัก และรู้เท่าทันมิจฉาชีพทุกรูปแบบ วอนอย่าหลงเชื่อข้อความที่ส่งเข้ามายังโทรศัพท์มือถือ และหมั่นเช็กโปรฯ เช็กยอดหนี้ หากผิดปกติรีบแจ้งผู้ให้บริการ   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส)…

นักวิจัยพบช่องโหว่ในระบบส่งสัญญาณที่ใช้บนกระสวยอวกาศของ NASA

Loading

  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NASA) เผยถึงช่องโหว่สำคัญของเทคโนโลยีโครงข่ายที่ใช้ในอากาศยาน กระสวยอวกาศ ระบบกำเนิดพลังงาน และระบบควบคุมอุตสาหกรรม (ICS)   ระบบที่ว่านี้คือ Network Protocol และ Time-triggered Ethernet (TTE) ซึ่งจะช่วยให้ระบบที่สำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจ อย่างระบบยังชีพ (Life Support System) ให้สามารถทำงานควบคู่ไปกับระบบอื่น ๆ ที่สำคัญน้อยกว่า บนฮาร์ดแวร์เดียวกันได้   เดิมที TTE ถือว่ามีความปลอดภัยมาก เนื่องจากที่ผ่านมาระบบที่สำคัญกับระบบที่ไม่สำคัญใช้รูปแบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ต่างกันและแทบไม่มีโอกาสมาเจอกัน   อย่างไรก็ดี นักวิจัยจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ร่วมกับ NASA ได้ทดสอบวิธีการโจมตีที่เรียกว่า PCSpooF ในการทดลองป่วนสัญญาณทั้ง 2 ประเภทให้มาเจอกัน โดยใช้ฮาร์ดแวร์ของ NASA ในการจำลองการทดสอบเปลี่ยนวิถีการโคจรของดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Redirection Test) ในขั้นการควบคุมยานแคปซูลให้เชื่อมต่อกับกระสวยอวกาศ   ผลของการทดลอง PCSpooF ทำให้ยานแคปซูลหลุดจากเส้นทางที่กำหนดไว้และไม่สามารถมาเชื่อมเข้ากับกระสวยอวกาศไว้…