ชาวอเมริกันเข้าคูหาเลือกตั้งกลางเทอม – ยังไม่มีรายงานเหตุรุนแรง

Loading

A poll worker prepares “I voted” stickers for voters at the City Clerk’s Office ahead of the midterm election in Lansing, Michigan, U.S., Nov. 7, 2022.   ชาวอเมริกันหลายล้านคนเดินเข้าคูหาเลือกตั้งกลางเทอมในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน เพื่อเลือกสมาชิกรัฐสภา ผู้ว่าการรัฐและสมาชิกรัฐสภาส่วนท้องถิ่นในหลายรัฐทั่วประเทศ ท่ามกลางความกังวลด้านความปลอดภัยและการแทรกแซงต่าง ๆ แต่จนถึงขณะนี้การเลือกตั้งยังคงเป็นไปด้วยความราบรื่น   เจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานของรัฐบาลกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่นต่างเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ตั้งแต่การลอบโจมตีทางไซเบอร์ส การกระทบกระทั่งของกลุ่มที่มีความเห็นขัดแย้งทางการเมือง และการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ ที่อาจทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประสบความยากลำบาก เช่น ไปคูหาผิด เป็นต้น   อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานความขัดแย้งหรือความรุนแรงเข้ามามากนัก มีเพียงปัญหาทางเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามคูหาเลือกตั้งต่าง ๆ…

สหรัฐฯ ยึดบิตคอยน์ มูลค่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ ที่ถูกจารกรรมบนเว็บมืดซิลค์โรด

Loading

  สหรัฐยึด “บิตคอยน์” มูลค่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ที่ถูกจารกรรมบนแพลตฟอร์มซิลค์โรดเมื่อ 10 ปีก่อน   วันที่ 8 พ.ย. 65 รอยเตอร์รายงานว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้ทำการยึดบิตคอยน์มูลค่ากว่า 3.3 พันล้านดอลลาร์ที่ถูกขโมยจากตลาดออนไลน์ซิลค์โรด (Silk Road) เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งการยึดครองดังกล่าวถือเป็นการยึดครองที่มูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของรัฐบาล รองจากเหตุการณ์การแฮกคริปโตของแพลตฟอร์มบิทฟิเน็กซ์ (Bitfinex) ในปี 2559   โดยทางกระทรวงได้ทำการยึดบิตคอยน์จำนวนกว่า 50,676 เหรียญ คิดเป็นมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์ ในระหว่างการบุกค้นบ้านพักของ นายเจมส์ จง วัย 32 ปี ผู้เป็นจำเลย ในเมืองเกนส์วิลล์ รัฐจอร์เจีย เมื่อเดือนพ.ย. ปี 2564   นายจงให้การรับสารภาพว่า ตนได้บิตคอยน์เหล่านั้นมาโดยมิชอบด้วยกฎหมายจากเว็บไซต์ตลาดมืดซิลค์โรดในปี 2012 โดยใช้ประโยชน์จากกลไกการถอนเงินของแพลตฟอร์มโอนบิตคอยน์เข้าสู่บัญชีของเขา จากนั้นโอนบิตคอยน์เหล่านี้เข้าไปยังกระเป๋าเงินต่าง…

ผลการศึกษาเผย ผู้บริหารด้านไซเบอร์ส่วนใหญ่ยอมจ่ายเงินค่าไถ่ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  รายงานของ Rubrik Zero Labs ที่สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ในระดับบริหารจำนวนทั้งสิ้น 1,600 คน พบว่าร้อยละ 76 ของกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินค่าไถ่หากถูกโจมตีด้วย   ในจำนวนนี้ ร้อยละ 92 ชี้ว่าที่ต้องจำใจจ่ายเงินก็เพราะไม่มั่นใจว่าหากไม่จ่ายแล้วจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าบอร์ดบริหารของบริษัทมีความมั่นใจน้อยมากหรือไม่มีความมั่นใจเลยว่าจะสามารถกู้คืนข้อมูลสำคัญของบริษัทหลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้   นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทุกคนเผยว่าบริษัทของตัวเองถูกโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยแล้วถูกโจมตีมากถึง 47 ครั้งใน 12 เดือน ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่สามารถกลับไปดำเนินการธุรกิจตามปกติได้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังตรวจพบการโจมตี ที่สำคัญคือมีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้นที่ได้แก้ไขช่องโหว่ที่พบในระบบของบริษัทไปแล้ว   การโจมตีทางไซเบอร์ยังส่งผลสำคัญต่อสุขภาพจิตของบุคลากร ร้อยละ 96 ของผู้ตอบแบบสำรวจเผยว่าได้รับผลกระทบทางอารมณ์และจิตวิทยาจากการโจมตีทางไซเบอร์   เหตุผลส่วนใหญ่เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในหน้าที่การงาน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็กลัวว่าจะสูญเสียความเชื่อมั่นจากเพื่อนร่วมงาน ซึ่งราวร้อยละ 30 เผยว่าการโจมตีทางไซเบอร์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับบริหารทันที     ที่มา TechRadar      …

ม.มหิดล โชว์เทคโนโลยีจัดการฝูงชน (Crowd Management) ความปลอดภัยขั้นกว่า

Loading

  หลังยุคโควิด ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังก้าวสู่ช่วงเทศกาลประเพณีและงานรื่นเริงเฉลิมฉลองของประชาชน และยังเป็นช่วงไฮซีซั่นของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สนามบินสุวรรณภูมิแน่นขนัดด้วยนักท่องเที่ยวขาเข้าที่มุ่งมาเที่ยวไทย ม.มหิดลจึงได้นำเทคโนโลยี Crowd Management มาใช้     นับจากนี้ต่อจากเทศกาลลอยกระทง เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ จนถึงงานประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งการจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่กำลังจะกลับมา เช่น คอนเสิร์ตขนาดใหญ่ เทศกาลดนตรี การจัดแข่งขันกีฬา เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดหมายทางการตลาดและฐานแฟนคลับของศิลปินและนักกีฬานานาประเทศ ยังไม่รวมงานประเพณีท้องถิ่น จึงมีคำถามว่า เราจะจัดการฝูงชนให้ปลอดภัยอย่างไร? คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล มีข้อเสนอแนะ เพื่อมิให้ซ้ำรอยโศกนาฏกรรมอิแทวอน ในเกาหลีใต้ที่เป็นข่าวสะเทือนใจคนทั่วโลก     ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการหัวหน้าภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า งานรื่นเริงฉลอง Halloween คืนวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ในย่านบันเทิง ‘อิแทวอน’ ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้ผ่อนคลายมาตรการไม่บังคับสวมหน้ากากอนามัยครั้งแรกหลังจากระยะ 2 ปีของวิกฤติโควิด-19 ทำให้ผู้คนกว่า 1 แสนคน ทะลักเข้าสู่ย่านอิแทวอน และกลายเป็นฝูงชนเบียดอัด…

ลักษณะเด่นและความท้าทาย เมื่อทรานส์ฟอร์มสู่คลาวด์

Loading

  การทรานส์ฟอร์มไปสู่คลาวด์ ยังคงมีความท้าทายที่อาจจะไม่ปรากฏจนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการย้ายระบบ และมีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจ   ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องรวมระบบการบริหารจัดการตัวตนและการเข้าถึง (Identity and Access Management หรือ IAM) เข้ากับระบบต่าง ๆ ที่ได้รับการโยกย้ายไปยังคลาวด์ อย่างไรก็ตาม มีความท้าทายบางอย่างที่เราต้องพิจารณาก่อน ระหว่าง และหลังการย้ายระบบคลาวด์   ประโยชน์ของการย้าย IAM ไปยังระบบคลาวด์ สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ การย้ายระบบ IAM ไปยังคลาวด์มีประโยชน์ที่ชัดเจน ไม่เพียงแต่ลดต้นทุนเพราะพนักงานใช้เวลาน้อยลงในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล แต่แอปพลิเคชัน identity-based ที่พนักงานและลูกค้าใช้งานอยู่ยังสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น   ปัจจุบัน มีความต้องการในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น และแน่นอนว่าหลากหลายบริษัทที่ต้องการให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจและอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้งานผ่านช่องทางต่างๆ ของตน   อาทิ แอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซด์ อย่างเช่น Netflix และ Amazon ที่ลูกค้าสามารถ log in เข้าสู่ระบบและ sign out ออกจากระบบได้อย่างรวดเร็ว…

อินโดนีเซียเพิ่มมาตรการความปลอดภัยสำหรับการประชุม G20

Loading

  กองทัพและตำรวจของอินโดนีเซียวางแผนประจำการเจ้าหน้าที่ราว 18,000 คนเพื่อรักษาความปลอดภัยในช่วงการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศที่สำคัญและชาติที่เศรษฐกิจกำลังเฟื่องฟู 20 ชาติหรือ G20 ที่จะเริ่มขึ้นที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซียในวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน   อินโดนีเซียจะเป็นประธานการประชุม G20 เป็นครั้งแรก ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐประกาศว่าจะเข้าร่วมการประชุมนี้ ส่วนนายกรัฐมนตรีคิชิดะ ฟูมิโอะของญี่ปุ่น กำลังเตรียมการเพื่อเข้าร่วมการประชุมเช่นกัน   เมื่อวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจประมาณ 3,700 นาย รวมตัวกันที่สถานที่จัดงานที่เกาะบาหลี เพื่อจัดพิธีแสดงความสามัคคี 1 สัปดาห์ก่อนเปิดการประชุม G20 ซึ่งกำหนดการประชุมไว้ 2 วัน   ในพิธีดังกล่าว เจ้าหน้าที่เผยให้เห็นยานพาหนะหุ้มเกราะที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยตามข้อสมมุติว่ามีการโจมตีก่อการร้ายครั้งใหญ่ รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ป้องกันไม่ให้โดรนเข้ามาในสถานที่จัดงาน   ด้านหน่วยกองทัพอากาศของอินโดนีเซียที่รับผิดชอบในการสอดส่องเฝ้าระวังทางอากาศมารวมพลเช่นกันที่สนามบินซึ่งบรรดาผู้นำจะเดินทางมาถึง   รัฐบาลอินโดนีเซียจะตื่นตัวเฝ้าระวังขั้นสูงในช่วงการประชุม โดยบังคับใช้ข้อจำกัดการจราจรขนานใหญ่และจำกัดกิจกรรมของประชาชนโดยให้โรงเรียนสอนทางออนไลน์   เมื่อเดือนตุลาคม ความสับสนอลหม่านเกิดขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน อินโดนีเซียกำลังเผชิญกับความท้าทายในการเสริมสร้างความปลอดภัย       —————————————————————————————————————————————- ที่มา…