ตร.เคลียร์หมายจับกว่า 6 หมื่นราย สร้างเชื่อมั่น ‘APEC 2022’

Loading

  ผบ.ตร.โชว์ความพร้อมด้านความปลอดภัยประชุม APEC 2022 ระดมกวาดล้างอาชญากรรมทั่วประเทศครั้งใหญ่ จับผู้ต้องหาคดียาเสพติด และอาวุธปืน หมายจับค้างเก่า กว่า 60,000 ราย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นานาชาติ   วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) พร้อมด้วยพล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผบ.ตร. พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร. และตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงผลระดมกวาดล้างอาชญากรรม ระหว่างวันที่ 10 ต.ค.- 8 พ.ย.65 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับนานาชาติและประชาชนก่อนการประชุมเอเปค 2022   พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีระดมกวาดล้างปราบปรามผู้กระทำความผิดที่ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนเถื่อน อาวุธปืนสงคราม ยาเสพติด และหมายจับค้างเก่า ก่อนที่จะมีการจัดการประชุมผู้นำ APEC ปลายเดือนนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน โดยมีการระดมกวาดล้างในห้วงระหว่างวันที่ 10 ต.ค. – 8…

อังกฤษปูพรมตรวจเซิร์ฟเวอร์ทั่วประเทศ

Loading

  ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของสหราชอาณาจักร (NCSC) ได้ทำการตรวจหาช่องโหว่ในเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดที่มีในประเทศเพื่อประเมินศักยภาพด้านการป้องกันไซเบอร์ในภาพรวม   NCSC ใช้เครื่องมือสแกนที่มีฐานบนคลาวด์ ในเซิร์ฟเวอร์ที่มีโดเมน scanner .scanning .service .ncsc .gov .uk  เครื่องมือสแกนนี้จะค่อย ๆ เพิ่มระดับความซับซ้อนในการสแกนขึ้นเรื่อย ๆ คล้ายกับวิธีที่บริษัทไซเบอร์ใช้   เอียน เลวี (Ian Levy) ผู้อำนวยการด้านเทคนิกของ NCSC เผยความจำเป็นที่ต้องมีการปูพรมตรวจเซิร์ฟเวอร์ทั่วประเทศในครั้งนี้ ก็เพราะว่าต้องการทำความเข้าใจรูปแบบและประเภทความเสี่ยงจากภัยทางไซเบอร์ที่มีต่อสหราชอาณาจักร   ทั้งนี้ NCSC ชี้ว่าในการสแกนครั้งนี้ ทางหน่วยงานจะเก็บข้อมูลผู้ใช้แค่ในระดับพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่อยู่เว็บ วันและเวลาของการขอข้อมูล และที่อยู่ IP   ทาง NCSC ให้ความมั่นใจอีกว่าข้อมูลที่เก็บโดยไม่ได้ตั้งใจจะถูกลบออกไปทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้มีความผิดพลาดซ้ำสองอีก และเป็นการสร้างความโปร่งใสให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจะมีการเปิดเผยวัตถุประสงค์และขอบเขตของระบบสแกนในอนาคต และจะมีการตรวจสอบกรณีมีการรายงานเกี่ยวกับการกิจกรรมที่มิชอบ   ประชาชนสามารถเลือกที่จะไม่ให้ NCSC มาสแกนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองได้โดยการส่งอีเมลไปยังหน่วยงาน     ที่มา TechRadar      …

สิ่งที่ห้ามโหลดใต้ท้องเครื่อง และสิ่งที่ควรระวังในการโหลดใต้ท้องเครื่องสำหรับนักท่องเที่ยว

Loading

  สิ่งที่ห้ามโหลดใต้ท้องเครื่อง และสิ่งที่ควรระวังในการโหลดใต้ท้องเครื่องสำหรับนักท่องเที่ยว โดยเราได้รวบรวมสิ่งที่ต้องห้าม และสิ่งที่ควรติดไว้กับกระเป๋าขึ้นเครื่องบินไว้ด้วย หลังช่วงนี้และตลอดช่วงปลายปีหลายท่านจะท่องเที่ยวผ่านทางเครื่องบินเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ห้ามโหลดใต้ท้องเครื่อง และสิ่งที่ควรระวังในการโหลดใต้ท้องเครื่องสำหรับนักท่องเที่ยว   Image : บมจ. ท่าอากาศยานไทย   สิ่งที่ห้ามโหลดใต้ท้องเครื่อง –  อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายเป็นอาวุธ –  สารอันตราย วัตถุอันตราย –  ของเหลวเกินกำหนด –  PowerBank (โดยให้พกติดตัวขึ้นเครื่องบิน) –  สิ่งที่ควรพกติดตัวขึ้นเครื่องบิน ไม่ควรโหลดใต้ท้องเครื่อง –  Notebook , กล้องถ่ายรูป , แท็บเล็ต , เครื่องเล่นเกม (โดยให้พกติดตัวขึ้นเครื่องบิน) –  อุปกรณ์ชาร์จมือถือ ควรพกติดตัวหากมีเหตุฉุกเฉินก็สามารถชาร์จและใช้ได้ –  เอกสารสำคัญ หาก ตม.ถามเพิ่ม ยังสามารถแสดงหลักฐานการเดินทางเพิ่มเติมได้ –  บาร์โค้ดกระเป๋าเก่า หากติดอยู่ควรลอกออกทิ้ง ป้องกันการถูกส่งไปยังที่อื่น   ตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ AOT    …

เริ่มปีหน้า ยืนยันตัวตน ก่อนฝากเงิน แบงค์ชาติเพิ่มทางเลือก ใช้ OTP

Loading

  แบงค์ชาติเปลี่ยนใหม่ ปรับขั้นตอนให้ง่ายขึ้นก่อนฝากเงินที่ตู้ ผู้ใช้ต้องยืนยันตัวตนผ่าน OTP เริ่ม 1 มิ.ย. ปีหน้า   หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยออกกฎเข้ม ที่จะให้ผู้ทำธุรกรรมจะต้องเสียบบัตร Debit หรือบัตร Credit และต้องใส่รหัส PIN ก่อนการฝากเงินผ่านตู้ ส่อแววไปไม่รอด   เพราะดูได้จากกระแสตอบรับจากประชาชน ที่ให้เหตุผลว่าเหมือนผลักภาระไปให้ผู้ใช้ สร้างความยุ่งยาก อาจทำให้การทำธุรกรรมนั้นล่าช้าไปกว่าเดิม   จึงได้หาแนวทางใหม่อีกครั้ง โดยร่วมมือกับกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพิ่มวิธีการยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP (One Time Password) เป็นทางเลือกให้กับประชาชน   ผู้ฝากเงินผ่านตู้จะต้องกรอกหมายเลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือเพื่อรับรหัส OTP ก่อนทำธุรกรรมฝากเงิน ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกให้ประชาชนสามารถใช้วิธีการแสดงตัวตนจากโทรศัพท์มือถือที่มีอยู่ได้สะดวกและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม   โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป และในระหว่างการเปิดใช้งานธนาคารเผยว่าจะร่วมพัฒนาและเพิ่มทางเลือกอื่น ๆ เข้ามาซับพอร์ตผู้ใช้มากขึ้น   ขั้นตอนการยืนยันตัวตนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการฟอกเงิน , ค้ายาเสพติด หรือก่อการร้ายที่เกิดจากการธุรกรรมผ่านตู้ ATM,…

ภัยจากการถูกเก็บดีเอ็นเอ (1)

Loading

  ปัจจุบัน ภัยจากการรั่วไหลของข้อมูลมาเป็นอันดับต้น ที่เป็นปัญหาในเมืองไทยตอนนี้ก็คือภัยจากคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่ามาจากเจ้าหน้าที่รัฐแอบนำข้อมูลไปขาย ใหญ่กว่านั้นก็เป็นระดับภูมิภาคและประเทศ วันนี้มีการเก็บสะสมข้อมูลดีเอ็นเอและลักษณะทางชีวภาพของเผ่าพันธุ์ทั่วโลก บ้านเมืองใดไม่ระวังก็อาจจะเผชิญภัยด้านความมั่นคงได้ในอนาคต   เดือนตุลาคม 2018 พลตรีอีกอร์ คิริลอฟ ผู้บัญชาการของกองบัญชาการพิทักษ์ป้องกันด้านรังสี เคมี และชีวภาพของรัสเซีย เปิดโปงเครือข่ายห้องแล็บของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายแห่งใกล้ชายแดนรัสเซียและจีน เพื่อเก็บข้อมูลสารพันธุกรรม (Deoxyribonucleic acid หรือ DNA) ของผู้คนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่ารัสเซีย จีน คาซัค คีร์กีซ มองโกล ตาตาร์ ทาจิก อุซเบก ฯลฯ รัสเซียตั้งข้อสังเกตว่า การเข้ามาสะสมข้อมูลดีเอ็นเอของผู้คนจำนวนมาก สหรัฐฯ อาจจะเข้ามาสร้างอาวุธชีวภาพทำลายผู้คนทางแถบนี้ได้   หลังจากโซเวียตแตกเมื่อ ค.ศ.1991 สหรัฐฯ ก็พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนด้านการวิจัยทางชีวภาพกับอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตหลายแห่ง หนึ่งในหลายโครงการของสหรัฐฯก็คือ โครงการลดภัยคุกคามทางชีวภาพ นันน์-ลูการ์ สหรัฐฯ อ้างว่า โครงการนี้ป้องกันไม่ให้การพัฒนาอาวุธชีวภาพรั่วไหล แต่รัสเซียส่งคำเตือนไปยังสาธารณรัฐทั้งหลายมาโดยตลอด ว่าความร่วมมืออย่างนี้เป็นภัยคุกคามต่อรัสเซียและเผ่าพันธุ์ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง   สำนักงานการลดภัยคุกคามด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ใช้เงินอีก 102…

‘พฤติกรรมดิจิทัล’เป้าโจมตี อาชญากรไซเบอร์ – จับตา ‘ฟิชชิ่ง’ ระบาดหนักในไทย!

Loading

  พฤติกรรมดิจิทัลแบบใหม่ คือ “เป้าหมายโจรไซเบอร์” แคสเปอร์สกี้ เผยตัวเลขการตรวจพบ “ฟิชชิ่งการเงิน” มากกว่า 1.6 ล้านรายการในอาเซียน และ “1.2 แสนรายการ” ในไทย   การระบาดครั้งใหญ่ได้เร่งการใช้งานดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างพฤติกรรมทางดิจิทัลใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพและอื่น ๆ อาชญากรไซเบอร์ก็ใช้ประโยชน์จากกระแสนี้และกำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนโดยเฉพาะ   ผู้ใช้งานระบบการชำระเงิน ร้านค้าออนไลน์ และธนาคารออนไลน์เป็นเป้าหมายด้านการเงินที่สำคัญสำหรับฟิชเชอร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้ แสดงให้เห็นว่ามีการตรวจพบและบล็อกการโจมตีฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากถึง 1,604,248 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   สัดส่วนการตรวจจับสูงสุดแบ่งเป็นการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน 840,254 รายการ รองลงมาคือร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 621,640 รายการ และธนาคารออนไลน์ 142,354 รายการ   ข้อมูลข้างต้นมาจากข้อมูลที่ไม่ระบุชื่อผู้ใช้โดยอิงจากการทริกเกอร์องค์ประกอบที่กำหนดในระบบ Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ คอมโพเนนต์จะตรวจจับเพจทั้งหมดที่มีเนื้อหาฟิชชิ่งที่ผู้ใช้พยายามเปิดโดยคลิกลิงก์ในข้อความอีเมลหรือบนเว็บที่ลิงก์ไปยังเพจที่มีอยู่ในฐานข้อมูลแคสเปอร์สกี้   ฟิชชิ่ง คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์…