รัฐบาลลอนดอนมีแผนที่จะออกกฎหมายใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อพยพที่เดินทางข้ามช่องแคบอังกฤษ เข้ามาอยู่อาศัยในสหราชอาณาจักร ขณะที่รัฐบาลพยายามควบคุมจำนวนคน ซึ่งหลั่งไหลเข้าประเทศจากชายฝั่งทางตอนใต้ ด้วยเรือขนาดเล็กมากขึ้น
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ว่า นายกรัฐมนตรีริชี ซูแน็ก ผู้นำสหราชอาณาจักร ประกาศแผนยุทธศาสตร์ 5 ด้านใหม่ ในการจัดการกับการอพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย รวมถึงแผนเร่งติดตามการกลับมาของผู้แสวงหาที่ลี้ภัยชาวแอลเบเนีย และสะสางคดีค้างดั้งเดิมของผู้ลี้ภัยเกือบ 150,000 คดี ภายในสิ้นปีหน้า โดยเพิ่มจำนวนคนทำคดีเป็น 2 เท่า
UK prime minister Rishi Sunak has pledged to curb the record number of migrants coming to Britain in small boats across the English Channelhttps://t.co/OcEGV3F5of
— Financial Times (@FinancialTimes) December 13, 2022
“หากคุณเข้าสหราชอาณาจักรมาอย่างผิดกฎหมาย คุณจะไม่สามารถอยู่ที่นี่ได้” ซูแน็ก กล่าวกับรัฐสภาสหราชอาณาจักร “ในทางกลับกัน คุณจะถูกควบคุมตัว และถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศของคุณ หรือประเทศปลอดภัยที่พิจารณาคำร้องขอลี้ภัยของคุณอย่างรวดเร็ว”
"We now have a new deal with the French… that is going to make a difference"
Speaking from the G20 summit in Bali, PM Rishi Sunak says he's "confident that we can get the numbers down" on people crossing the English Channel in small boatshttps://t.co/2uDxCzdejs pic.twitter.com/b8UQRKCucK
— BBC News (UK) (@BBCNews) November 14, 2022
ซูแน็กกล่าวว่า หน่วยงานใหม่จะถูกตั้งขึ้นเพื่อรับมือกับการข้ามพรมแดน และในอนาคต กลุ่มผู้อพยพจะอาศัยอยู่ในสวนสาธารณะร้าง, หอพักนักเรียนเก่า และค่ายทหารกองเกิน แทนที่จะเป็นโรงแรม
ด้านนางซูเอลลา บราเวอร์แมน รมว.มหาดไทยสหราชอาณาจักร เรียกคลื่นผู้อพยพเข้ามาใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าเป็น “การบุกรุก” และเรียกผู้อพยพจำนวนมากว่าเป็น “อาชญากร” ส่งผลให้เกิดการโต้ตอบอย่างไม่พอใจจากนายกรัฐมนตรีอีดี รามา ผู้นำแอลเบเนีย
ทั้งนี้ การประกาศดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสมาชิกพรรคอนุรักษนิยมของรัฐสภา ที่กลัวว่าจะพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
อย่างไรก็ตาม เซอร์เคียร์ สตาร์เมอร์ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคแรงงาน กล่าวว่า ครั้งล่าสุดที่รัฐบาลเปลี่ยนระบบตรวจคนเข้าเมือง พวกเขาทำให้สถานการณ์แย่ลง ขณะที่องค์กรการกุศลบางแห่งระบุว่า ปัญหาดังกล่าวจะมีอยู่ต่อไป จนกว่ารัฐบาลจะอนุมัติคำขอลี้ภัยนอกสหราชอาณาจักร.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES
—————————————————————————————————————————————————————————————–
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ 14 ธ.ค.65
Link : https://www.dailynews.co.th/news/1789865/