ทำไมข้อมูลถึงเป็นสิ่งมีค่า ? ทำไมยุโรปต้องออกกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำไมองค์กรธุรกิจที่ปล่อยข้อมูลหลุดถึงต้องโดนปรับหลายพันล้าน บทความนี้มีคำตอบครับ
Techhub อยากพาทุกคนเข้าใจเรื่อง Darknet ตลาดค้าข้อมูล ที่สร้างรายได้ให้กับใครก็ได้สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวมาได้ นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมเราถึงมักได้ยินรายงานข่าวเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลจากบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Twitter , Facebook และอื่น ๆ
ข้อมูลใน Darknet เปรียบเสมือนกับสินค้าถูกกฏหมายอื่น ๆ มีห่วงโซอุปทาน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้บริโภค ซึ่งจะเชื่อมโยงกับกันหว่างองค์กรอาชญากรรมหลายแห่ง
จุดเริ่มส่วนใหญ่จะมาจากแฮกเกอร์ที่สามารถหาช่องโหว่ภายในองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นั้นเพื่อขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร และหมายเลขประกันสังคม รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ (อันนี้เรียกผู้ผลิต)
เมื่อได้ข้อมูลมา ส่วนใหญ่แล้วแฮกเกอร์จะไม่ได้เป็นคนขายข้อมูลนั้นเอง ข้อมูลจะถูกส่งต่อให้กับผู้ค้าส่งข้อมูล และถูกส่งไปยังผู้จำหน่ายข้อมูลรายย่อย สุดท้าย ข้อมูลจะถูกซื้อโดยมิจฉาชีพที่ต้องการนำข้อมูลนั้นไปเพื่อทำการฉ้อโกงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฟิชชิ่ง หรือการหลอกให้โอนเงิน โดยเฉพาะกับแก๊งคอลเซนเตอร์ที่เราเจอกันอยู่ทุกวันนี้
การค้าข้อมูลที่ถูกขโมยระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้บริโภคนี้เปิดใช้งานโดย Darknet ซึ่งเราอาจคุ้นเคยกันในชื่อ DarkWeb หรือเว็บมืด มันเป็นเว็บไซต์ที่คล้ายกับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทั่วไป แต่หากต้องการจะเข้า จะต้องเบราว์เซอร์พิเศษ เช่น Tor browser ที่จะไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ใช้ และต้องมีรหัสอนุญาตเท่านั้น จะสุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปไม่ได้ แน่นอนว่า หากใครจะเป็นสมาชิก ก็ต้องได้รับเชิญจากคนภายในอย่างเดียว
มีการค้นพบผู้ค้าหลายพันรายที่ขายข้อมูลที่ถูกขโมยหลายหมื่นรายการ ใน Darknet มากถึง 30 แห่ง และผู้ค้าเหล่านี้มีรายได้มากกว่า 140 ล้านดอลลาร์ในช่วงแปดเดือนที่ผ่านมา
Silk Road ตลาด Darknet ที่มีชื่อเสียง เกิดขึ้นในปี 2554 มีข้อกำหนดว่าต้องใช้ Tor browser ในการเข้าเว็บเท่านั้น และช่วงนั้นที่ Bitcoin กำลังดัง ทำให้มันกลายเป็นตลาดที่ได้รับความนิยมสูงในขณะนั้น แต่สุดท้ายก็ไม่รอด เพราะทางการสหรัฐสามารถแทรกซึมเข้าไป Silk Road และทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้ดูแลระบบสำเร็จ ซึ่งทำให้สายลับรับรู้ข้อมูลวงในเกี่ยวกับ Silk Road และสืบเสาะจนเข้าถึงข้อมูลผู้ก่อตั้งเว็บคือ Ross William Ulbricht
William ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตทันทีโดยไม่รอลงอาญา แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ตลาด Darknet จบลง ปัจจุบันมีตลาดหลายแห่งเกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างที่หายไป (ยิ่งกว่า Hydra อีกนะ ตัด 1 หัว แต่ งอกเพิ่มอีกเป็น 10 หัวเลย) และด้วยสถานการณ์ที่เป็นแบบนี้ มันได้สร้างระบบนิเวศที่เจริญรุ่งเรืองโดยแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยได้อย่างมาก
หนึ่งในตลาดที่มีมูลค่ามากที่สุดชื่อว่า Agartha มีผู้ค้ามากถึง 302 ราย มีการขายข้อมูลมากถึง 237,512 รายการ มีมูลค่าตลาดมากกว่า 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 พันกว่าล้านบาท และยังมีตลาดอื่น ๆ อีกกว่า 30 ตลาด ซึ่มีมูลค่ารวม ๆ กันเกือบ ๆ 5 พันล้านบาท
Darknet เหล่านี้ยากที่จะขัดขวางโดยตรง แต่เชื่อกันว่า ความก้าวหน้าในปัญญาประดิษฐ์ สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สถาบันการเงิน และอื่น ๆ เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลที่ถูกขโมยมาเพื่อกระทำการฉ้อโกง สิ่งนี้สามารถหยุดการไหลของข้อมูลที่ถูกขโมยผ่านห่วงโซ่อุปทานและ มันจะสามารถทำลายระบบเศรษฐกิจใต้ดินที่ได้รับประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลได้ในที่สุด
ที่มาข้อมูล
https://www.fastcompany.com/90819283/new-research-shows-that-darknet-markets-net-millions-selling-stolen-personal-data
https://arstechnica.com/tech-policy/2022/12/darknet-markets-generate-millions-in-revenue-selling-stolen-personal-data/
https://en.wikipedia.org/wiki/Ross_Ulbricht
—————————————————————————————————————————————————-
ที่มา : Techhub / วันที่เผยแพร่ 9 ธ.ค.65
Link : https://www.techhub.in.th/darknet-information-marketplace/