ญี่ปุ่นตรวจสอบข้อมูล จีนตั้ง “สถานีตำรวจนอกอาณาเขต”

Loading

  รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นประเทศล่าสุด ซึ่งกำลังตรวจสอบข้อมูลว่า จีนแอบเข้ามาตั้ง “สถานีตำรวจ” ในประเทศ ด้านรัฐบาลปักกิ่งยืนกรานปฏิเสธ   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ว่า นายฮิโรคาซุ มัตสึโนะ โฆษกคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวในช่วงหนึ่งของการแถลงประจำวันพฤหัสบดี ว่า รัฐบาลโตเกียวกำลังตรวจสอบรายงานของ “เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ส” ซึ่งเป็นองค์กรอิสระสังเกตการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ในเอเชีย แต่มีฐานปฏิบัติการอยู่ในสเปน เกี่ยวกับ “สถานีสาขาต่างประเทศ” ของสำนักงานตำรวจจีน และหนึ่งในนั้นอยู่ที่ญี่ปุ่น   Japan to look into group's report of secret Chinese police stations https://t.co/lgj3MwKdAf pic.twitter.com/8Smbbg0Omm — Reuters (@Reuters) December 22, 2022   ในเบื้องต้น กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินการตามช่องทางการทูตไปยังรัฐบาลปักกิ่ง “เพื่อแสดงความวิตกกังวล” ต่อรายงานงานดังกล่าว ซึ่งระบุด้วยว่า จีนได้ดำเนินการในอย่างน้อย…

ผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์อินเดียพบช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์ Hikvision ที่นำไปสู่การควบคุมระบบ CCTV ได้

Loading

  ซูวิก กันดาร์ (Souvik Kandar) และ อาร์โก ดาร์ (Arko Dhar) แห่ง Redinent Innovations บริษัทความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ CCTV และ IoT เผยช่องโหว่ร้ายแรงบนผลิตภัณฑ์ของ Hikvision   ช่องโหว่ตัวนี้มีชื่อเรียกว่า CVE-2022-28173 เป็นช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้าควบคุมอุปกรณ์ตัวปัญหาจากระยะไกลได้ โดยพบอยู่บนอุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สาย (Wireless Bridge) ที่ใช้สำหรับลิฟต์และระบบกล้องวงจรปิด   ในขณะนี้มีการออกแพตช์เฟิร์มแวร์สำหรับผลิตภัณฑ์ DS-3WF0AC-2NT และ DS-3WF01C-2N/O แล้ว อีกทั้งยังมีการแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางศูนย์เผชิญเหตุทางคอมพิวเตอร์อินเดีย (CERT India) ด้วย นำไปสู่การออกแพตช์แก้ในต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา   ดาร์ชี้ว่าผู้ไม่หวังดีสามารถใช้ช่องโหว่นี้ในการเข้าควบคุมอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ไปสู่การแฮกระบบ CCTV ทั้งระบบ โดยผ่านการเชื่อมต่อจากระบบเครือข่ายภายในองค์กร หรือแม้แต่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายนอกได้ หากปล่อยให้เชื่อมต่อไป   โดยดาร์ได้ลองใช้ Shodan และ Censys ในการค้นหาอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่นี้บนอินเทอร์เน็ต ก็พบว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตภายนอกอยู่จริง ๆ และอาจเป็นเป้าได้ หากยังไม่ได้รับการแพตช์…

ระวัง! คำพูดต้องห้ามในสนามบิน แม้พูดเล่นก็ผิด

Loading

  ระวัง! คำพูดต้องห้ามในสนามบิน แม้พูดเล่นก็ผิด สนามบินหรือในเครื่องบิน เป็นสถานที่ที่มีความเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัยสูง ดังนั้นการกระทำหรือคำพูดต่าง ๆ ที่สื่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปในทางที่เป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินจึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องของคำพูดที่แม้ไม่ระวังหรือคิดว่าพูดเล่น แต่นั่นอาจทำให้คุณทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นลองตามเราไปดูกันว่า คำพูดต้องห้ามในสนามบิน มีอะไรบ้าง และจะมีบทลงโทษอย่างไรหากฝ่าฝืน   คำที่ไม่ควรพูดเล่นในสนามบิน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้ข้อมูลที่เป็นการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ทั้งคำพูด ลักษณะท่าทาง หรือการสื่อสาร ดังนี้   คำพูดที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นเหตุให้ผู้อื่นตื่นตกใจ 1. ระเบิด (Bomb, Explosive) เช่น พูดว่า มีระเบิด, เปิดกระเป๋าระวังเจอระเบิด, จะระเบิดสนามบิน, จะระเบิดเครื่องบิน 2. การก่อการร้าย (Terrorist Attack) เช่น พูดว่า นี่คือการก่อการร้าย 3. จี้เครื่องบิน ปล้นเครื่องบิน (Hijack) เช่น พูดว่า นี่คือการจี้เครื่องบิน, Hijack  …

Space Race: จับตาการแข่งขันด้านอวกาศปี 2023 ประเทศไหนมีโครงการน่าสนใจบ้าง

Loading

  การแข่งขันด้านอวกาศเป็นที่สนใจของนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจเสมอมา เพราะมันบ่งบอกถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะกลายมาเป็น ‘บารมี’ และ ‘เครดิต’ ให้ชาติอื่นเกรงใจ โดยเฉพาะชาติที่เป็นคู่ขัดแย้งกัน   ไปสำรวจดูว่าในปี 2023 มีโครงการด้านอวกาศอะไรบ้างที่น่าจับตา     ในปี 2023 ทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโครงการอวกาศใหม่ ๆ ที่ออกมาแข่งขันกันอย่างน่าสนใจ เริ่มจากบริษัท SpaceX ของมหาเศรษฐี อีลอน มัสก์ ที่จะมี 2 โครงการใหญ่เป็นจุดเด่นของปีออกมาให้ตื่นเต้นกัน   โครงการแรกคือ ‘โพลาริส ดอว์น’ ที่จะส่งชาวอเมริกันที่เป็นบุคคลธรรมดา 4 คน ชาย 2 หญิง 2 ขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นเวลานาน 5 วันกับยานลูกเรือดรากอน   ส่วนโครงการที่ 2 ก้าวไปไกลกว่านั้นมาก นั่นคือส่งมหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น คือ ยูซากุ มาเอซาวา” (前澤 友作) พร้อมผู้โดยสารที่ได้รับการคัดเลือกเป็นพิเศษอีก…

ปปง. ธปท. สมาคมธนาคารไทย เพิ่มวิธียืนยันตัวตนฝากเงินผ่านเครื่อง CDM ด้วยรหัส OTP เริ่ม 1 มิ.ย. 66 จริงหรือ?

Loading

  ตามที่มีข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องปปง. ธปท. สมาคมธนาคารไทย เพิ่มวิธียืนยันตัวตนฝากเงินผ่านเครื่อง CDM ด้วยรหัส OTP เริ่ม 1 มิ.ย. 66 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง   ตามที่มาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ได้กำหนดให้การทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น ฝากเงินผ่านเครื่องรับฝากอัตโนมัติ (CDM) ต้องมีการแสดงตนของผู้ทำธุรกรรมเพื่อให้มีความปลอดภัย สร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบการเงิน และเป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ภาคธนาคารจึงดำเนินการตามข้อกำหนดดังกล่าวโดยแนวทางหนึ่ง คือให้ผู้ทำธุรกรรมต้องแสดงตนโดยใช้บัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือบัตรเอทีเอ็ม   อย่างไรก็ตาม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ไม่มีบัตรดังกล่าว ให้สามารถทำรายการฝากเงินที่เครื่องรับฝากเงิน CDM ได้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย จึงได้หารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางการยืนยันตัวตนด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติม โดยมีหลักการว่าต้องไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร และมีทางเลือกในการยืนยันตัวตนได้หลายรูปแบบ   จากการหารือร่วมกันทั้งสามหน่วยงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ทุกรายได้ข้อสรุปร่วมกันว่าควรเพิ่มวิธีการยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP (One Time Password) เป็นทางเลือกให้กับประชาชน โดยผู้ฝากเงินผ่านเครื่อง…

แฮ็กเกอร์สุดแสบ เจาะระบบกล้องวงจรปิดในบ้านกว่า 400,000 หลัง ล้วงคลิปส่วนตัวไปขาย

Loading

  หนุ่มไอทีชาวเกาหลีใช้ความรู้ในทางที่ผิด แอบล้วงไฟล์วิดีโอและภาพนิ่งจากกล้องวงจรปิดตามบ้านหลายแสนตัว จากนั้นก็นำออกมาขาย   วานนี้ (20 ธ.ค. 2565) ตำรวจเกาหลีใต้จับกุมผู้ต้องหาชายวัย 30 ปีเศษ หลังจากสืบพบว่าเขาใช้ความเชี่ยวชาญด้านไอทีแฮกเข้าระบบกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งตามที่พักอาศัยได้มากกว่า 400,000 หลังคาเรือน จากนั้นก็พยายามนำไฟล์ซึ่งมีทั้งภาพนิ่งและคลิปวิดีโอ ไปขาย   ตำรวจระบุว่า ผู้ต้องหาซึ่งระบุเพียงชื่อสกุลว่า ลี ได้ใช้ความรู้ด้านระบบรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีไอที เจาะระบบเข้าไปขโมยไฟล์ภาพและคลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิดตามที่พักอาศัยทั้งหมด 404,847 แห่ง ซึ่งติดตั้งอยู่ในอาคารอพาร์ตเมนต์คอมเพล็กซ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งหมด 638 อาคาร โดยช่วงเวลาที่ลงมืออยู่ระหว่างเดือน ส.ค.-พ.ย. 2564   ตำรวจชี้ว่า ลี ใช้โปรแกรมเจาะระบบอัตโนมัติ ทำให้เขาสามารถใช้เราเตอร์ไร้สายจำนวน 10 ตัวเจาะเข้าเซิร์ฟเวอร์ของระบบกล้องวงจรปิดในอาคารอพาร์ตเมนต์เหล่านั้น ซึ่งทำให้เขาเข้าถึงตัวกล้องและระบบควบคุมกล้องในห้องชุดจำนวน 404,847 ห้องด้วยกัน หลังจากนั้น เขาก็พยายามจะนำไฟล์ที่ขโมยได้ออกไปขายให้บุคคลที่ 3 แต่ไม่มีรายละเอียดระบุว่า เขาสามารถขายได้สำเร็จหรือไม่   ตำรวจเกาหลีใต้ เผยว่า ลี เคยมีประวัติกระทำผิดด้านการแอบเจาะเข้าระบบและโจมตีทางไซเบอร์มาแล้ว ขณะที่ ลี…