อินเดียกำหนดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรองรับระบบ NavIC ระบบดาวเทียมระบุพิกัดของอินเดียเอง

Loading

  พื้นที่การใช้งานระบบดาวเทียม NavIC   อินเดียได้ออกข้อกำหนดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์พกพาอื่นที่จะทำตลาดในอินเดียให้รองรับระบบนำทางด้วยดาวเทียมของอินเดียที่ชื่อ NavIC (Navigation with Indian Constellation) (หรือก็คือระบบ GPS ที่เป็นของอินเดียเอง) เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2023 เป็นต้นไป   มาตรการผลักดันการใช้งานระบบ NavIC ล่าสุดที่กำหนดให้ผู้ผลิตชิปและผู้ผลิตอุปกรณ์พกพาสำหรับขายในอินเดียให้ผนวกชิปรองรับการใช้งานกับดาวเทียม NavIC นั้นย่อมเพิ่มโจทย์ในการทำงานให้บริษัทไอที ทั้งเรื่องต้นทุนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งจะต้องทำงานแข่งกับเวลาให้ทันเดือนมกราคมปีหน้า   รายงานข่าวระบุว่าในการประชุมแบบปิดในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ตัวแทนของ Apple, Xiaomi และ Samsung ซึ่งเข้าร่วมการประชุมต่างก็แสดงความเห็นคัดค้านกฎใหม่นี้ ด้วยเหตุผลด้านต้นทุนและการแจ้งข้อกำหนดที่กระชั้นชิดมีเวลาทำงานที่น้อยเกินไป ที่สำคัญเรื่องนี้กระทบแผนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และแผนการตลาดของหลายบริษัท ทั้งนี้ตัวแทน Samsung ระบุว่าในตอนนี้บริษัทวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าไปถึงปี 2024 แล้ว   กลุ่มผู้ผลิตสมาร์โฟนต้องการให้ทางการอินเดียยืดระยะเวลาบังคับใช้กฎใหม่นี้ไปเป็นปี 2025 เพื่อให้มีเวลาพัฒนาฮาร์ดแวร์รวมทั้งทำการทดสอบให้พร้อมใช้งานจริง ซึ่งทำให้การหารือเรื่องนี้ระหว่างกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์กับรัฐบาลอินเดียยังไม่ได้ข้อสรุปที่ลงตัวในขณะนี้และจะมีการนัดประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกันอีกครั้ง   NavIC เป็นระบบระบุพิกัดโดยดาวเทียม 7 ดวงของ ISRO (Indian Space Research Organisation) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยด้านอวกาศของรัฐบาลอินเดีย…

ออสเตรเลีย ยกเครื่องกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ หลังถูกแฮ็กข้อมูล

Loading

  นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย สั่งยกเครื่องกฎหมายความเป็นส่วนตัวใหม่ หลังบริษัทโทรคมนาคมโดนแฮ็กฐานข้อมูลครั้งใหญ่ ซึ่งมีฐานลูกค้ากว่า 40% ของประชากร   หลังจากการรั่วไหลของข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย ทำให้รัฐบาลออสเตรเลียกำลังวางแผนที่จะเข้มงวดขึ้นในข้อกำหนดสำหรับการเปิดเผยการโจมตีทางไซเบอร์   แอนโธนี อัลบานีส (Anthony Albanese) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เผยว่า รัฐบาลตั้งใจที่จะยกเครื่องกฎหมายความเป็นส่วนตัว เพื่อให้บริษัทใดก็ตามที่ประสบปัญหาการแฮกข้อมูล จำเป็นต้องแบ่งปันรายละเอียดกับธนาคารเกี่ยวกับลูกค้าที่อาจได้รับผลกระทบเพื่อลดการฉ้อโกง   ภายใต้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของออสเตรเลียในปัจจุบัน บริษัทต่าง ๆ จะถูกป้องกันมิให้เปิดเผยรายละเอียดดังกล่าวเกี่ยวกับลูกค้าของตนกับบุคคลที่สาม   การประกาศนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเกิดการแฮกข้อมูลครั้งใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อ Optus บริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของออสเตรเลีย แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนจำนวนมากจากลูกค้า Optus ได้มากถึง 9.8 ล้านราย หรือเกือบ 40% ของประชากรออสเตรเลีย ข้อมูลที่รั่วไหล ได้แก่ ชื่อ วันเกิด ที่อยู่ ข้อมูลติดต่อ และในบางกรณี หมายเลขใบอนุญาตขับรถหรือหนังสือเดินทาง   การแฮ็กอาจเป็นผลมาจากอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (Application Programming Interface: API) ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างไม่เหมาะสมซึ่ง Optus พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการให้ตัวเลือกการตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัยแก่ผู้ใช้…

วิธีรับมือกับ “ข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บน Google” ป้องกันมิจฉาชีพนำไปใช้

Loading

  ถ้าสงสัยว่ามีข้อมูลส่วนตัวของตัวเองใน Google หรือไม่ ให้ลองพิมพ์ชื่อ หรือเบอร์โทรศัพท์บน Google หากพบก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับ และข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนโลกออนไลน์อาจส่งผลให้มิจฉาชีพไปใช้และเกิดอันตรายได้   ตัวอย่างข้อมูลอะไรบ้าง? ที่น่ากังวลหากมีอยู่บน Google –  หมายเลขประจำตัวประชาชนของรัฐบาล (ID) , –  เลขที่บัญชีธนาคาร, –  หมายเลขบัตรเครดิต, –  ลายเซ็น, –  รูปภาพเอกสารประจำตัว, –  ข้อมูลติดต่อส่วนบุคคล (ที่อยู่จริง หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่อีเมล)     วิธีง่ายๆที่สามารถตรวจเช็กก็คือ เข้า Google > ลองพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวลงไป เช่น ชื่อ-นามสกุล,บัตรประชาชน และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หากพบเจอ ก็สามารถส่งคำขอให้ Google ลบได้โดยวิธีดังนี้ เข้าลิงก์ Google จะพบหน้าดังนี้     คุณยังสามารถขอให้ Google ลบรูปภาพที่ล้าสมัยที่พบใน images.google.com ได้…

รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง

Loading

    กลโกงมิจฉาชีพที่มักใช้หลอกลวงผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม LINE ทั้งอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ , บัญชีทางการ LINE ปลอม , ชวนสมัครงานหรือลงทุน เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว จนสูญเสียทรัพย์สินมาแล้วหลายรายถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ต้องรู้เท่าทัน แต่มีวิธีตรวจสอบและป้องกันได้ ก่อนตกเป็นเหยื่อ   นับวันกลโกงมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ จนหลายคนเผลอ หลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามปราบปรามและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน   เช่นเดียวกับแอป LINE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในไทยกว่า 53 ล้านคน ได้รวบรวม 5 กลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพใช้บนแพลตฟอร์ม LINE หรือแอบอ้างชื่อบริษัทฯ พร้อมข้อเท็จจริง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ LINE เอาไว้เช็คก่อนเชื่อ ไม่เป็นเหยื่อกลโกง   รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง   1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก LINE ทางโทรศัพท์…

ตำรวจญี่ปุ่นปรับปรุงระบบรับแจ้งเหตุด่วน ให้ประชาชนถ่ายทอดสดเพื่อแจ้งเหตุได้

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่นปรับปรุงระบบรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายสายด่วน 110 (เหมือนกับสายด่วน 191 ของประเทศไทย) โดยเพิ่มระบบรับข้อมูลภาพจากการถ่ายทอดสดโดยประชาชนผู้แจ้งเหตุ รวมทั้งรองรับการอัพโหลดไฟล์ภาพและวีดีโอจากประชาชนผู้แจ้งเหตุได้ด้วย   เดิมทีการรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายนั้นจะเป็นการติดต่อทางโทรศัพท์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องพึ่งการบอกเล่ารายละเอียดเหตุการณ์ต่าง ๆ จากคำพูดของประชาชนผู้โทรเข้าไปเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงระบบรับแจ้งเหตุ   ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องการให้ประชาชนผู้แจ้งเหตุด่วนให้ช่วยถ่ายทอดภาพสด ๆ จากสถานที่เกิดเหตุ ทางตำรวจจะส่งลิงก์ไปทาง SMS สู่สมาร์ทโฟนของผู้แจ้งเหตุให้เชื่อมต่อสัญญาณและส่งภาพจากกล้องสมาร์ทโฟนไปให้ตำรวจดูได้ทันที โดยในระหว่างนั้นการพูดคุยทางโทรศัพท์ก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ประชาชนผู้แจ้งเหตุยังสามารถอัพโหลดภาพหรือวิดีโอที่บันทึกไว้ไปให้ทางตำรวจได้ผ่านลิงก์ดังกล่าวได้ด้วย   ระบบรับแจ้งเหตุด่วน 110 ของญี่ปุ่นที่ปรับปรุงใหม่ให้ประชาชนถ่ายทอดสดจากสถานที่เกิดเหตุให้ตำรวจดูได้นี้จะเริ่มใช้งานจริงในวันที่ 1 ตุลาคม       ที่มา – SoraNews24         ——————————————————————————————————————— ที่มา :       Blognone by ตะโร่งโต้ง               …

“พิพิธภัณฑ์ซีไอเอ” ปรับปรุงและเพิ่มนิทรรศการสายลับใหม่

Loading

  พิพิธภัณฑ์สำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งแอบซ่อนอยู่ในทางเดินของสำนักงานใหญ่ในเมืองแลงลีย์ รัฐเวอร์จิเนีย และยังไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม กำลังเปิดเผยสิ่งประดิษฐ์ใหม่บางอย่าง ที่ถูกปลดออกจากการเป็นความลับของปฏิบัติการที่มีเรื่องราวมากที่สุดของหน่วยสืบราชการลับ นับตั้งแต่การก่อตั้งเมื่อ 75 ปีที่แล้ว   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองแลงลีย์ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ว่า นางจาเนลล์ นีเซส รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ซีไอเอ กล่าวในการนำสื่อเที่ยวชมการจัดแสดงที่ปรับปรุงใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ทางพิพิธภัณฑ์ใช้สิ่งประดิษฐ์เพื่อบอกเล่าเรื่องราว มันเป็นวิธีที่จะแสดงถึงความซื่อตรงและโปร่งใสเกี่ยวกับซีไอเอ ซึ่งบางครั้งมันก็เป็นเรื่องยาก แต่มันผิดปกติอย่างมาก ที่ของบางอย่างถูกปลดออกจากการเป็นความลับอย่างรวดเร็ว   BBC News   โมเดลบ้านพักของนายโอซามา บิน ลาเดน ที่เมืองอับบอตตาบัด ในปากีสถาน ซึ่งซีไอเอจำลองเพื่อใช้วางแผนปฏิบัติการให้กับหน่วยรบพิเศษของสหรัฐ   สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ซึ่งบางอย่างสามารถดูได้ทางออนไลน์ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้าง ที่จะขยายการเข้าถึงสาธารณะและการสรรหาบุคลากรโดยหน่วยงานที่เป็นตำนาน แต่ก็เป็นความลับ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างมากในเรื่องอื้อฉาว เช่นเดียวกับความสำเร็จด้านข่าวกรอง   ตัวอย่างเอกสารเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุวินาศกรรม 9/11 สำหรับรายงานด้านความมั่นคงประจำวัน สมัยประธานาธิบดีจอร์จ…