ไม่ง้อดาวเทียม ใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับไฟป่า ติดกล้อง AI เตือนภัยน้ำท่วม

Loading

  น้ำท่วม และไฟป่า ยังคงเป็นโจทย์ปัญหาที่ทั่วโลกต้องรับมือ ที่ผ่านมาเทคโนโลยีดาวเทียมถูกนำมาใช้ช่วยระบุตำแหน่งจุดเกิดเหตุ และประเมินความเสียหายของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ มากกว่าการป้องกัน   แต่ล่าสุดในเวทีการแข่งขันนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของอิสราเอล ได้เกิดแนวคิดใหม่ในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้เฝ้าระวังภัยธรรมชาติก่อนเกิดเหตุ   Eversense บริษัทสตาร์ทอัพอิสราเอล ได้พัฒนาเซ็นเซอร์กระตุ้นความร้อนที่ใช้ตรวจจับไฟป่าได้ในระยะเริ่ม โดยออกแบบโซลูชันให้ใช้งานง่ายได้ในทุกสภาพอากาศ โดยไม่ต้องบำรุงรักษา   จากเดิมที่ต้องอาศัยกล้องจากดาวเทียม และเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายในการทำงาน โซลูชันสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่จากแผงโซลาร์เซลล์ หรือแหล่งพลังงานภายนอก อีกทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของการเกิดเพลิงไหม้ได้อีกด้วย   โซลูชันนี้กำลังถูกนำไปทดสอบติดตั้งในสถานที่จริง เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงาน และกลายเป็นความหวังที่จะช่วยแก้ปัญหาผลกระทบจากไฟป่าตามฤดูกาลที่จัดการได้ยาก อย่างไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย   ขณะที่บริษัท SighBit ได้ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อตรวจสอบระดับน้ำ โดยอาศัยกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจจับสถานการณ์น้ำที่ในพื้นที่อยู่ในความเสี่ยง และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ถึงเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้น   ระบบของ SightBit เป็นระบบเดียวที่ใช้ฟุตเทจจากกล้องเพื่อตรวจจับรูปแบบน้ำในแบบเรียลไทม์ และคาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นตามมา   โดยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น จะถูกนำไปใช้ในพื้นที่ทางตอนเหนือของอิสราเอลที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดน้ำท่วมในช่วงฤดูหนาวที่มีฝนตกชุก และจัดการปัญหาได้ยากลำบาก   หากทั้ง 2 โครงการผ่านทดสอบการใช้งานจริงแล้วได้ผลดี โอกาสที่จะมีเทคโนโลยีใหม่ จาก AI จัดการกับภัยธรรมชาติก็เป็นไปได้สูงครับ…

โลกระทึก! “อีลอน มัสก์” เตรียมเปิดเน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” ให้เตหะรานใช้ฟรีหลังวอชิงตันไฟเขียว ตำรวจศีลธรรมอิหร่านโดนคว่ำบาตรเซ่นคดี “มาห์ซา อามินี” ตายไปแล้วกว่า 41 โดนจับ 1,200

Loading

  รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ยอดเสียชีวิตสื่อทางการการประท้วงอิหร่านล่าสุดมีไม่ต่ำกว่า 41 คน และถูกจับอีก 1,200 คน ขณะที่อีลอน มัสก์ แถลงวันศุกร์ (23 ก.ย.) ว่า สตาร์ลิงค์จะเริ่มต้นเปิดสัญญาณให้ประชาชนอิหร่านใช้หลังถูกเตหะรานสั่งตัดสัญญาณเป็นวงกว้างหลังวอชิงตันไฟเขียว และสหรัฐฯ ยังสั่งขึ้นบัญชีดำคว่ำบาตรตำรวจศีลธรรมอิหร่านต้นตอการเสียชีวิตของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” หลังดับขณะถูกควบคุมในข้อหาสวมญิฮาบไม่ถูกตามกฎผมไม่กี่ช่อโผล่   รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (24 ก.ย.) ว่า ประธานาธิบดีอิหร่าน อิบราฮิม ไรซี (Ebrahim Raisi) ประกาศวันเสาร์ (24) ว่า เขาจะเดินหน้าใช้ความเฉียบขาดในการจัดการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดหลังเหตุการเสียชีวิตภายใต้เงื้อมมือของตำรวจศีลธรรมอิหร่าน ของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” (Mahsa Amini)   อ้างอิงจาก CNN โดยมารินา เนมัต (Marina Nemat) พบว่า อามานีที่มีรูปลักษณ์ชวนมองเสียชีวิตเนื่องมาจากอามินี ปล่อยช่อผมไม่กี่ช่อให้โลกได้เห็น และผิดกฎเคร่งครัดในการสวมญิฮาบของอิหร่านทันที…

สมาชิก QUAD เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกันจัดการกับภัยทางไซเบอร์

Loading

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ QUAD หรือกลุ่มความร่วมมือด้านความมั่นคง 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการปฏิบัติการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่มีจุดกำเนิดจากภายในดินแดนของแต่ละประเทศ   รัฐมนตรีของทั้ง 4 ประเทศพบกันในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UN General Assembly) ซึ่งถือเป็นวงประชุมใหญ่ที่สุดขององค์การสหประชาชาติ   ในคำแถลงของทั้ง 4 ประเทศยังได้มีการให้คำมั่นว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่สมาชิก QUAD ประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ อาทิ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะที่เป็นหัวใจของความมั่นคงและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก   นอกจากนี้ ประเทศสมาชิก QUAD ยังได้เปิดรับความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ ที่จะมีเนื้อหามุ่งต่อกรกับกับภัยจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ด้วย   ทั้งนี้ การประชุมครั้งต่อไปของ QUAD จะจัดขึ้น ณ กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ในช่วงต้นปี 2023   ที่มา Bloomberg       ——————————————————————————————————————————…

เปิดมาตรการรักษาความปลอดภัย งานรัฐพิธีศพ “ชินโสะ อาเบะ” อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

Loading

ภาพเอเอฟพี   เปิดมาตรการรักษาความปลอดภัย งานรัฐพิธีศพ “ชินโสะ อาเบะ” อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น   วันที่ 27 กันยายนนี้ ญี่ปุ่นจะจัดงาน รัฐพิธีศพ นายชินโสะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่ถึงแก่อสัญกรรม หลังถูกนายเท็ตสึยะ ยามากามิ มือปืนลอบยิงสังหารอย่างอุกอาจ ขณะนายอาเบะลงพื้นที่หาเสียงให้กับพรรคเสรีประชาธิปไตย(แอลดีพี)ที่เขาเคยเป็นหัวหน้าพรรค บริเวณสถานีรถไฟในเมืองนารา เมื่อวันที่ 8 กรกฏาคมที่ผ่านมา   รอยเตอร์   โดยรัฐพิธีศพของนายอาเบะ ที่รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจจัดให้เป็นการเชิดชูเกียรตินายอาเบะ อดีตนากรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของประเทศและมีบทบาทโดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศนั้น จะจัดขึ้นที่สนามกีฬานิปปอน บูโดกัน ในกรุงโตเกียว โดยจะมีแขกเหรื่อวีไอพี ทั้งระดับผู้นำประเทศและผู้แทนรัฐบาลประเทศต่างๆ เดินทางมาร่วมงาน   เอเอฟพี   รัฐพิธีศพนายอาเบะ ที่ถือว่าจะเป็นการจัดรัฐพิธีศพของทางการญี่ปุ่นเพียงครั้ง 2 นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่นนั้น จะมีขึ้นท่ามกลางการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มข้นของทางการญี่ปุ่น โดยแผนการวางมาตรการรักษาความปลอดภัยในงานรัฐพิธีศพครั้งนี้ออกมาคร่าวๆ ระบุว่า ถนนทุกเส้นทางโดยรอบสนามกีฬานิปปอน บูโดกัน สถานที่จัดงาน…

ภัยไซเบอร์กับการเข้าสู่ระบบงานแบบดิจิทัล

Loading

  การโจมตีไซเบอร์ในช่วงโควิด-19   ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดทั่วโลก ปี 2021 เป็นปีที่การโจมตีไซเบอร์เรียกค่าไถ่ (ransomware attack) รุนแรงที่สุด เหตุครั้งแรกมีบันทึกย้อนกลับไปปี 1989 โดยเริ่มมีอาชญากรเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ปี 2006 และแพร่ไปทั่วโลกตั้งแต่ 2011 การเรียกค่าไถ่ไซเบอร์เกิดในทุกประเทศทั้งกับบุคคลทั่วไปและองค์กร หน่วยงานสาธารณูปโภคเช่นไฟฟ้า, ประปา, โรงพยาบาล ล้วนกลายเป็นเป้าหมาย มีหลักฐานว่าโรงพยาบาลบางแห่งถึงกับไม่สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยเพราะไม่สามารถดูประวัติการรักษาที่จำเป็น ไม่กี่ปีมานี้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นเหยื่อก็เช่น Colonial Pipeline (น้ำมัน) Mersk (เดินเรือ) JBS (อาหาร) NBA(กีฬา) เป็นต้น   การเรียกค่าไถ่ไซเบอร์ คือการที่แฮคเกอร์(hacker) แอบส่งซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย(มัลแวร์ – malware) ที่เรียกว่าแรนซัมแวร์ (ransomware) เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์แล้วยึดไฟล์ข้อมูลด้วยการเข้ารหัสไฟล์ (encrypt) คือยึดข้อมูลเป็นตัวประกันด้วยการทำให้เจ้าของไม่สามารถอ่านหรือเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง โดยอาจขู่ว่าจะลบข้อมูลที่เข้ารหัสไว้แล้วทั้งหมดหากไม่ทำตามคำสั่ง แล้วเรียกค่าไถ่สำหรับกุญแจถอดรหัส (decryption key) ปกติจะเรียกค่าไถ่เป็นเงินคริปโตซึ่งจ่ายไปยังกระเป๋าเงินดิจิทัล (digital wallet)ที่ไม่ระบุตัวตนเจ้าของกระเป๋า ช่วงก่อนปี 2015 ค่าไถ่มักเรียกเป็นหลักร้อยหรือหลักพันดอลลาร์ แต่วันนี้ปี…

เอาตัวรอดในเหตุกราดยิง หลักสูตรพื้นฐานที่ต้องมีในโรงเรียน

Loading

  เอาตัวรอดในเหตุกราดยิง หลักสูตรพื้นฐานที่ต้องมีในโรงเรียน   เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2565 แฟนเพจเฟสบุ๊ก ‘โรงเรียนเพลินพัฒนา’ โรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณแขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ เผยแพร่ข้อความและภาพการฝึกเอาตัวรอดในสถานการณ์กราดยิง (Active Shooter) ให้กับนักเรียนระดัับชั้นมัธยมฯ ซึ่งจัดอบรบโดยทีมครูฝึกจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน โดยการฝึกนี้ได้สาธิตให้นักเรียนรู้จักกับอาวุธและเสียงจากอาวุธและฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองในพื้นที่สาธารณะที่เป็นพื้นที่ปิด เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสถานที่ต่างๆ สังคมออนไลน์แห่ชื่นชมและแชร์ต่อจำนวนมาก แนะควรบรรจุหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรพื้นฐานในทุกโรงเรียน   ข้อความระบุว่า สิ่งที่ควรฝึกให้เป็นนิสัย คือการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเฉพาะ บุคคลที่เดินสวนกันไปมา เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นได้เสมอ เราอาจจะเผชิญกับการก่อการร้าย เช่นการกราดยิง หรือไล่ทำร้ายร่างกายก็เป็นได้     สิ่งที่ควรจับสังเกตมีดังนี้   1. การแต่งกายของคนร้าย ส่วนใหญ่จะสะพายกระเป๋า ใส่เสื้อคลุม ที่ดูปกปิด มิดชิด เพื่อซ่อนอาวุธที่นำมา   2. ท่าทางการเดิน จะเป็นการก้าว ระยะสั้นๆ เนื่องจากต้องประคองปืนขณะเดิน   3. สังเกตท่าทางของคนรอบข้าง หากไม่น่าไว้วางใจ…