เครื่องมือใหม่ CMRA แผนที่สภาพอากาศเรียลไทม์ เช็คได้ ก่อนเจอภัยธรรมชาติ

Loading

  ปัจจุบัน สหรัฐฯ กำลังประสบภัยธรรมชาติอย่างหนัก ไม่ว่าคลื่นความร้อนที่รุนแรงจากแคลิฟอร์เนียถึงเท็กซัส อุทกภัยครั้งใหญ่ในรัฐเคนตักกี้และมิสซูรี ไฟป่าในอลาสก้าที่เผาพื้นที่ที่ใหญ่กว่าคอนเนตทิคัต และยังมีไฟป่าอีกหลายร้อยจุด แต่เครื่องมือตัวใหม่นี้ จะทำให้ผู้บริหารของเมืองแต่ละเมือง และผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าใจความเสี่ยงได้ดีขึ้น และสามารถหยืดหยุ่นได้มากหากต้องเผชิญกับความเครียดจากสถานการณ์เหล่านี้ เครื่องมือชุดใหม่นี้สร้างจากรัฐบาลกลาง โดยบริษัททำแผนที่ Esri มันชื่อ Climate Mapping for Resilience and Adaptation (CMRA) ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกับแต่ละเมืองอย่างไรได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งบอกได้ว่าจะเกิดภัยพิบัติอะไรขึ้น แผนที่จะทำงานโดยให้เราใส่ Location ของเมืองที่เราอาศัยอยู่ลงไป จะมีตัวเลือกที่แสดงให้เห็นถึงคลื่นความร้อน ไฟป่า ภัยแล้ง รวมถึงน้ำท่วมในแผ่นดินและชายฝั่ง โดยระบบจะแสดงความเสี่ยงที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากนั้นจะระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้สองสถานการณ์ที่เปรียบเทียบกันเช่น จะเกิดอะไรขึ้นหากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างรวดเร็ว และจะเกิดอะไรขึ้นหากก๊าซเหล่านี้ยังถูกปล่อยเรื่อย ๆ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในไมอามี แผนที่แสดงได้ให้เห็นว่า แนวชายฝั่งจะจมอยู่ใต้น้ำมากขึ้นเพียงใด หากยังมีการปล่อยมลพิษสูง แดชบอร์ดยังแสดงให้เห็นว่า ความร้อนจัดและอันตรายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ เว็บไซต์ยังมีลิงก์เพื่อช่วยให้เมืองต่างๆ ค้นหาทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลางเพื่อนำมาใช้สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรับมือกับภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การบริการจัดการ การรับมือกับภัยพิบัติต่าง…

ดักบึ้ม “ระเบิดถังแก๊ส” โจมตีทหารพรานศรีสาครเจ็บ 3

Loading

  คนร้ายลอบซุกระเบิดหนัก 25 กิโลกรัม ที่โคนเสาไฟฟ้าริมถนน ก่อนกดบึ้มตูมสนั่นโจมตีรถทหารพรานศรีสาคร ขณะกลับจากภารกิจส่งเสบียงให้กำลังพลในพื้นที่ บาดเจ็บ 3 นาย ชาวบ้านโดนลูกหลงอีกราย   สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้นอีกครั้ง หลังจากเงียบสงบไปหลายวัน โดยเมื่อเวลา 07.30 น. วันจันทร์ที่ 12 ก.ย.65 พ.ต.อ.ฉลอง รัตนภักดี ผู้กำกับการ สภ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส รับแจ้งเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดดักสังหารเจ้าหน้าที่ทหารพราน กองร้อยทหารพรานที่ 4916 (ร้อย ทพ.4916 ) กรมทหารพรานที่ 49 บนถนนในหมู่บ้านไอร์กือเดร์ หมู่ 4 ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร มีกำลังพลได้รับบาดเจ็บหลายนาย จึงนำกำลังรุดไปตรวจสอบ พร้อมด้วย พ.อ.ศุภชัย สงสังข์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 49   ในที่เกิดเหตุพบเนินดินข้างเสาไฟฟ้าริมถนน ซึ่งเป็นจุดที่คนร้ายลอบวางระเบิด ต้นหญ้าเตียนโล่งเป็นรัศมีกว้างกว่าครึ่งเมตร มีเศษซากชิ้นส่วนของระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ในถังแก๊ส น้ำหนักดินระเบิดประมาณ 25 กิโลกรัม กระจายเกลื่อน แต่ไม่พบตัวจุดระเบิด…

ผู้เชี่ยวชาญเผยคอมพิวเตอร์ HP มีช่องโหว่อันตราย 6 จุดที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นปีแล้ว

Loading

  ช่องโหว่สุดอันตราย 6 จุดในอุปกรณ์ของ HP Enterprise ยังไม่ได้รับการแก้ไข แม้ว่าบางส่วนจะได้รับการเปิดเผยมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021   ผู้เชี่ยวชาญจาก Binarly บริษัทด้านไซเบอร์ระบุว่า พบ Bug จำนวน 6 จุดใน Firmware ของคอมพิวเตอร์ HP รุ่นต่าง ๆ 3 จุดแรกในเดือนกรกฎาคม 2021 และอีก 3 จุดในเดือนเมษายน 2022   ทั้งนี้ ช่องโหว่เหล่านี้มีความอันตรายมาก เพราะว่าจะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้เสี่ยงถูกโจมตีด้วยมัลแวร์ได้โดยง่าย การถอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้   Binarly ระบุในรายงานว่า แม้จะทางบริษ้ทจะเปิดเผยช่องโหว่บางส่วนสู่สาธารณะไปในงาน Black Hat 2022 แล้ว ทาง HP ก็ยังไม่มีการปล่อยตัวแก้ไขที่สมบูรณ์ออกมาจนถึงตอนนี้   ช่องโหว่ที่ทีมวิจัยด้านไซเบอร์ของ Binarly ค้นพบเป็นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบหน่วยความจำ SMM (System Management Module) เสียหาย…

สหรัฐฯ เสนอแก้กฎหมาย แพลตฟอร์มโซเชียลต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาของผู้ใช้

Loading

  สหรัฐอเมริกามีกฎหมายความเหมาะสมด้านการสื่อสาร (Communications Decency Act) ที่ออกในปี 1996 เน้นควบคุมเนื้อหาอนาจารในอินเทอร์เน็ต กฎหมายฉบับนี้มีมาตราสำคัญคือ มาตรา 230 ที่มีสาระสำคัญว่า ผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ผู้ใช้โพสต์ลงบนแพลตฟอร์ม มาตรา 230 เป็นแกนกลางสำคัญของการถกเถียงเรื่องเนื้อหาของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในช่วงหลัง โดยเฉพาะในยุคข่าวปลอมระบาด เพราะกลายเป็นยกประโยชน์ให้แพลตฟอร์มไม่ต้องรับผิดใด ๆ ในขณะที่มีหลายฝ่ายเริ่มมองว่า แพลตฟอร์มจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ผิด ๆ หรือสร้างความแตกแยกในสังคม ก่อนหน้านี้ได้มีความพยายามจะแก้ไขมาตรานี้แล้วแต่ไม่สำเร็จ ส่วนประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็เคยเรียกร้องให้มีกฎหมายคุ้มครองเยาวชนในทางออนไลน์ และเสนอให้แก้มาตรา 230 ไปก่อนหน้านี้ ล่าสุด คณะกรรมาธิการด้านพลังงานและการพาณิชย์ (House Energy and Commerce Commitee) ของสภาผู้แทนราษฏร ได้โหวตผ่านร่างกฎหมาย American Data Privacy and Protection Act (ADPPA) ที่มุ่งคุ้มครองความเป็นส่วนตัวข้อมูลของผู้ใช้มากขึ้นและจำกัดการยกเว้นจากความรับผิดชอบของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรายใหญ่ ในคำแถลงการณ์ของรัฐบาลได้ชมเชยว่าทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันต่างให้ความสนใจกับการผ่านร่างกฎหมาย ADPPA และสนับสนุนให้ยุติ “การคุ้มครองทางกฎหมายเป็นพิเศษสำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรายใหญ่” (special legal protections for…

รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

Loading

  เปิดรหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่แม้แต่พสกนิกรแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังไม่รู้ ในการเตรียมพร้อมรับมือ รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 นับเป็นอีกวันที่อังกฤษหม่นหมอง ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ขณะพระชนมายุ 96 พรรษา ในการนี้จะมีพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ   รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร   ในการนี้ยังต้องมีรหัสลับที่แม้แต่พสกนิกรแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังไม่รู้ ในการเตรียมพร้อมรับมือฉุกเฉินกรณีการเสด็จสวรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่ครอบคลุมพระราชพิธีพระศพเอาไว้ทั้งหมด – Operation London Bridge นับจากนี้ไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อยอีก 8 วัน คือช่วงแห่งการไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ภายใต้ Operation London Bridge ซึ่งจะกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการหลังได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าชาร์ลสที่ 3 ที่จะนำไปสู่กระบวนการต่างๆ สำหรับพระราชพิธีศพ   รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร แม้เรื่องนี้จะเป็นข่าวช็อกคนทั้งชาติต่อการสูญเสียองค์พระประมุขที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งโลก แต่สำหรับราชสำนักบักกิงแฮมและสมเด็จพระราชินีเอง ทรงเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันนี้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 แล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยและปรับปรุงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่สาระสำคัญส่วนใหญ่ยังคงไว้…

นักวิจัยพัฒนาระบบค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดด้วยภาพถ่ายทางอากาศจากโดรน

Loading

  Demining Research Community คือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเก็บกู้กับระเบิด ซึ่งในปัจจุบันทีมวิจัยขององค์กรได้พัฒนาระบบค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดด้วยภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากการบินถ่ายภาพด้วยโดรน เป้าหมายขององค์กรคือช่วยให้ภารกิจการเก็บกู้กับระเบิดในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ยังคงหลงเหลืออยู่แม้สงคราบจะจบไปนานแล้วสามารถทำได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   ขั้นตอนการค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดที่ทำโดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นจะเน้นการใช้เจ้าหน้าที่เดินค้นหาโดยอาศัยเครื่องตรวจโลหะเพื่อค้นหากับระเบิดที่อาจยังคงหลงเหลือซุกซ่อนอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ หลังการสู้รบ ซึ่งวิธีดังกล่าวนอกจากจะต้องใช้แรงงานและเวลาเป็นอย่างมากแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่จะต้องพาตัวเองเข้าสู่ดงกับระเบิดอีกด้วย   ด้วยเหตุนี้ทีมงาน Demining Research Community จึงคิดว่าหากสามารถใช้โดรนบินค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดได้โดยใช้คนคอยควบคุมจากระยะไกลก็จะช่วยให้การปฏิบัติงานในภาพรวมมีความปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่มากยิ่งขึ้น   พวกเขาใช้โดรนบินถ่ายภาพพื้นที่ซึ่งมีกับระเบิดวางเอาไว้อยู่ในพื้นที่ จากนั้นก็ป้อนข้อมูลเพื่อสอนให้ระบบปัญญาประดิษฐ์รู้จักกับระเบิดประเภทต่างๆ ด้วยข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศหลากหลายประเภทที่ได้มาจากโดรน ทั้งภาพถ่ายแบบปกติ ,  ภาพถ่ายด้วยกล้องอินฟราเรด รวมทั้งภาพถ่าย multispectral ซึ่งเป็นเทคนิคการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยคลื่นที่มีความถี่แตกต่างกันหลายคลื่น ทั้งนี้เพื่อให้การค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดสามารถทำได้แม้ว่าตัวกับระเบิดนั้นจะถูกบดบังด้วยต้นไม้หรือดินทรายและหิมะที่อาจฝังกลบมันจนทำให้หลุดรอดจากการค้นหาด้วยภาพถ่ายแบบปกติ   สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของทีมวิจัยนั้น พวกเขาได้ทำการทดสอบภาคสนามในการใช้โดรนบินเพื่อค้นหาและระบุตำแหน่งของกับระเบิดชนิดต่างๆ ทั้งแบบทุ่นระเบิดสังหารบุคคล , ทุ่นระเบิดดักรถถัง รวมทั้งกับระเบิดลูกปราย ซึ่งมีหน้าตาหลากหลายรูปแบบ โดยตอนนี้ระบบสามารถระบุข้อมูลได้ถูกต้องแม่นยำ 92%     ทีมงานของ Demining Research Community วางแผนจะไปทดสอบระบบของพวกเขาที่ประเทศกัมพูชาเร็วๆ นี้ เพื่อทดสอบการค้นหากับระเบิดในสถานที่ซึ่งมีความซับซ้อนและยากต่อการระบุตำแหน่งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ได้เรียนรู้ข้อมูลให้มีความฉลาดยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งพวกเขาหวังว่าวันหนึ่งระบบที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้งานเพื่อการเก็บกู้กับระเบิดในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกและช่วยให้ชีวิตของผู้คนปลอดภัยยิ่งขึ้น   ทั้งนี้ในแต่ละปีมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากกับระเบิดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ต่างๆ แม้ว่าการสู้รบที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่เหล่านั้นจะจบไปนานหลายปีแล้วก็ตาม…