‘ไมโครซอฟท์’ เผย รัสเซียโจมตีไซเบอร์ 42 ประเทศพันธมิตรยูเครน

Loading

FILE – A security camera is seen near a Microsoft office building in Beijing, China, July 20, 2021. State-backed Russian hackers have engaged in “strategic espionage” against governments, think tanks, businesses and aid groups in 42 countries backing Ukraine   ไมโครซอฟท์ (Microsoft) บริษัทซอฟท์แวร์ยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน ระบุในรายงานที่ได้รับการเปิดเผยในวันพุธว่า แฮคเกอร์ชาวรัสเซีย ได้กระทำ “การจารกรรมเชิงกลยุทธ์” ต่อรัฐบาล สถาบันวิจัย ธุรกิจ และกลุ่มช่วยเหลือใน 42 ประเทศที่สนับสนุนยูเครน ตามรายงานของเอพี รายงานของไมโครซอฟท์…

นิวซีแลนด์ผวา มือมีดอาละวาด ไล่แทงผู้คน เจ็บ 4 ก่อนถูก ตร.รวบ

Loading

                                ตำรวจเข้าปิดล้อมพื้นที่เกิดเหตุชานเมืองโอ๊คแลนด์ของนิวซีแลนด์ หลังเกิดเหตุคนร้ายไล่แทงผู้คน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน (เอพี) สำนักข่าวเอพีอ้างสื่อท้องถิ่นรายงานว่า เกิดเหตุเขย่าขวัญขึ้นในใจกลางเมืองโอ๊คแลนด์ เมืองใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ เมื่อชายรายหนึ่งก่อเหตุใช้อาวุธมีดเที่ยวไล่แทงผู้คนที่ผ่านไปมาบริเวณเมอร์เรส์เบย์และย่านไมรางี ทางชายฝั่งเหนือของเมืองในวันพฤหัสบดี (23 มิ.ย.) นี้ ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ไนลา ฮัสซัน ผู้บังคับการตำรวจของนิวซีแลนด์ เปิดเผยว่า ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุมีอาวุธมีดขนาดใหญ่มากทีเดียวและถูกควบคุมตัวไว้ได้แล้ว นี่เป็นเหตุการณ์ที่เคลื่อนไหวเร็วมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตอบสนองอย่างรวดเร็ว และจับกุมผู้กระทำผิดไว้ได้                            …

อียู มีมติรับยูเครนมีสถานภาพเป็นผู้สมัครสมาชิกกลุ่ม

Loading

                                          Belgium EU Summit สหภาพยุโรป (อียู) ตกลงที่จะรับใบสมัครสมาชิกของยูเครนในวันพฤหัสบดี โดยขั้นตอนนี้ถือเป็นการเริ่มต้นกระบวนการรับสมาชิกใหม่ที่อาจต้องใช้เวลานานนับปีกว่าจะได้ข้อสรุป แต่จะช่วยให้ยูเครนถอยห่างออกจากอิทธิพลของรัสเซียที่ยังเดินหน้ารุกรานตนอยู่ และดึงให้กรุงเคียฟเข้าใกล้พันธมิตรชาติตะวันตกมากขึ้น ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี รายงานข่าวระบุว่า การตัดสินใจของผู้นำประเทศสมาชิก 27 ประเทศที่สรุปยอมรับใบสมัครของยูเครนเพื่อเข้าเป็นสมาชิกอียู ที่ยื่นเข้ามาไม่กี่วัน ก่อนกองทัพรัสเซียจะเริ่มการรุกรานเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถือเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติมาก แต่เพราะกรณีสงครามและการร้องของจากรุงเคียฟให้ทางกลุ่มช่วยเร่งกระบวนการพิจารณาโดยด่วน น่าจะมีส่วนช่วยให้ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากกรณีของยูเครนแล้ว ผู้นำอียูยังตัดสินใจอนุมัติการมอบสถานภาพผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มของประเทศมอลโดวาด้วย แต่การที่ประเทศใด ๆ จะได้เข้าเป็นสมาชิกอียูนั้นต้องใช้เวลานานนับปีหรือทศวรรษก็เป็นได้ เพราะแต่ละประเทศต้องดำเนินการหลายอย่างให้เป็นไปตามเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่ม ซึ่งรวมถึง การตกลงที่จะปฏิบัติตามหลักนิติธรรมและหลักการของระบอบประชาธิปไตยด้วย ในการนี้ ยูเครนมีโจทย์สำคัญคือ การกำจัดกรณีทุจริตคอร์รัปชันภายในรัฐบาลและดำเนินการปฏิรูปต่าง ๆ มากมาย…

มือถือเจอศึกหนัก มัลแวร์ ในไทยพุ่ง พบช่องโหว่มาจากแอปดัง

Loading

  แม้ว่าจำนวนมัลแวร์ บนมือถือทั่วโลกจะลดลง แต่การโจมตีกลับมีความซับซ้อนและหวังผลมากขึ้น Kaspersky บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตรวจพบแฮกเกอร์หน้าใหม่ปรากฎตัวอยู่ตลอดเวลา และไทยเองก็ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์มือถือไม่แพ้ประเทศอื่น Kaspersky ออกมาให้ข้อมูลว่า ในปี 2021 พบความพยายามใช้มัลแวร์โจมตีผู้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนหรือมือถือในประเทศมากกว่า 6 หมื่นครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 130% ติดอันดับ 3 รองจาก อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จากรายงาน DIGITAL 2022 Global Overview report ระบุว่า สถิตินี้สัมพันธ์กับการเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือที่เพิ่มขึ้นถึง 95.6 ล้านเครื่อง อีกทั้งยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของไทยในปี 2021 เพิ่มมากขึ้นกว่า 2 พันล้านรายการ โดยมีแอปพลิเคชั่นอันตรายปะปนอยู่ ผู้เชี่ยวชาญสังเกตเห็นความผิดปกติของแอปยอดนิยมที่ใช้วิธีแทรกโค้ดอันตราย ผ่าน SDK โฆษณา อย่างในกรณีของ CamScanner ที่พบโค้ดที่เป็นอันตรายในไลบรารีโฆษณาในไคลเอ็นต์ APKPure ทางการ เช่นเดียวกับใน WhatsApp เวอร์ชันแก้ไข อีกทั้ง ยังพบมัลแวร์ในแอปที่ดาาวน์โหลดได้จาก Google Play แม้ว่า…

จด•หมายเหตุ : ดาต้าไพรเวซีไกด์ไลน์ – Data Privacy Guideline

Loading

นคร เสรีรักษ์* 1. มหากาพย์กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลที่คนไทยรอคอยมานานกว่า 20 ปี และยังต้องรอคอยวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ครบทุกมาตราอีก 3 ปี มาถึงวันนี้มีกรรมการชุดใหญ่แล้ว มีกรรมการกำกับสำนักงานแล้ว รอการตั้งเลขาธิการและการจัดตั้งสำนักงานถาวรขึ้นมาทำหน้าที่แทนสำนักงานชั่วคราว 2. นอกเหนือจากนี้ก็เป็นเรื่องการรอ “กฎหมายลูก” ซึ่งได้แก่ประกาศ ข้อกำหนด ระเบียบ หลักเกณฑ์ และยังมีเรื่อง “แนวทางปฏิบัติ” ซึ่งปัจจุบันมีออกมาเสนอขายให้เห็นเยอะมากในท้องตลาด 3. เริ่มที่ “หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน” ของ เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เธียรชัยทำเสนอสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเมื่อปี 2550 สาระสำคัญ เป็นการศึกษาเพื่อวางหลักเกณฑ์และแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บโดยภาคเอกชน และเป็นการสรุปหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลมานำเสนอเพื่อให้องค์กรเอกชนได้นำไปพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับธุรกิจของตน 4. ยังมีแนวทาง “แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Thailand Data Protection Guidelines)” ของศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดทำโดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ประกอบอาชีพด้านกฎหมายหลายแห่ง[1] 5. แนวทางนี้มีการเผยแพร่หลายเวอร์ชั่นแล้ว แต่มีข้อที่ต้องสังเกตคือ ผู้จัดทำประกาศแจ้งความไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหาหนังสือไว้อย่างชัดเจนใน “ข้อปฏิเสธความรับผิด” โดยระบุว่า “‘ผู้แต่ง’ ไม่ได้ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ ถึงความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหาของงานนี้”…

ETDA พาสำรวจ 5 ประเทศต้นแบบรัฐบาลดิจิทัล พัฒนา e-Government สร้างบริการสุดล้ำเพื่อประชาชน

Loading

  โลกแห่งเทคโนโลยีหมุนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุกวัน ทุกประเทศต่างล้วนปรับตัวตามให้ได้ไวมากที่สุด ขณะที่ เทคโนโลยีก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชากรโลกเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ เรื่อง ด้วยเหตุนี้ ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะในฝั่งภาครัฐ ต่างปรับตัว และการให้บริการก้าวสู่โลกออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ด้วยรูปแบบการให้บริการที่หลายคนต่างคุ้นหู อย่าง e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดการบริการต่างๆ ของภาครัฐให้กับประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการติดต่อและขอรับบริการจากภาครัฐได้ง่าย รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการตรวจสอบ การจัดทำเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ภาครัฐร้องขอ ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย สำหรับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสำคัญที่จะผลักดันและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศดิจิทัล หรือ Digital Ecosystem ที่มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ ทั้งระหว่างภาครัฐกับรัฐ ธุรกิจกับธุรกิจ หรือแม้แต่ภาครัฐกับภาคธุรกิจ เพื่อให้การทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เชื่อมโยงระบบข้อมูลได้อย่างคล่องตัวและช่วยให้ประชาชนได้รับการบริการจากแต่ละหน่วยงานได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิด e-Government ขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถของภาครัฐในการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดย e-Government…