สิงคโปร์ปรับกระบวนการแจ้งเกิด-ตาย ทำออนไลน์ทั้งหมดสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้

Loading

  รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศเปลี่ยนระบบการแจ้งเกิด/ตาย เป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด หลังจากเปิดตัวแอป LifeSG (เดิมชื่อ Moment of Life) ให้ประชาชนแจ้งเกิดออนไลน์ได้ตั้งแต่ปี 2018 และตอนนี้การแจ้งเกิดเป็นการแจ้งเกิดออนไลน์ถึง 80%   กระบวนการแจ้งตายนั้นจะเป็นการเปลี่ยนกระบวนการไปเลย ไม่ได้มีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านแบบการแจ้งเกิด โดยทายาทลำดับแรก (next-of-kin – NOK) จะไม่ต้องไปแจ้งตายกับทางรัฐบาลอีกต่อไป แต่แพทย์ผู้ยืนยันการเสียชีวิตจะแจ้งเข้าไปยังระบบของรัฐบาลเอง หลังจากนั้นญาติจะมีเวลาเข้าไปดาวน์โหลดใบมรณะบัตรจากแอป My Legacy อีก 30 วัน   ทั้งใบเกิดและมรณะบัตรจะเป็นเอกสารรูปแบบเหมือนที่พิมพ์ในกระดาษแบบเดิม แต่จะแนบ QR สำหรับตรวจสอบข้อมูลในเอกสารไปด้วย ทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น   กระบวนการทั้งสองจะเปลี่ยนในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ แต่ผู้ที่ติดปัญหาการใช้บริการออนไลน์ก็ยังสามารถเข้าไปขอความช่วยเหลือได้ที่จุดบริการของรัฐบาล     ที่มา – Immigration & Checkpoints Authority       ——————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …

ก.ล.ต. เตรียมปรับปรุงเกณฑ์ IT ของผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนให้มีความปลอดภัย

Loading

  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (เกณฑ์ IT) เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนให้มีความปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน   ก.ล.ต. มีแนวคิดปรับปรุงร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไป และภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อเดือนธันวาคม 2564 และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งหลักการสำคัญของการปรับปรุงประกาศในครั้งนี้ประกอบด้วย   (1) กำหนดเกณฑ์การจัดระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และกำหนดมาตรฐานการควบคุมและการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยง และลักษณะการประกอบธุรกิจที่มีความหลากหลาย เช่น โครงสร้าง ขนาด และความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่ใช้งาน   (2) มุ่งเน้นบทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ และโครงสร้างการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจให้มีความปลอดภัย และมีการตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัย โดยผู้ตรวจสอบที่มีความเป็นอิสระและมีคุณสมบัติที่เหมาะสม   (3) ปรับปรุงเนื้อหาของหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และหลักเกณฑ์การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลในภาคอุตสาหกรรมการเงิน   (4) จัดให้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมด้านการบริหารคุณภาพและบริการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การบริหารจัดการโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการด้านทรัพยากรระบบงาน (Capacity Management)   (5) ยกระดับมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเข้มแข็ง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางกฎหมายไซเบอร์ เช่น การประเมินช่องโหว่ทางเทคนิค (Vulnerability Assessment) และการทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Test)…

จาก ‘Influencer จัดตั้ง’ ถึง ‘Propaganda ยุค 5 G’/บทความพิเศษ จักรกฤษณ์ สิริริน

Loading

จาก ‘Influencer จัดตั้ง’ ถึง ‘Propaganda ยุค 5 G’   ก่อนยุค 1 G โลกของเรามี Propaganda ในฐานะ “โฆษณาชวนเชื่อ”   ที่ไม่ว่าจะอยู่ในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด ต่างก็ล้วนใช้ Propaganda เป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในยุทธศาสตร์การตลาด เช่น “ลัทธิฟาสซิสต์”   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ค่ายคอมมิวนิสต์” ที่ขึ้นชื่อลือชาด้านการนำแนวคิด Propaganda มาใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการประชาสัมพันธ์แนวคิดของพรรคฯ เพื่อดึงมวลชน และขยายเขตงานออกไปอย่างไม่สิ้นสุด   ศาสตราจารย์ ดร. Garth Jowett และศาสตราจารย์ ดร. Victoria O’Donnell เจ้าของหนังสือ Propaganda and Persuasion ได้อธิบายนิยามของ Propaganda ว่าหมายถึง “ความพยายามอย่างเป็นระบบโดยเจตนา ในการกำหนดรูปแบบการรับรู้ การปรับเปลี่ยนความเข้าใจ และโน้มน้าวพฤติกรรม เพื่อการตอบสนองความตั้งใจ จนกระทั่งบรรลุจุดมุ่งหมายของผู้โฆษณาชวนเชื่อ”   ศาสตราจารย์…

เตือนภัย! 8 โปรแกรม Remote Desktop ที่มิจฉาชีพนำมาใช้ดูดเงิน

Loading

  โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ หรือ “โปรแกรมสนับสนุนระยะไกล” ที่เราสามารถรีโมทไปสั่งการเครื่องคอมได้เสมือนเรากดปุ่มรีโมทสั่งทีวี ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานมาก ๆ จนโปรแกรมนี้ได้กลายมาเป็นกลโกงใหม่ของมิจฉาชีพที่ใช้ดูดเงินนั่นเอง โปรแกรมที่ว่ามีถึง 8 อย่าง คือ 1. TeamViewer ถือเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในไทย ด้วยความที่เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ฟรี แถมยังมีสามารถใช้งานได้ทุกฟีเจอร์ที่จำเป็นต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ คีย์ลัดไปหาเครื่องที่รีโมทอยู่ , สามารถถ่ายโอนไฟล์จากเครื่องที่เราใช้อยู่ ไปหาเครื่องที่รีโมทคอมพิวเตอร์เข้าไปได้ , อีกทั้งยังสามารถควบคุมแบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform) เช่น ควบคุมจากมือถือเพื่อสั่งการ คอมพิวเตอร์ที่เปิดไว้ได้ด้วย ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อรีโมทเสมอไป ซึ่งสะดวกมาก ๆ เวลาที่เราไม่อยู่หน้าจอแล้วดันมีงานเข้าฉุกเฉิน 2. AnyDesk เป็นโปรแกรมที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก รองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในหลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows , Mac , Linux , Raspberry Pi , Chrome OS , iOS และ…

PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กับสิ่งที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนบังคับใช้ PDPA มิถุนายนนี้

Loading

PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กับสิ่งที่ประชาชนต้องรู้ เกี่ยวกับ PDPA ก่อนเตรียมบังคับใช้จริง 1 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้ ทางด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เตือนประชาชน เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่เป็นเจ้าของข้อมูลตามกฎหมาย หากผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลพบการกระทำผิด การละเมิด หรือกระทบสิทธิตามกฎหมายก็สามารถดำเนินการทั้งในทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย หลังบังคับใช้ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จนสร้างความเดือดร้อน หรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม จึงกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไปขึ้นมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้กำชับให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงสาระสำคัญของกฎหมาย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็พร้อมที่จะบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม เกิดประสิทธิภาพ สมกับเจตนารมณ์ที่มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้นมา PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ย่อมาจากคำว่า Personal Data…

ไปรษณีย์ไทยเพิ่มบริการ e-Timestamp รับรองความถูกต้องเอกสาร

Loading

  ไปรษณีย์ไทยเปิดตัวบริการ e-Timestamp บริการประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ การันตีความถูกต้องลงบนเอกสารดิจิทัลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน พร้อมเริ่มให้ทดลองใช้บริการแล้ว ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันพัฒนาการด้านเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคมาอยู่ในช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยเฉพาะการส่งต่อ แลกเปลี่ยนเอกสารสำคัญต่างๆ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ไปรษณีย์ไทยจึงได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน เพื่ออำนวยความสะดวก และอัปเกรดการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลที่หลากหลาย โดยได้เปิดตัว e-Timestamp บริการประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลทางกฎหมาย การันตีความถูกต้องของเอกสารสำคัญ เช่น ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบแสดงผลการศึกษา ใบรับรองแพทย์ หรือเอกสารสำคัญต่างๆ ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ข้อมูลหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรที่ได้ปรับรูปแบบการดำเนินงานมาใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น     “บริการ e-Timestamp ของไปรษณีย์ไทย พร้อมเป็นตัวกลางในการรับรองความมีอยู่ของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยอ้างอิงเวลาจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติและหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานสูงสุด ช่วยให้การทำธุรกรรมปลอดภัยตลอดการใช้งาน” โดยเอกสารที่ได้รับการรับรองด้วยบริการ e-Timestamp สามารถใช้เป็นหลักฐานในทางกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นการการันตีความถูกต้องและความเป็นเอกสาร “ตัวจริง” ป้องกันการปลอมแปลง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่หน่วยงานและผู้ใช้บริการในการจัดการเอกสารออนไลน์ในยุคดิจิทัล นอกจากนี้ บริการ e-Timestamp…