ปลื้มไทยติดอันดับ 8โลก ที่ 1อาเซียน คนอเมริกันยกให้ปลอดภัยด้านท่องเที่ยวมากสุด

Loading

  กทม. 30 เม.ย. – นายกฯ ปลื้มไทยติดอันดับ 8 ของโลก ที่ 1 อาเซียน คนอเมริกัน ยกให้ปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวมากที่สุด เชื่อช่วยหนุนภาคการท่องเที่ยวไทยฟื้น หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ   น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม แสดงความยินดี หลังเบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ ทราเวล โพรเทกชั่น (Berkshire Hathaway Travel Protection) เปิดเผยผลสำรวจรายงานสถานะการประกันภัยการเดินทาง (State of Travel Insurance Report) พบว่า ประเทศไทย ติดอันดับที่ 8 ของโลก   เป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน ให้คะแนนด้านความปลอดภัยในการเดินทางมากที่สุด โดยถือเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ส่วนในภูมิภาคอาเซียน ถือว่าประเทศไทยเป็นอันดับ 1…

มือถือนายกรัฐมนตรีสเปน ตกเป็นเป้าหมายของสปายแวร์ Pegasus

Loading

  รัฐบาลของประเทศสเปน เปิดเผยว่า โทรศัพท์มือถือของเปโดร ซานเชซ นายกรัฐมนตรีของประเทศ เป็นเป้าหมายของสปายแวร์เพกาซัส (Pegasus spyware) ของบริษัท เอ็นเอสโอ กรุ๊ป (NSO Group) ที่เคยอ้างว่า ซอฟต์แวร์นี้ใช้เฉพาะหน่วยงานรัฐในการติดตามการก่อการร้ายเท่านั้น   ในการแถลงข่าวในช่วงเช้าวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศสเปน มีการเปิดเผยว่า เปโดร ซานเชซ นายกรัฐมนตรีของสเปน ตกเป็นเป้าของสปายแวร์ โดยถูกดูดข้อมูลในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนมิถุนายน ปี 2021 ในรายงานยังบอกอีกด้วยว่า มาการิตา โรเบิลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้รับผลกระทบจากการสอดแนมของสปายแวร์เพกาซัส เช่นกัน   ในเวลานี้ ทางการของสเปน กำลังทำการตรวจสอบเพิ่มเติมว่า คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลสเปน ตกเป็นเป้าหมายของสปายแวร์ด้วยหรือไม่   ประเด็นดังกล่าวถูกเปิดเผยขึ้น ท่ามกลางการตั้งคำถามไปที่รัฐบาลสเปนว่า ได้มีการใช้สปายแวร์เพกาซัส เพื่อทำการติดตามโทรศัพท์มือถือของนักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของแคว้นกาตาลันจำนวนหลายสิบคนหรือไม่   ในช่วงที่ผ่านมา เอ็นเอสโอ กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสปายแวร์เพกาซัสที่ว่านี้ ยืนยันมาตลอดว่า ซอฟต์แวร์ชุดนี้ถูกพัฒนามาเพื่อจุดประสงค์ด้านการตรวจสอบเหตุการณ์ก่อการร้าย และด้านการป้องกันอาชญากรรม   สำหรับในประเด็นล่าสุดของสปายแวร์เพกาซัส ทางเอ็นเอสโอ…

“หมู่เกาะโซโลมอน” อนุญาตให้ “ตำรวจจีน” รักษาความปลอดภัยในประเทศตามข้อตกลงความมั่นคง 2 ชาติ

Loading

  รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – สารวัตรทหารจีนเริ่มปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบให้ประชากร 700,000 คนในประเทศหมู่เกาะโซโลมอนตามข้อตกลงความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศที่สร้างความวิตกให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ เกิดขึ้นหลังตำรวจหมู่เกาะล้มเหลวในการรับมือวิกฤตจลาจลเขตไชน่าทาวน์ในกรุงโฮนีอาราปีที่แล้ว   รอยเตอร์รายงานวันนี้ (2 พ.ค.) ว่า เจ้าหน้าที่การทูตระดับสูงหมู่เกาะโซโลมอนประจำออสเตรเลียกล่าวให้สัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุวันจันทร์ (2) ยืนยันการปรากฏตัวของสารวัตรทหารจีนในหมู่เกาะโซโลมอน   เจ้าหน้าที่การทูตโซโลมอนเปิดเผยว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความมั่นคงระดับทวิภาคีของ 2 ชาติเนื่องมาจากเหตุผลตำรวจโซโลมอนไม่สามารถจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลได้   ข้าหลวงใหญ่ประเทศหมู่เกาะโซโลมอนประจำออสเตรเลีย โรเบิร์ต ซิซิโล (Robert Sisilo) เปิดเผยกับสถานีวิทยุเอบีซีเรดิโอว่า หมู่เกาะโซโลมอนกำลังยกระดับการรักษาความสงบภายในประเทศหลังตำรวจโซโลมอนไม่สามารถควบคุมจลาจลที่เกิดเมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้วในเขตไชน่าทาวน์ภายในกรุงโฮนีอารา (Honiara)   ภายใต้ข้อตกลงระบุว่า “สารวัตรทหารจีน” สามารถถูกเรียกมาช่วยปฏิบัติภารกิจแต่ต้องอยู่ภายใต้การบัญชาการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโซโลมอนเท่านั้น เหมือนเช่นเดียวกับตำรวจออสเตรเลียที่ถูกส่งมาปฏิบัติหน้าที่ที่นี่ ซิซิโล กล่าว   “พวกเราจะพยายามและทำอย่างดีที่สุดในการจัดการพวกเขาเพื่อทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่น เป็นต้นว่า ฮ่องกง จะไม่เกิดขึ้นในประเทศของเรา”   ข้อตกลงความมั่นคงระหว่างหมู่เกาะโซโลมอน และจีนนั้นทำให้พันธมิตรโลกตะวันตกต่างออกมาวิตกเกี่ยวกับการที่หมู่เกาะแปซิฟิกซึ่งเป็นเสมือนหลังบ้านของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เปิดทางให้ตำรวจจีนเข้าไปทำงานที่นั่นกับพลเมืองโซโลมอนอาจจะสร้างปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนเหมือนเช่นที่ตำรวจจีนเคยกระทำในฮ่องกง และในจีนแผ่นดินใหญ่   นายกรัฐมนตรีหญิงนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น ในเดือนที่แล้วเคยออกมาตั้งคำถามกับบีบีซีของอังกฤษถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของข้อตกลงความมั่นคงระหว่างกันนี้  …

แฮ็กเกอร์รัสเซียโจมตีทางไซเบอร์ต่อโรมาเนีย พันธมิตรสำคัญของยูเครน

Loading

  เว็บไซต์ของรัฐบาลและองค์กรอื่น ๆ ในโรมาเนียตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ โดยหน่วยข่าวกรองของประเทศเชื่อว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซีย   กลุ่มแฮ็กเกอร์มีชื่อว่า Killnet ซึ่งได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธีการแบบ DDoS (Distributed Denial-of-Service) หรือการป้อนข้อมูลจำนวนมหาศาลไปยังเซิร์ฟเวอร์หรือโดเมนเป้าหมายให้ล่มจนใช้การไม่ได้   เว็บไซต์ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจชายแดน บริษัทระบบราง CFR Calatori และสถาบันทางการเงินแห่งหนึ่งที่ไม่ได้รับการเปิดเผยชื่อ ส่งผลให้เว็บไซต์เหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง   ก่อนหน้านี้ Killnet ได้เคยโจมตีองค์กรของประเทศที่เป็นปรปักษ์กับรัสเซีย อาทิ สหรัฐอเมริกา เอสโตเนีย โปแลนด์ เช็กเกีย และนาโต้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ แก่ยูเครนที่กำลังถูกรัสเซียรุกรานอยู่ในขณะนี้   สำหรับโรมาเนีย รัฐบาลและรัฐสภาระบุว่ากำลังพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ยูเครนเพิ่มเติม ซึ่ง นิโกลาเอ ชิวกา (Nicolae Ciucă) นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย มาเซล โชลากู (Marcel Ciolacu) ประธานรัฐสภา เพิ่งได้เดินทางไปยูเครนด้วยตัวเอง โดยทั้งคู่ให้คำมั่นว่าจะช่วยยูเครนในการต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย    …

อียูเสนอร่างกฎหมาย “ข้อมูล” มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจข้อมูลดิจิทัล | EU Watch

Loading

  ในยุคดิจิทัลที่ “ข้อมูล” มีบทบาทมากขึ้น และกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อกประตู สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ   จึงนับเป็นโอกาสของภาคธุรกิจในการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมไอเดียธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนต่อไป   ข้อมูลดิจิทัลจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ไม่มีคู่แข่งในการบริโภค (non-rival good) ที่ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงได้พร้อม ๆ กันและสามารถนำไปใช้ซ้ำได้หลายครั้ง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและไม่ต้องกังวลว่าปริมาณสินค้าจะลดน้อยลง   ในชีวิตประจำวันมีการผลิตและจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยที่มีพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 จะมีปริมาณข้อมูลกว่า 175 เซตตะไบต์ (ล้านล้านกิกาไบต์) ในเศรษฐกิจสหภาพยุโรป   อย่างไรก็ดี ปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ถูกนำไปใช้อย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะข้อมูลอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันถูกนำไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น     มาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจข้อมูลของอียู   เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้ข้อมูล (Data Act) เพื่อปลดล็อกให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น เพื่อเปิดโอกาสด้านนวัตกรรมที่เน้นการใช้ข้อมูล (date-driven innovation) และนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล  …

ดีป้า เดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้วยตราสัญลักษณ์ dSURE ตัวช่วยคัดกรองผลิตภัณฑ์-บริการดิจิทัล ได้มาตรฐานสากล ตรงปกไม่โดนหลอก

Loading

  ดีป้า เดินหน้าปั้นตราสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัย ได้คุณภาพตามมาตรฐานระดับสากลสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลในชื่อ “dSURE” เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อและใช้งานแก่ผู้บริโภค พร้อมเปิดให้ผู้ประกอบการไทยขอรับตราลักษณ์ได้แล้ววันนี้     ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกบริบทของการดำรงชีวิต ซึ่งปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นให้เทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านดิจิทัลออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคที่มีความเฉพาะทางและหลากหลายยิ่งขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังสามารถพบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล ทั้งที่ได้มาตรฐานและต่ำกว่ามาตรฐานวางขายปะปนตามท้องตลาด นั่นจึงเป็นที่มาของการจัดทำตราสัญลักษณ์ “dSURE” (ดีชัวร์)     “ดีป้า ได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล ก่อนออกตราสัญลักษณ์ dSURE ให้กับผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิตและผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลที่ได้รับตราสัญลักษณ์ดังกล่าวผ่านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และคัดกรองแล้วว่าได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อและใช้งาน ลดความเสี่ยงที่ต้องพบ โดยเฉพาะปัญหาด้านความปลอดภัย และการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพ ต่อยอดสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดสากล” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว   ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ระยะแรก ดีป้า…