NIST อัปเดตคำแนะนำด้านความมั่นคงปลอดภัยในส่วน Software Supply Chain

Loading

  NIST ได้ให้คำแนะนำพื้นฐานว่าจะรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่วงจรการนำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้งานได้อย่างไร ความรุนแรงของแฮกเกอร์ได้เพิ่มดีกรีมากขึ้นทุกปี ซึ่งการพยายามแทรกแซงองค์กรไม่ได้มาจากการเจาะที่ตัวองค์กรเท่านั้น แต่ยังอ้อมไปฝังตัวในซอฟต์แวร์ที่องค์กรจะนำมาใช้อีกที และนี่เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นจุดประกายมาจากกรณีของ SolarWinds หลังจากนั้นประเด็นเรื่อง Supply Chain ก็เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีคำสั่งที่ถ่ายทอดจากรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบันก็ทำให้ NIST ต้องอัปเดตคำแนะนำเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติพื้นฐาน 4 ข้อดังนี้ 1.) สื่อสารกับผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ในมุมของความมั่นคงปลอดภัยด้วยการอ้างอิงกับ Secure Software Development Framework (SSDF) 2.) ผู้นำเสนอหรือผู้พัฒนาจะต้องมีหลักฐานว่าซอฟต์แวร์ได้ถูกพัฒนามาตาม Best Practice ด้านความมั่นคงปลอดภัย 3.) ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์สามารถยอมรับหลักฐานในการปฏิบัติตาม SSDF ของผู้นำเสนอหรือผู้พัฒนาได้ เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องประเมินความเสี่ยงเพิ่มจาก 3rd Party 4.) ขอหลักฐานการปฏิบัติตาม Best Practice แบบ High-level เพราะทำให้เห็นภาพรวมได้ดีกว่า และควรหลีกเลี่ยงการวิเคราะห์หลักฐานแบบ Low-level เพราะให้ภาพได้ในมุมแคบๆเท่านั้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้รับต้องใช้ความสามารถมากในการวิเคราะห์เพิ่ม กล่าวคือสร้างงานเพิ่ม แถมเสี่ยงที่จะดูไม่รู้เรื่อง นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้ตัวแทนจำหน่ายมีข้อมูลละเอียดอ่อนในมือหรือเป็นข้อมูลลิขสิทธิ์ที่อาจนำไปสู่ช่องโหว่ของท่านในอนาคต โดย NIST ย้ำว่านี่เป็นเพียงคำแนะนำพื้นฐานที่นำไปใช้ได้กับทุกซอฟต์แวร์เท่านั้น…

วิธีเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ อย่างปลอดภัย ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  วิธีเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ Wi-Fi สาธารณะเป็นเครือข่ายที่พบเห็นและเชื่อมต่อได้ทุกที่ โดยปกติแล้ว เราจะเชื่อมต่อไปเลยเนื่องจากเป็นบริการฟรี แต่ของฟรีนั้นอาจทำให้เราเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และ Wi-Fi สาธารณะหรือ ฟรี Wi-Fi ไม่ปลอดภัยเท่ากับ Wi-Fi ที่บ้านหรือที่ทำงาน เพราะ Wi-Fi สาธารณะเปิดสำหรับทุกคน และมิจฉาชีพที่มีประสบการณ์การแฮกสามารถเจาะระบบความปลอดภัยผ่านทาง Wi-Fi และติดตามกิจกรรมประวัติการท่องเว็บของคุณได้ ดังนั้นควรเพิ่มการป้องกันการถูกแฮกผ่าน Wi-Fi สาธารณะด้วยวิธีดังนี้ วิธีเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ อย่างปลอดภัย ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ 1. ใช้ VPN เสมอ     บทบาทของแอป VPN คือการเข้ารหัสการรับส่งข้อมูลของคุณและทำให้คุณไม่เปิดเผยตัว เนื่องจาก VPN เปลี่ยนเส้นทางการรับส่งข้อมูลของคุณผ่านเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวที่กระจายไปทั่วหลายภูมิภาค คนกลางจะไม่สามารถเข้าถึงหรือขโมยข้อมูลอันมีค่าของคุณได้ เนื่องจากการเข้ารหัสคุณภาพสูง อาชญากรไซเบอร์จึงต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนในการเจาะเข้าถึงข้อมูลของคุณ VPN ทำหน้าที่เป็นชั้นความปลอดภัยเพิ่มเติม และทุกคนควรเชื่อมต่อกับที่อยู่ IP ของเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวก่อนใช้ Wi-Fi สาธารณะ…

สหรัฐฯ ปิดสถานทูตในกรุงเคียฟ สั่งทำลายเอกสารละเอียดอ่อน เตรียมป้องกันหากรัสเซียบุกยูเครน

Loading

  สหรัฐฯ ปิดสถานทูตในกรุงเคียฟของยูเครน ย้ายนักการทูตไปเมืองลิวอฟทางตะวันตกชั่วคราว พร้อมทำลายอุปกรณ์และเอกสารที่มีความละเอียดอ่อน ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง ยืนยันมีข้อมูลชัดเจนว่ารัสเซียอาจบุกยูเครน   วันที่ 15 ก.พ.2565 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ กำลังดำเนินการปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน และจะย้ายเจ้าหน้าการทูตที่ยังเหลืออยู่เล็กน้อยไปยังเมืองลิวอฟ ทางตะวันตกเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับการสะสมกำลังของรัสเซีย   นายบลิงเคนกล่าวระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ (14 ก.พ.) ว่า “ผมออกคำสั่งนี้ด้วยเหตุผลเดียว คือ ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ของเรา และขอเรียกร้องให้พลเมืองอเมริกันที่ยังคงอยู่ในยูเครนเดินทางออกจากประเทศทันที”   ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์เดอะฮิลล์ได้ออกมารายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากรัฐบาลสหรัฐฯ ว่า ได้มีการสั่งการให้ทำลายเอกสารบางส่วนในสถานทูตประจำกรุงเคียฟ เพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน   รายงานของเดอะฮิลล์ระบุว่า นายไบรอัน แมคคีน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศได้โทรศัพท์หารือกับนายเกรกอรี มีกส์ ประธานคณะกรรมการด้านกิจการต่างประเทศของรัฐบาล เกี่ยวกับการทำลายเอกสารภายในสถานทูตประจำกรุงเคียฟ โดยเอกสารที่ถูกทำลายนั้น ได้แก่ กรีนการ์ด และหนังสือเดินทางที่ยังไม่ได้รับการดำเนินการ   นอกจากนี้ นายแมคคีนยังเปิดเผยด้วยว่า กระทรวงต่างประเทศยังไม่ทราบตัวเลขแน่ชัดว่ามีชาวอเมริกันอยู่ในยูเครนจำนวนเท่าใด แต่จนถึงขณะนี้มีชาวอเมริกันในยูเครนเข้ามาตอบแบบสำรวจออนไลน์แล้วราว 2,100…

เว็บไซต์กระทรวงกลาโหมยูเครนและธนาคาร 2 แห่ง ถูกโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  หน่วยงานการสื่อสารพิเศษและปกป้องข้อมูลแห่งรัฐของยูเครน (SSSCIP) รายงานว่า เมื่อวันอังคาร (15 ก.พ.) ที่ผ่านมา มีผู้ไม่ประสงค์ดีใช้การโจมตีทางไซเบอร์จู่โจมเว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหมและกองทัพของยูเครน และเว็บไซต์ธนาคารยูเครน 2 แห่ง   วิกเตอร์ โซรา รองผู้อำนวยการ SSSCIP กล่าวว่า ยังไม่มีความไม่ชัดเจนว่าใครหรือฝ่ายไหนเป็นผู้โจมตี โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว “ยังเร็วเกินไปที่จะระบุตัวคนทำและเหตุผลที่ทำ”   เหตุการณ์ดังกล่าเกิดขึ้นขณะที่ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังไม่ดับมอดไปซะทีเดียว โดยล่าสุดแม้รัสเซียประกาศว่าสั่งถอนกำลังทหารออกจากชายแดนยูเครนไปจำนวนหนึ่งแล้ว แต่ทางการยูเครนยังไม่ปีกใจเชื่อ 100% ว่ารัสเซียถอนกำลังไปจริง   ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน และเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ เตือนว่า การรุกรานของรัสเซียครั้งใหม่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ขณะที่รัสเซียก็ออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้วางแผนที่จะบุกยูเครน   SSSCIP ระบุว่า เหตุการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น มีลักษณะเป็นการโจมตีเพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (DDoS) โดยทำให้เว็บไซต์มีปริมาณการใช้ข้อมูลปลอมจำนวนมากเพื่อทำให้เว็บไซต์เข้าถึงไม่ได้ การโจมตีแบบ DDoS นั้นค่อนข้างง่ายต่อการดำเนินการ ไม่มีความซับซ้อน และเป็นการก่อกวนที่พบเห็นได้บ่อย   เจ้าหน้าที่ยูเครนบอกว่า การโจมตีแบบ DDoS เป็นเรื่องยากที่จะติดตามหาแหล่งที่มาหรือตัวคนทำ เนื่องจากแฮกเกอร์สามารถปลอมแปลงตำแหน่งของตนเพื่อให้ดูเหมือนว่าอยู่ในประเทศใดก็ได้  …

ยะลา เตือนเพ่งเล็ง วัตถุระเบิดซุกซ่อนในถุงกาแฟ หลังเจอ 2 ครั้งที่บันนังสตา

Loading

  จากเหตุการณ์เมื่อ 14 ก.พ 65 ซึ่งได้มีกลุ่มคนร้าย นำวัตถุระเบิดที่ใส่มาในภาชนะลักษณะถุงกาแฟ ไปวางไว้ในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา เพื่อสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยทางเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้สามารถเก็บกู้ไว้ได้ และต่อมามีการก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวซ้ำอีก 1 ครั้ง ในพื้นที่ อ.บันนังสตา     ล่าสุดทางหน่วยงานความมั่นคงได้เร่งแจ้งเตือน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ เวรยาม ในหน่วยงานภาครัฐ วิสาหกิจ ธนาคาร ผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร รวมไปถึงหน่วยกำลังในพื้นที่ ให้หมั่นตรวจสอบวัตถุต้องสงสัย ซึ่งคนร้ายอาจจะซุกซ่อนวัตถุระเบิดใส่มาในภาชนะลักษณะถุงกาแฟ และนำมามาวางทิ้งไว้ เพื่อก่อเหตุร้ายในพื้นที่     ที่มา : thainews    /   วันที่เผยแพร่ 16 ก.พ.65 Link : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220216115138724

เตรียมติด ‘สัญลักษณ์พิเศษ’ หน้าเบอร์มิจฉาชีพ ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’

Loading

  เตรียมติด ‘สัญลักษณ์พิเศษ’ หน้าเบอร์มิจฉาชีพ ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ เผย 14 รูปแบบ อาชญากรรมไซเบอร์ พร้อมเปิด ‘แจ้งความออนไลน์’ 1 มี.ค. จากการหารือร่วมกันระหว่าง ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) หรือ ศูนย์ PCT ระบุว่า รูปแบบที่พบมากในปัจจุบันคือการหลอกให้ซื้อของออนไลน์ ผู้บริโภคถูกหลอกลงทุน เปิดร้านค้าออนไลน์ หลอกซื้อสินค้าที่ไม่มีจริง ส่วนที่สร้างความเสียหายอย่างมาก คือ คอลเซนเตอร์ โทรศัพท์อ้างชื่อหน่วยงานหลอกเรียกเงิน เมื่อเกิดความเสียหายก็ยากต่อการติดตามเงินคืน เปิดบริการแจ้งความออนไลน์ แต่ในวันที่ 1 มี.ค.นี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเปิดบริการให้แจ้งความออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ทันท่วงที และเพื่อให้รวดเร็วต่อการยับยั้งความเสียหาย   พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะ…