วัสดุใหม่ MIT สร้างพลาสติกกันกระสุน แข็งแต่เบา ใช้ในงานก่อสร้าง

Loading

  นักวิจัยของ MIT ได้พัฒนาวัสดุใหม่ที่แข็งแรงพอๆ กับเหล็ก แต่เบาเหมือนพลาสติก ซึ่งสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก ๆ และนำไปใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชุดสีของรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงบล็อคสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สะพาน หรือโครงสร้างอาคาร Michael Strano ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมีของ Carbon P. Dubbs ที่ MIT บอกว่า โดยปกติแล้ว เราไม่มีทางนำพลาสติกไปใช้กับโครงสร้างขนาดใหญ่แน่ ๆ แต่ด้วยวัสดุนี้ มันสามารถสร้างใหม่ ๆ จากพลากสติกขึ้นมาได้ วัสดุนี้แข็งแรงกว่ากระจกกันกระสุนหลายเท่า และหากจะทำให้มันแตกออกจากกัน ต้องใช้แรงมากกว่า 2 เท่าของการทำให้เหล็กแตก แม้ว่าวัสดุนี้จะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในหกของเหล็กเท่านั้น ตามข้อมูลของ MIT ครับ วัสดุนี้ ทำขึ้นจากการนำโพลิเมอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษไปผสมรวมกับยางและแก้วเพื่อสร้างเป็นวัสดุชนิดพิเศษขึ้นมาอีกขั้น โดยพอลิเมอร์เป็นสายโซ่ของโมเลกุลแต่ละโมเลกุลที่เรียกว่าโมโนเมอร์ซึ่งเชื่อมโยงกันด้วยพันธะเคมี กุญแจสำคัญมาจากการสร้างกระบวนการที่ยอมให้โมโนเมอร์เชื่อมโยงและเติบโตเป็นสายโซ่โพลีเมอร์โดยไม่ทำให้โมโนเมอร์ตัวใดตัวหนึ่งแตกออกจากกัน จนเกิดเป็นวัตถุที่แข็งแรงทนทานขึ้นมาครับ หากในอนาคต วัตถุนี่สามารถผลิตได้ง่าย และมีคุณสมบัติแข็งที่นักวิจัยบอก เราอาจเห็นการนำพลาสติกมาสร้างเป็นอาคารก็เป็นได้   ที่มาข้อมูล https://www.usatoday.com/story/tech/2022/02/06/mit-new-material-stronger-than-steel/6684075001/      …

เกาหลีเหนือ แฮ็กคริปโทนับล้านเหรียญ เป็นทุนพัฒนามิสไซล์

Loading

  ยูเอ็นเผย คิมจองอึน แฮ็กเหรียญคริปโทกว่า 50 ล้านเหรียญ ใช้เป็นทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาขีปนาวุธ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 บีบีซีเปิดเผยรายงานขององค์การสหประชาชาติ ที่ระบุว่า ช่วงระหว่างปี 2020 ถึงกลางปี 2021 เกาหลีเหนือมีการโจรกรรมทางไซเบอร์ที่ขโมยเงินสกุลดิจิทัลมูลค่ารวมมากว่า 50 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้เป็นทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาขีปนาวุธ รายงานของยูเอ็นระบุว่า การปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อแฮ็กเงินจากต่างชาติกลายเป็น “แหล่งรายได้สำคัญ” ของเกาหลีเหนือสำหรับพัฒนาโครงการขีปนาวุธ โดยมุ่งเป้าไปที่การแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลอย่างน้อย 3 แห่งในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย รายงานยังอ้างอิงถึงการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนที่แล้วโดยบริษัทรักษาความปลอดภัย Chainalysis ซึ่งระบุว่า การโจมตีทางไซเบอร์ของเกาหลีเหนืออาจทำเงินได้มากถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว โดยในปี 2019 ยูเอ็นรายงานว่า เกาหลีเหนือได้สะสมเงินราว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการขีปนาวุธ ผ่านช่องทางโจมตีทางไซเบอร์ แม้เกาหลีเหนือ จะถูกนานาชาติคว่ำบาตรจากโครงการพัฒนาขีปนาวุธ ทว่ากิจกรรมจารกรรมทางไซเบอร์ของเกาหลีเหนือ ไม่เพียงแค่ปล้นเงินดิจิทัลเท่านัน แต่การโจมตีทางไซเบอร์ยังรวมถึงการแสวงหาข้อมูล เทคโนโลยี และองค์ความรู้จากต่างชาติด้วย ทั้งนี้ ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้ทำการทดสอบขีปนาวุธถึง 9 ครั้งในเดือนที่แล้วเพียงเดือนเดียว…

โลกใบใหม่

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ต้นปีของแต่ละปี สำนักวิจัยหรือโพลล์ต่าง ๆ จะเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นโดยการสุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มหนึ่งว่า มีทัศนะหรือมุมมองต่อประเทศของตนอย่างไร คิดว่าในปีนี้ ประเทศจะเจออะไรบ้างโดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนตามความรุนแรงของปัญหา โพลล์ในไทยก็มองอนาคตของประเทศในปีนี้ แต่สำนักโพลล์ต่างประเทศบางสำนักมองในภาพรวม ว่า ประชากรโลกมองโลกในปีใหม่ว่าจะเผชิญกับภัยคุกคาม หรือ ความเสี่ยงอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด และจัดความสำคัญเร่งด่วนที่โลกหรือรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ควรร่วมมือกันป้องกัน บรรเทา แก้ไขภัยคุกคามหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น อย่างไรบ้าง ในปี 2565 ก็เช่นกัน มีการเผยแพร่โพลล์สำนักต่าง ๆ ประเมินภัยคุกคาม หรือความเสี่ยงต่อโลกใบนี้ในมุมมองของประชากรโลกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสุ่มตัวอย่าง ซึ่งมุมของคนหนุ่มสาวกับผู้ใหญ่ (พิจารณาจากอายุ) มีทั้งเหมือนกันและต่างกัน แต่ที่น่าสนใจคือ คนเดี๋ยวนี้ไม่ได้คิดว่า สงครามและการสู้รบระหว่างประเทศจะเป็นภัยคุกคามหรือความเสี่ยงเผชิญหน้าในปี 2565 นัยหนึ่ง เขาแทบไม่ให้ความสนใจกับประเด็นนี้เลย และไม่ได้มองว่า จะเกิดสงครามขนาดใหญ่ ชาติใหญ่ทำท่าจะต่อยจะตีกัน แต่สุดท้ายก็ตกลงกันได้ แม้ว่าแต่ละชาติสะสมระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธนำวิถีมากมาย ซึ่งเท่ากับเป็นการ “ ป้องปราม “ และทำให้ชาตินิวเคลียร์เหล่านี้ยับยั้งชั่งใจ เพราะถ้าเกิดสงครามก็ตายกันหมด คนหนุ่มสาวสนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง การกินดีอยู่ดี ความมั่นคงในอาชีพของพวกเขามากกว่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะทุกคนอยากรวยเร็วด้วยกันทั้งนั้น บางครั้งก็ไม่คำนึงถึงวิธีการรวยเร็วว่าจะถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมหรือไม่อย่างไร เป็นที่เข้าใจได้ว่า…

‘เอ็นที’ ยก ‘5 เทรนด์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ โจมตีองค์กรยุคดิจิทัล

Loading

บริษัท เอ็นที โทรคมนาคม ในส่วนธุรกิจ เอ็นที ไซเฟ้น (NT Cyfence) ปล่อยบทวิเคราะห์ 5 เทรนด์ เกี่ยวกับไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและธุรกิจควรระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ วิกฤติโรคระบาดที่เป็นสาเหตุหลักให้ทั้งโลกตั้งปรับตัว การล็อกดาวน์ เวิร์คฟอร์มโฮม โซเชียลมีเดีย บล็อกเชน กลายเป็นปัจจัยที่วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันและธุรกิจ ขณะที่หลายองค์กรแทบจะส่งคืนสำนักงานที่เคยเช่า แล้วย้ายมาทำงานออนไลน์กันเกือบจะ 100% แต่โลกที่ดูเหมือนจะสะดวกสบายและเชื่อมถึงกันนี้ ทุกฝีก้าวก็กลับแฝงไว้ด้วยภัยร้ายจากเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ บริษัท เอ็นที โทรคมนาคม ในส่วนธุรกิจ เอ็นที ไซเฟ้น (NT Cyfence) วิเคราะห์ 5 เทรนด์ เกี่ยวกับไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและธุรกิจควรระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ 1.เอไอ คือเป็นตัวแปรสำคัญของไซเบอร์ซิเคียวริตี้ อดีตที่ผ่านมา “เอไอ” หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เคยถูกนำมาใช้ตรวจจับการฉ้อโกง และพฤติกรรมอันน่าสงสัยในธุรกิจการเงินและการธนาคาร และมันก็ให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจมากทีเดียว ดังนั้นปีนี้ หลายฝ่ายจึงเชื่อว่า เอไอ จะกลายเป็นเทรนด์และอาวุธสำคัญที่ใช้ตอบโต้และหยุดยั้งเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้ ผลศึกษาส่วนหนึ่งจาก Capgemini บริษัทผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจากฝรั่งเศส ระบุว่ากว่า 2…

10 แนวโน้ม Cybersecurity & Privacy Trends 2022-2024 | ปริญญา หอมเอนก

Loading

ดร.ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด เผย 10 แนวโน้มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ปี 2022-2024 ที่จะมีผลระยะสามปีนับจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อม รู้เท่านั้น จะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ Trend #1 : ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและความจำเป็นเร่งด่วนในการฉีดวัคซีนไซเบอร์ให้กับประชาชน Digital Inequality and Cyber Vaccination การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นเร่งด่วน ในการให้ความรู้ประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลก เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงต่างๆ ที่เข้ามาทางไซเบอร์ การฉีดวัคซีนไซเบอร์ให้กับประชาชน นับได้ว่าเป็นเรื่องจำเป็นของรัฐบาลทุกประเทศ และควรมีหน่วยงานรับผิดชอบต่อเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลให้แก่ประชาชนโดยตรง ด้วยการสร้างระบบในการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยไซเบอร์กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคุ้นชินและสามารถเผชิญเหตุได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคงปลอดภัยในระดับหนึ่ง สถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยในการเร่งให้เกิดกระบวนการ Digital Transformation ผนวกกับมาตรการล็อกดาวน์ที่ผ่านมาทำให้ประชาชนต้อง Work from Home ประเด็นเหล่านี้ต่างยิ่งทำให้ประชาชนจำเป็นต้องพึ่งพาระบบสารสนเทศทั้งสิ้น หากประชาชน และคนทำงานไม่มีความตระหนักรู้ ก็จะกลายเป็นช่องโหว่ให้ภัยไซเบอร์สามารถเข้าสู่ระบบได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญ เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพราะปัญหาทางไซเบอร์ไม่อาจแก้ได้โดยทางเทคนิคเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการที่ดีและการให้ความรู้กับประชาชนด้วย (Process and People,…

“บิ๊กปั๊ด” บินด่วนบึ้มยะลา ปรับแผนมวลชนเป็นหูเป็นตา

Loading

“เราต้องให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับเราให้มากขึ้น ในการป้องกันเหตุร้ายโดยมีการดูแลพื้นที่รอบบ้านของตนเองแต่ละหลัง กำหนดเป็นบล็อกๆ ขยับออกมาอีกหน่อยว่ามีสิ่งใด ผิดปกติ หรือหากเป็นบริษัท ร้านค้า ถ้ามี รปภ.ให้ตรวจออกมาในพื้นที่สาธารณะบริเวณโดยรอบพื้นที่ของท่าน เช่น มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด หากพบสิ่งของ สิ่งใดผิดสังเกตให้แจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน และตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคู่กัน” แนวทางของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ยุติเหตุป่วนพื้นที่ยะลา หลังสิ้นเสียงระเบิดป่วนเมืองหลายจุดในเขตเทศบาลนครยะลา วันที่ 28-29 ม.ค. พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ผู้ช่วย ผบ.ตร. บินด่วนลงพื้นที่ จ.ยะลา ตามคดี   วางแนวทางสืบสวนหาตัวคนร้ายมาดำเนินคดีโดยเร็วและปรับแผนการปฏิบัติฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ปกครอง และให้แสวงหาความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนให้ช่วยเป็นหูเป็นตา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ให้ช่วยกันดูแลพื้นที่หน้าบ้าน ข้างบ้าน ซ้ายขวาหน้า หลังบ้านของตัวเองเพื่อตรวจตราดูสิ่งแปลกปลอมทุกวัน   พื้นที่ส่วนกลาง ส่วนรวมในหมู่บ้านที่ช่วยกันดูแลได้ พื้นที่สาธารณะให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายร่วมกันตรวจป้องกัน เรื่องด่านตรวจ จุดตรวจรอยต่อเข้าเมืองต้องตรวจเข้มงวด มีการสังเกต ปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้ทันกับคนร้าย และต้องมีการเคลื่อนที่ของกำลังพลสายตรวจอยู่เป็นประจำในพื้นที่เสี่ยงต่างๆให้ครอบคลุมพื้นที่    …