Zoom เป็นเรื่อง โดนแฮกกลางประชุมสภา โผล่คลิป 18+ จากเกมขึ้นจอ

Loading

  ‘สว่างวาบเต็มจอ’ ในระหว่างที่บุคคลสำคัญระดับประเทศกำลังร่วมหารือเกี่ยวกับทางออกของประเทศกันอย่างเคร่งเครียด อยู่ดี ๆ ก็มี “Content มันส์ ๆ” โผล่กลางที่ประชุมอย่างอล่างฉ่าง คงเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่พอควร… สื่อ ANSA จากอิตาลีเผย ประชุมวุฒิสภาวุ่น !! หลังถูกมือดีแฮกห้อง Zoom แชร์คลิปวิดีโอ CGI ของ Tifa Lockhart จาก Final Fantasy VII เวอร์ชั่น 18+ (ที่สร้างขึ้นโดยแฟน ๆ เกมนี้ และไม่ใช่พี่คลาวด์ร่วมฉาก….) ในระหว่างหารือเกี่ยวกับการบริหารประเทศในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ที่มีทั้งวุฒิสภา ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ และยังมี Giorgio Parisi นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลเข้าร่วมด้วย   "the what, Naldush?""The Tifa Lockhart hentai video that was accidentally shown during a…

เตือนภัย! ตร.สหรัฐเผย “AirTag” ถูกใช้เป็นอุปกรณ์สะกดรอย

Loading

  ตำรวจทั่วสหรัฐได้รับการแจ้งความจากเหยื่อหลายรายว่าถูกคนร้ายสะกดรอยตามจาก “AirTag” อุปกรณ์เสริมสำหรับติดตามสิ่งของ “Apple” เม.ย. ปีที่แล้ว “Apple Inc.” บริษัทเทคโนโยลียักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ได้ออกผลิตภัณฑ์ “AirTag” อุปกรณ์ติดตามสิ่งของต่าง ๆ เช่น กุญแจ กระเป๋าสตางค์ โดยสามารถบอกตำแหน่งผ่านแอพพลิเคชั่น “ค้นหาของฉัน” (Find My) ด้วยระบบเครือข่ายค้นหาเฉพาะของ Apple ที่อยู่ตาม iPhone, iPad และ Mac หลายร้อยล้านเครื่องทั่วโลกที่จะช่วยติดตาม ไม่ว่า AirTag นั้นจะอยู่ตำแหน่งใดในโลกก็ตาม   AirTag พร้อมสายคล้องในแบบต่าง ๆ -เครดิตรูป: เว็บไซต์ Apple- Apple ได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะมีคนทำ AirTag ไปใช้ในการสะกดรอยตามบุคคลอื่น จึงได้ติดตั้งระบบมีการส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน (หากไม่ใช่ iPhone จะต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติม) หรือส่งเสียงเตือนในระดับ 60 เดซิเบล เมื่อมี AirTag อื่น ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของมาอยู่ใกล้กับผู้ใช้งานมากกว่า 8…

สหรัฐจี้กัมพูชาอธิบาย “เรือขุดลอกหลายลำ” ใกล้ฐานทัพเรือเรียม

Loading

  รัฐบาลวอชิงตันเรียกร้องรัฐบาลพนมเปญชี้แจง กรณีภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อไม่นานมานี้ ตรวจพบ “เรือขุดลอกหลายลำ” ใกล้กับฐานทัพเรือเรียม ฐานทัพขนาดใหญ่ที่สุดของกัมพูชา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ว่า ศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และระหว่างประเทศ (ซีเอสไอเอส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันวิชาการของสหรัฐ เผยแพร่รายงานพร้อมภาพถ่ายดาวเทียม ระบุวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา เผยให้เห็นเรือขุดลอกหลายลำในน่านน้ำอ่าวไทย ไม่ห่างจากชายฝั่งของฐานทัพเรือเรียม ที่จังหวัดพระสีหนุหรือสีหนุวิลล์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชาโดยเรือทยอยเดินทางมาถึงระหว่างวันที่ 13-15 ม.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นซีเอสไอเอสวิเคราะห์ว่า เป็นการปรับพื้นที่เพื่อเตรียมก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก สำหรับให้เรือขนาดใหญ่จอดเทียบท่า และมีความเป็นไปได้สูงมาก ว่าโครงการแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ข้อตกลงลับ” ระหว่างกัมพูชากับจีน ตามที่เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล เคยรายงาน เมื่อปี 2562 ว่าสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้จีนใช้ฐานทัพในระยะแรกได้นานถึง 30 ปี ก่อนมีการพิจารณาขยายระยะเวลาทุก 10 ปี โดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (พีแอลเอ) สามารถนำสินทรัพย์ทางทหาร ที่รวมถึงเรือรบและกำลังพลไม่จำกัดจำนวน เข้ามาติดตั้งและประจำการที่ฐานทัพเรือเรียม   Dredgers spotted off Cambodia’s…

ข้อมูลสำคัญ กู้คืนได้เร็ว หากโดน Ransomware โจมตี

Loading

ปี 2021 ถือได้ว่าเป็นปีแห่ง Ransomware โจมตีรุนแรงและรุกหนักมากที่สุด เพราะมันไม่ได้จ้องโจมตีแค่องค์กรที่มีผลกำไร แต่กำลังมุ่งเป้าโจมตีโครงสร้างพื้นฐานซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิต ประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น Colonial Pipeline บริษัทท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่ต้องปิดให้บริการท่อส่งระยะทาง 5,500 ไมล์ เป็นเวลา 5 วัน ส่งผลให้สถานีบริการน้ำมันกว่า 10,000 แห่ง ทั่วภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐไม่มีน้ำมันจำหน่าย บริษัทจำเป็นต้องกัดฟันจ่ายเงินให้กลับกลุ่มแรนซัมแวร์ Darkside มูลค่ากว่า 4.4 ล้านดอลล่าร์ เพื่อกู้ให้สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ในเดือนมิถุนายน JBS บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจ่ายเงินค่าไถ่ให้กับกลุ่ม Ransomware REvil มากกว่า 11 ล้านดอลล่าร์ ผ่านบิทคอยน์เพื่อไม่ให้การดำเนินงานภายในหยุดชะงัก และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับร้านอาหาร ร้านขายของชำและเกษตรกร อีกเคสหนึ่งที่น่าสนใจคือ Kaseya บริษัทสัญชาติไอร์แลนด์ผู้ให้บริการโซลูชั่นไอทีต่าง ๆ ทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ Managed Service Providers (MSP) ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และมีองค์กรกว่า 40,000 แห่งทั่วโลกใช้โซลูชันจาก Kaseya อย่างน้อยหนึ่งโซลูชัน…

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล และการกำหนดแบบเอกสารที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552

Loading

  เมื่อ 12 ตุลาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล และการกำหนดแบบเอกสารที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ทั้งนี้ ประกาศฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 12 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป  อ่านต่อ คลิก   คำแนะนำการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ปก-คำแนะนำ คำนำ สารบัญ คำแนะนำระเบียบฯ 52 ผนวก 1-1 ผนวก 1-2 ผนวก 2-1 ประกาศฯ หลักเกณฑ์การตรวจสอบประวัติฯ ผนวก 2-2 ประกาศฯ เจ้าหน้าที่ควบคุมการ รปภ. ผนวก 3 – ผนวก 9 คำแนะนำแบบ รปภ.1 คำแนะนำ แบบ รปภ.1…

สกมช. เปิดหลักสูตรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้บริหาร รุ่นที่ 1

Loading

  ปัจจุบันโลกของเราได้เข้าไปสู่ยุคดิจิทัลโดยสมบูรณ์ ทำให้ภัยคุกคามทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาจะเห็นได้จากข่าวการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก เช่น โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทขนส่งน้ำมัน ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารทั้งรัฐและเอกชน บริษัทประกันภัย และโรงพยาบาล เป็นต้น การโจมตีมีวัตถุประสงค์หลากหลาย อาทิ เพื่อก่อกวนให้ใช้งานระบบไม่ได้ หรือการโจมตีเพื่อขโมยข้อมูลด้วยแรนซัมแวร์ ซึ่งกลุ่มอาชญากรจารกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ทำการปิดกั้นข้อมูลเป็นตัวประกันจนกว่าบริษัทจะยอมจ่ายค่าไถ่หรือให้ผลประโยชน์ใด ๆ แก่ผู้ก่อเหตุ ดังนั้น บริษัทจึงต้องหยุดการทำงานในระบบทำให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการหรือดำเนินธุรกิจ และอาจหมายรวมถึงส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยมีแนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเชิงปริมาณและความรุนแรง ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ทำให้องค์กรต่าง ๆ มุ่งปรับเปลี่ยนรูปแบบไปสู่การทำงานระยะไกลเสมือนจริงผ่านการใช้งานพอร์ทัลแอปพลิเคชัน และเว็บแอปพลิเคชันเพื่อความสะดวกในการทำงาน ทำให้อาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากการที่ทุกคนต้องเว้นระยะห่างและทำงานจากนอกสถานที่ เจาะช่องโหว่ของระบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญ ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้นรัฐบาลตระหนักดีว่าต้องเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดังนั้น พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 จึงถูกบัญญัติขึ้น เพื่อรับมือ ป้องกัน และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบต่อหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ หรือ CII (Critical Information Infrastructure) อันจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในวงกว้างต่อไป สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) นำโดย…