ควบคุมการใช้ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) แบบไหนจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

Loading

  เมื่อการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ สามารถสร้างรายได้ สร้างชื่อเสียง ขณะเดียวกัน การนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องก็สามารถทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือสูญเสียทรัพย์สินได้ หลายประเทศจึงบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมดูแลการใช้ข้อมูลของภาคส่วนต่าง ๆ   ตั้งแต่มีการออก กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ General Data Protection Regulation: GDPR ของสหภาพยุโรป และบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 จนถึงการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ข้อมูลจากเว็บไซต์ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD) ระบุว่า มี 137 จาก 194 ประเทศที่ออกกฎหมายเพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีสัดส่วนการบังคับใช้กฎหมายแล้ว 57%   กฎควบคุมการใช้ Data มีอิมแพ็กต่อการลงทุน   รู้หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลต่อการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ…

เกาหลีใต้จัดฝึกซ้อมต่อต้านก่อการร้าย

Loading

  เกาหลีใต้จัดการฝึกซ้อมต่อต้านการก่อการร้ายประจำปี โดยจำลองสถานการณ์การถูกโจมตีด้วยระเบิดและสารเคมี ที่มีเจ้าหน้าที่เกือบ 300 นายเข้าร่วมการฝึก   เจ้าหน้าที่เกือบ 300 คนจาก 7 หน่วยงาน รวมถึง ตำรวจ ยามฝั่ง กระทรวงกลาโหม หน่วยดับเพลิง กระทรวงสิ่งแวดล้อม และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ เข้าร่วมการฝึกซ้อมการต่อต้านการก่อการร้าย ที่ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการนานาชาติเกาหลี หรือ คินเท็กซ์ ในเมืองโกยางในวันพฤหัสบดี   การฝึกซ้อมจำลองสถานการณ์การโจมตีด้วยวัตถุระเบิดและสารเคมี รวมถึงสถานการณ์จับตัวประกัน และไฟไหม้ นอกจากนี้ยังมีการใช้โดรนและหุ่นยนต์ในการตรวจหารเคมีและระเบิด และดับเพลิงอีกด้วย   นายกรัฐมนตรี ฮัน ด็อก-ซู กล่าวให้หน่วยงานที่เข้าร่วมการฝึกซ้อมระลึกอยู่เสมอว่า การปกป้องประชาชนเป็นหน้าที่อันดับแรกและสำคัญที่สุดของประเทศ   ในช่วงหลายสัปดาห์นี้เกาหลีใต้จัดการซ้อมรบทางทหารของกองทัพเกาหลีใต้ และการซ้อมรบร่วมกับชาติพันธมิตร ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดกับเกาหลีเหนือ     —————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                     …

ถาม-ตอบ : พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

  ผู้เขียนจะเล่าถึงพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๖๕ ที่เพิ่งประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้การทำงานและการให้บริการของภาครัฐ สามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก     ปัญหาและที่มา ปัญหาก่อนหน้านี้ คือ กฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับกำหนดให้การปฏิบัติราชการหรือการติดต่อกับประชาชนต้องใช้สำเนาหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือจำกัดวิธีหรือรูปแบบในการติดต่อราชการเฉพาะการติดต่อด้วยตัวบุคคล ณ สถานที่ทำการ หรือนำส่งเอกสารต่าง ๆ ทางไปรษณีย์   อันเป็นผลให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างเต็มรูปแบบ (ซึ่งที่ผ่านมาบางหน่วยงานที่ไม่มีข้อติดขัดทางกฎหมาย และข้อจำกัดทางงบประมาณได้มีการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการแล้วบ้าง)   ดังนั้น ที่มาของ พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์ คือ การตรากฎหมายกลางเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมาย   ใช้กับทุกหน่วยราชการหรือไม่? คำตอบ คือ “ไม่” โดย พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์จะใช้กับหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน ยกเว้น   (๑) รัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (๒) หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ (๓) หน่วยงานของรัฐในฝ่ายตุลาการ (๔) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (๕) องค์กรอัยการ และ (๖) หน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง  …

งามไส้! จับ “พ.ต.ท.-จนท.กระทรวง” ขายข้อมูลคนไทยให้แก๊งคอลฯ ได้เดือนละ 6 แสนบาท

Loading

  งามไส้! จับ “พ.ต.ท.-จนท.กระทรวง” ขายข้อมูลคนไทยให้แก๊งคอลฯ ได้เดือนละ 6 แสนบาท   วันที่ 28 ต.ค.65 ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เมืองทองธานี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.วริศร์สิริภ์ ลีละสิริ ผบก.สอท.2, พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองผบก.สอท.1 ร่วมกันเปิดเผยกรณีตรวจพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับขบวนการคอลเซ็นเตอร์ โดยได้มีการจับกุมดำเนินคดีไปแล้ว   พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กล่าวว่า จากปฏิบัติการ “เด็ดปีกมังกร” จับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาของทาง บช.สอท. สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 16 ราย เป็นกลุ่มรับจ้างเปิดบัญชีม้า 8 ราย กลุ่มรวบรวมบัญชีม้าเพื่อส่งต่อให้นายทุนชาวจีน 1 ราย และกลุ่มที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้ในการหลอกลวง 2 ราย   โดยระบุว่า ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้ในการหลอกลวง…

แผ่นดินไหว เขื่อนไทยปลอดภัยด้วย ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน

Loading

  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ความตื่นตระหนกของประชาชนที่เป็นห่วงสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ที่อาจจะเกิดการร้าวหรือพังได้ นั่นก็คือ เขื่อนแตก และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบเพื่อความมั่นใจ   ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน หรือ DS-RMS (Dam Safety Remote Monitoring System) เป็นระบบที่ กฟผ. ร่วมกับ เนคเทคพัฒนาขึ้น โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับเทคโนโลยีของเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน มาบูรณาการใช้ในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในด้านความมั่นคงปลอดภัยในเขื่อนใหญ่ ของ กฟผ.   ปัจจุบันใช้ในการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเขื่อนขนาดใหญ่ของ กฟผ. จำนวน 14 เขื่อน (จากทั้งหมด 35 เขื่อน) อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนปากมูล เขื่อนรัชชประภา   ทีมงานพัฒนาระบบตรวจสุขภาพเขื่อนให้สามารถสื่อสารข้อมูลจากเครื่องมือวัดต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ ทั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน แผ่นดินไหว และ น้ำหลาก ที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนและรอบอ่างเก็บน้ำ ไปยังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  …

“ประวิตร” ถก รักษาความปลอดภัย “เอเปค” เคาะ แผนต้านก่อการร้าย คุมเข้มเชิงรุก

Loading

  “ประวิตร” ถก อนุฯ รักษาความปลอดภัยประชุมเอเปค เห็นชอบแผนเผชิญเหตุ ต่อต้านการก่อการร้าย วางแนวทางป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ สั่ง ตั้งศูนย์อำนวยการฯ ประสานการทำงานทุกหน่วย เฝ้าระวัง ไม่ประมาท ปฏิบัติตามหลักสากล คุมเข้มบุคคล-สถานที่ ด้วยมาตรการเชิงรุก   พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจร เพื่อเตรียมความพร้อมจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธาน ปี 65 ผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ     โดยที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์ด้านการข่าวที่เกี่ยวข้อง และร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบ แผนการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัยในการจราจร การส่งกลับสายแพทย์และการปฏิบัติด้านสาธารณสุข แผนเผชิญเหตุต่อต้านการก่อการร้าย การกำหนดแนวทางป้องกันภัยคุกคามและการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งแนวทางการปิดพื้นที่และเส้นทางการจราจร การขนส่งในพื้นที่ระหว่างจัดการประชุม     ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กำชับขอให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัยและการจราจร ประสานการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงานอย่างใกล้ชิด โดยย้ำเฝ้าระวังไม่ประมาท และการปฏิบัติการทุกขั้นตอน ขอให้เป็นไปตามหลักสากล ตั้งแต่เตรียมการต่อเนื่องไปจนจบการประชุมและเดินทางกลับ และให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานด้านการข่าว และการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนให้มากขึ้น     นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังได้สั่งการ ให้คุมเข้มการรักษาความปลอดภัยทั้งบุคคลและสถานที่รวมทั้งเส้นทางในทุกกลุ่มที่เข้าร่วมประชุม…