โซมาเลียเตือนการแพร่โฆษณาชวนเชื่อของอัล-ชาบับ “ผิดกฎหมาย”

Loading

  รัฐบาลโซมาเลียเตือนทุกฝ่าย ว่าการเผยแพร่และครอบครองสื่อโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มอัล-ชาบับ “ผิดกฎหมาย”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโมกาดิชู ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ว่า กระทรวงข่าวสารของโซมาเลียออกแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า นับจากนี้เป็นต้นไป ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของกลุ่มอัล-ชาบับ ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่อุดมการณ์ หรือรายงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทั้งหมดของกลุ่มอัล-ชาบับ “ถือเป็นอาชญากรรม” ดังนั้น บุคคลและหน่วยงานซึ่งเผยแพร่ หรือมีเนื้อหาดังกล่าวอยู่ในครอบครองถือว่า “ผิดกฎหมาย”   Somalia warns media not to publish al-Shabab propaganda https://t.co/Z4mnyig6Ld — Al Jazeera English (@AJEnglish) October 8, 2022   ขณะเดียวกัน หน่วยงานด้านไซเบอร์ของรัฐบาลปฏิบัติการปิดกั้น และระงับการใช้งานบัญชีสังคมออนไลน์ “ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย” ไปแล้วมากกว่า 40 รายการ เมื่อไม่นานมานี้ โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้น หลังกลุ่มอัล-ชาบับ ก่อเหตุยึดโรงแรมในกรุงโมกาดิชู เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และเหตุการณ์ยุติหลังผ่านไปประมาณ…

สะพานเชื่อมรัสเซีย-ไครเมียสำคัญอย่างไร ใครอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด

Loading

  ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา (8 ตุลาคม) ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ขึ้นในจุดที่สำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมไครเมีย นั่นคือ ‘สะพานเคิร์ช’ (Kerch Bridge) สะพานที่ทอดพาดผ่านช่องแคบเคิร์ช เชื่อมระหว่างรัสเซียและดินแดนไครเมีย เป็นสะพานที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการผนวกรวมไครเมีย (ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2014   เกิดอะไรขึ้นบนสะพานเคิร์ช   คณะกรรมการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติของรัสเซียระบุว่า เหตุระเบิดบนสะพานดังกล่าวเกิดจากรถบรรทุกคันหนึ่งระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้โครงสร้างบางส่วนของสะพานถูกทำลาย เบื้องต้นตรวจสอบพบว่า รถบรรทุกคันดังกล่าวจดทะเบียนในพื้นที่ทางตอนใต้ของรัสเซีย   ทางการรัสเซียได้ตั้งทีมตรวจสอบเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศผนวกรวมดินแดนของยูเครน (โดเนตสก์, ลูฮันสก์, ซาปอริซเซีย และเคอร์ซอน) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียและชี้ว่าดินแดนเหล่านี้จะอยู่กับรัสเซียตลอดไป รวมถึงขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ปกป้องดินแดนใหม่ของรัสเซีย   อีกทั้งเหตุระเบิดดังกล่าวยังเกิดขึ้นภายหลังจากวันเกิดครบรอบ 70 ปีของปูตินได้เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น สร้างแรงกดดันและความท้าทายให้กับผู้นำรัสเซียไม่มากก็น้อย   ท่าทีและผลกระทบจากแรงระเบิด   แรงระเบิดเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย โครงสร้างบางส่วนของสะพานที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมของรถยนต์ได้รับความเสียหาย หักและพังทลายลงยังผืนน้ำเบื้องล่าง ถนนบางเลนแม้จะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง แต่ก็ยังพอจะสามารถสัญจรไปมาได้ อาจพบการจราจรติดขัดและล่าช้าในบางช่วง…

โลก ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ สะเทือน เมื่อ ’ควอนตัม’ เจาะการเข้ารหัสข้อมูลได้

Loading

จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้ ไอบีเอ็ม ไขคำตอบเรื่องนี้!!!   วันนี้ความสามารถของ “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และอาจจะเร็วกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ไว้เมื่อห้าปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี การพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงถือเป็นหนึ่งในความท้าทายสูงสุดทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดประตูสู่การแก้ปัญหาสำคัญๆ   อาทิ การพัฒนาแบตเตอรีรูปแบบใหม่ที่มีน้ำหนักเบาแต่ทรงพลังกว่าลิเธียมไอออนในปัจจุบัน การวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลเพื่อหาวัสดุทางเลือก การวิเคราะห์การจัดสรรพอร์ตการลงทุน รวมถึงการต่อกรกับความท้าทายทั้งเรื่องสภาพอากาศและเน็ตซีโรแล้ว ควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังจะเป็นพลังประมวลผลมหาศาลที่เข้าต่อยอดเทคโนโลยีอย่างเอไอหรือสนับสนุนการวิจัยทางชีววิทยาการแพทย์     เมื่อควอนตัมเจาะรหัสข้อมูล   สุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ไขประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อมีการตั้งคำถามว่า จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้   “ทุกวันนี้การเข้ารหัสคือเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การส่งอีเมล การซื้อของออนไลน์ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลโดยใช้ดิจิทัล ซิกเนเจอร์ หรือที่เรียกกันว่าลายเซ็นดิจิทัล หากระบบการเข้ารหัสถูกเจาะได้ ย่อมเกิดผลกระทบต่อทั้งองค์กรและผู้บริโภคในวงกว้าง”   สุรฤทธิ์ กล่าวว่า ความก้าวล้ำของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้…

ปูแผนซีเคียวริตี้ เอเปค 2022 ตร.-กองทัพระดม “มือพระกาฬ”

Loading

  หากการจัดประชุมผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปค วันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 นี้ผ่านพ้นไปด้วยดี นอกจากสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยแล้ว ยังมุ่งหวังพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ซึ่งจะเป็นผลงานชิ้นส่งท้ายของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก่อนยุบสภา   งวดเข้ามาทุกขณะ กับการประชุมผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC 2022) ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน   อีกไม่กี่วันนับจากนี้ “ประเทศไทย” จะกลายเป็นศูนย์รวมของ ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปค ที่จะมาพบหน้ากันครั้งแรกอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจ อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย เป็นต้น หลังก่อนหน้านี้ “โควิด-19”…

ทันใจปูติน!! รัสเซียกลับมาเปิดใช้สะพานไครเมียอีกครั้ง รักษาความปลอดภัยเข้ม หลังเจอระเบิดเสียหายหนัก

Loading

  ขบวนรถไฟโดยสารซึ่งกลับมาให้บริการอีกครั้ง แล่นอยู่บนสะพานเคิร์ช ที่เชื่อมระหว่างแหลมไครเมียกับแผ่นดินใหญ่รัสเซีย เมื่อวันอาทิตย์ (9 ต.ค.) ขณะวิ่งเข้าไปใกล้ๆ ขบวนรถไฟบรรทุกเชื้อเพลิงที่ถูกพระเพลิงเผาผลาญ จอดแน่นิ่งอยู่ที่ทางรถไฟอีกรางหนึ่ง เนื่องจากแรงระเบิดซึ่งเกิดขึ้นในวันเสาร์ (8) โดยที่ด้านล่างลงมา สามารถมองเห็นส่วนที่เป็นถนนของสะพานนี้ซึ่งขาดและหล่นลงไปในทะเล   ปูตินออกคำสั่งคุมเข้มรักษาความปลอดภัย ขณะรัสเซียเร่งดำเนินการสอบสวนในวันอาทิตย์ (9 ต.ค.) พร้อมกับรีบฟื้นการเดินทางด้วยรถไฟและการสัญจรทางถนนบางส่วนบนสะพานใหญ่ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อสายสำคัญมากระหว่างแผ่นดินใหญ่รัสเซียกับแหลมไครเมีย หลังจากเมื่อวันเสาร์ (8) เกิดเหตุวินาศกรรมคนร้ายใช้ “ระเบิดรถบรรทุก” ทำลายตัวสะพานได้รับความเสียหายไปบางส่วน ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งยูเครนระบุว่า รัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตีเมืองซาโปริซเซีย ซึ่งยังอยู่ในความควบคุมของเคียฟในตอนเช้ามืดวันอาทิตย์ ทำให้กลุ่มอาคารที่พักอาศัยได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 คน บาดเจ็บ 87 คน   หลังเหตุระเบิด “สะพานไครเมีย” หรือ “สะพานเคิร์ช” ความยาว 19 กิโลเมตร ที่ทอดยาวข้ามเหนือช่องแคบเคิร์ชเมื่อวันเสาร์ (8) บรรดาเจ้าหน้าที่ยูเครนต่างออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างยินดีแต่ไม่มีการประกาศความรับผิดชอบ ขณะที่รัสเซียยังไม่ได้ชี้นิ้วกล่าวหาใครทันทีเช่นเดียวกัน   ด้านรองนายกรัฐมนตรีมารัต คุสนุลลิน ของรัสเซีย แถลงในวันอาทิตย์ว่า นักประดาน้ำแดนหมีขาวเริ่มสำรวจความเสียหายส่วนใต้น้ำของสะพานตั้งแต่เช้าวันอาทิตย์ และคาดว่า การสำรวจเหนือเส้นระดับน้ำข้างเรือ…

Lufthansa ไม่ได้เพิ่งแบนการใช้ AirTag ในกระเป๋าเดินทาง แต่กฎการบินสากลระบุห้ามโหลดอุปกรณ์ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมใต้เครื่อง

Loading

    สัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวจากเว็บ One Mile at a Time พาดหัวระบุว่าสายการบิน Lufthansa แบนการใช้ AirTag ติดตามกระเป๋าเดินทาง รูปแบบการรายงานและเนื้อหาชวนให้เข้าใจว่าทางสายการบินเพิ่งตัดสินใจว่าจะแบนการโหลด AirTag ไปกับกระเป๋าเดินทางนับแต่ตอนนี้เป็นต้นไป และตั้งคำถามไปว่าสายการบินอื่น ๆ จะทำตามหรือไม่   ต้นทางของข่าวนี้มาจากเว็บ Watson.de สื่อออนไลน์ในเยอรมนีที่ตั้งข้อสงสัยว่าการโหลด AirTag ไปกับกระเป๋าเดินทางใต้เครื่องนั้นทำได้หรือไม่ ทางโฆษกของสายการบิน Lufthansa ตอบกลับโดยอ้างอิงกฎการเดินทางขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ระบุชัดเจนว่าอุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมนั้นต้องถือขึ้นเครื่องไปกับผู้โดยสายเท่านั้น หรือหากจะโหลดใต้เครื่องได้จะต้องปิดการทำงานอย่างสมบูรณ์   กฎความปลอดภัยของ ICAO ออกมาตั้งแต่ปี 2017 สี่ปีก่อนที่ AirTag จะเปิดตัว ครอบคลุมตั้งแต่อุปกรณ์ขนาดเล็กเช่นนาฬิกาไปจนถึงอุปกรณ์ขนาดใหญ่เช่นโน้ตบุ๊ก แต่จำกัดเฉพาะแบตเตอรี่ลิเธียมเท่านั้น น่าสนใจว่าแบตเตอรี่ CR2032 ที่ AirTag ใช้งานนั้นแม้ส่วนมากในตลาดจะเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมแต่ก็มีแบบ Alkaline ขายอยู่ด้วยหากเปลี่ยนชนิดแบตเตอรี่แล้วตามกฎความปลอดภัยนี้ก็อาจจะไม่ขัด แม้จะมีกฎอื่น ๆ เช่นการส่งสัญญาณวิทยุที่อาจจะขัดกฎจากหน่วยงานอื่นอยู่ดีก็ตาม   ทาง Watson.de ยังถามไปยังสนามบินหลายแห่งในเยอรมนี…