วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ว่าปลอดภัยหรือไม่ ขณะท่องเว็บไม่ว่าจะชมเว็บไซต์ผ่านทางแล็ปท็อป พีซี หรือบนสมาร์ทโฟน เป็นเรื่องง่ายที่จะเผลอเข้าเว็บไซต์ปลอม หลอกลวง โฆษณา หรือเว็บอันตรายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการชมเว็บไซต์บนอุปกรณ์ไอทีของคุณ และรวมถึงข้อมูลสำคัญบนอุปกรณ์ของคุณด้วย มาดูวิธีตรวจสอบเว็บไซต์กันว่าปลอดภัยหรือไม่
วิธีตรวจสอบว่าเว็บไซต์ปลอดภัยหรือไม่ ตรวจสอบเว็บปลอม
1. ตรวจสอบที่อยู่เว็บไซต์ว่าพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ ?
ตัวอย่างเช่น ชื่อแบรนด์หากคุณอยู่ในเว็บไซต์หลอกลวง เช่น “homedep0t” เป็นเว็บไซต์ปลอม แทนที่จะเป็นแบรนด์จริงคือ “homedepot”
นอกเหนือจากนี้ ที่อยู่เว็บที่ใช้ “http” แทน “https” ที่ส่วนต้นของ URL ก็อาจไม่ปลอดภัยเช่นกัน เนื่องจาก Hypertext Transfer Protocol Secure (HTTPS) ได้รับการออกแบบมาสำหรับการถ่ายโอนข้อมูลและการสื่อสารที่ปลอดภัยผ่านเครือข่าย ในขณะที่ HTTP ไม่ใช่
Hypertext Transfer Protocol Secure เข้ารหัสคำขอ HTTP เพื่อให้ประสบการณ์การท่องเว็บของคุณมีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยยิ่งขึ้น แม้ว่าไม่ใช่ทุกเว็บไซต์ที่ใช้ HTTP แทน HTTPS จะไม่ปลอดภัยแต่หลาย ๆ เว็บไซต์ก็ปลอดภัยดี ดังนั้น หากคุณสังเกตเห็นว่าเว็บไซต์ที่คุณเข้าชมไม่ได้ใช้ https คุณควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และอย่าป้อนข้อมูลส่วนตัวใดๆ เป็นอันขาด
2. ตรวจหาไอคอน LOCK จากหน้าที่อยู่เว็บไซต์
หากมีสัญลักษณ์แม่กุญแจ แสดงว่าเว็บไซต์ที่คุณใช้งานอยู่นั้นใช้ Hypertext Transfer Protocol Secure หรือ https
ถ้าไม่มีไอคอนแม่กุญแจ หรือมีสัญลักษณ์เตือนหรือเครื่องหมายกากบาทอยู่ข้างๆ แสดงว่าเว็บไซต์ไม่ได้ใช้ Hypertext Transfer Protocol Secure (https) ดังนั้นเบราว์เซอร์จึงไม่ถือว่าปลอดภัย
3. ตรวจสอบอายุโดเมนเว็บไซต์
เนื่องจากโดเมนมักถูกซื้อก่อนการสร้างเว็บไซต์ จึงสามารถให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับอายุของเว็บไซต์ได้ เมื่อดูเหมือนว่าคุณท่องเว็บไซต์ดังมีชื่อเสียง แต่คุณสงสัยว่าอาจเป็นเว็บไซต์หลอกลวง ตัวอย่างเช่น หากคุณอยู่บนไซต์ที่คุณคิดว่าเป็นเว็บไซต์ทางการของ Walmart แต่อายุโดเมนน้อย ไม่กี่เดือน สัปดาห์ หรือวัน เป็นไปได้ว่าไซต์นั้นเป็นแบบจำลองหน้าเว็บเพื่อหลอกลวงผู้ใช้จากข้อมูลการชำระเงิน หรือขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอื่น ๆ
สามารถตรวจสอบอายุของโดเมนได้ ที่เว็บ SEO Tools และ Duplichecker
4. ตรวจสอบโซเชียลและรีวิวของบริษัท
หากบริษัทไม่มีโซเชียลมีเดียรูปแบบใดๆ มีผู้ติดตามเพียงไม่กี่คน หรือโพสต์เนื้อหาที่ผิดปกติหรือน่าสงสัย อาจมีบางอย่างที่มีลักษณะเป็นเว็บปลอมอยู่เบื้องหลัง หากอ่าานรีวิวบนโซเชียลแล้วพบว่า มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดส่งและการบริการลูกค้าที่ไม่ดี โปรดหลีกเลี่ยงการใช้เว็บนี้
5. ตรวจสอบเว็บไซต์เอง มองหาข้อผิดพลาดบนเว็บไซต์
หากผู้สร้างเว็บไซต์ไม่ได้ตรวจสอบเว็บไซต์หลอกลวงหรือสแกมอย่างละเอียดก่อนเผยแพร่ คุณก็จะมองเห็นช่องโหว่และตรวจหาสิ่งหลอกลวงได้ง่าย คุณควรตรวจสอบสะกดคำผิด ตรวจสอบราคาของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่นำเสนอ โดยเว็บไซต์หลอกลวงหลายแห่งมักนำเสนอมีราคาที่ต่ำมาก ดีเกินจริง ถูกเกินไป
6. ตรวจสอบใครเป็นเจ้าของโดเมน
เจ้าของโดเมนสามารถเป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่ดีว่าเว็บไซต์นั้นปลอดภัยหรือไม่ โดเมนของเว็บไซต์อย่างเป็นทางการมักจะเป็นของบริษัทโดเมนขนาดใหญ่ที่คุณสามารถค้นหาได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น หากคุณค้นหาชื่อเจ้าของโดเมนและคุณพบบทความเกี่ยวกับการหลอกลวงหรือไม่พบผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องเลย คุณก็มีแนวโน้มสูงที่จะอยู่ในเว็บไซต์หลอกลวงที่มีโดเมนเป็นของนักต้มตุ๋น
มีเว็บไซต์ที่คุณสามารถใช้เพื่อค้นหาเจ้าของโดเมน เช่น GoDaddy’s WHOIS domain checker ซึ่งสามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดเกี่ยวกับโดเมนแก่คุณได้อย่างรวดเร็ว และยังมีเว็บไซต์อื่นๆที่ตรวจสอบได้เช่นกัน เช่น WHOIS. ICANN. Shopify WHOIS. เป็นต้น
อ้างอิง Makeuseof
————————————————————————————————————————————————————————————————–
ที่มา : ไอที 24 ชั่วโมง / วันที่เผยแพร่ 11 ม.ค.66
Link : https://www.it24hrs.com/2023/how-to-check-website-secure/