ผู้นำเกาหลีใต้ขู่พร้อมยกเลิกสนธิสัญญาทางทหาร หากเกาหลีเหนือรั้นส่งโดรนป่วนน่านฟ้าอีก

Loading

  วันที่ 4 มกราคม ประธานาธิบดียุนซอกยอลแห่งเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เขาพร้อมพิจารณาระงับสนธิสัญญาทางทหารระหว่างสองเกาหลีที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2018 หากเกาหลีเหนือส่งโดรนรุกล้ำน่านฟ้าของเกาหลีใต้อีกครั้ง   คำกล่าวของยุนมีขึ้นหลังจากที่เขาได้ร่วมประชุมเพื่อกำหนดมาตรการตอบโต้ต่อเกาหลีเหนือ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกาหลีเหนือได้ส่งโดรนขนาดเล็กหลายลำรุกล้ำน่านฟ้าของเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 5 ปี ขณะที่ฝั่งเกาหลีใต้ได้ส่งโดรน 3 ลำเข้าไปในเกาหลีเหนือเพื่อเป็นการตอบโต้   คิมอึนเฮ เลขาธิการอาวุโสฝ่ายกิจการสื่อของยุน เปิดเผยว่า “ในระหว่างการประชุม ท่านประธานาธิบดีสั่งการให้สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาระงับข้อตกลงทางทหาร หากเกาหลีเหนือยังดึงดันกระทำการยั่วยุด้วยการบุกรุกดินแดนของเราอีกครั้ง”   ย้อนกลับไปเมื่อปี 2018 คิมจองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ และอดีตประธานาธิบดีมุนแจอินแห่งเกาหลีใต้ ได้ร่วมกันทำข้อตกลงฉบับหนึ่งขึ้นมา โดยเรียกร้องให้มีการยุติ ‘การกระทำที่เป็นปรปักษ์ทุกรูปแบบ’ รวมถึงจัดตั้งเขตห้ามบินตามแนวพรมแดน และร่วมกันเก็บกู้ทุ่นระเบิดในเขตปลอดทหาร (Demilitarized Zone) แต่ถึงเช่นนั้นข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นสนธิสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการ   การยกเลิกสนธิสัญญาทางทหารนี้อาจทำให้ทั้งสองประเทศส่งทหารกลับมาประจำการอีกครั้ง รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่จะจัดการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงในเขตห้ามบิน และการส่งใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อข้ามพรมแดน ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่ทำให้ฝั่งเกาหลีเหนือโกรธเกรี้ยวอย่างมากจนมีการงัดใช้มาตรการตอบโต้หลายครั้งก่อนที่จะมีการทำข้อตกลงนี้   นักวิเคราะห์ระบุว่า แม้ความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลีจะมีปัญหามายาวนานหลายทศวรรษ แต่สถานการณ์กลับยิ่งตึงเครียดมากขึ้น นับตั้งแต่ยุนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเขาเป็นผู้นำที่ให้คำมั่นว่าจะใช้ไม้แข็งเพื่อจัดการกับการยั่วยุของเกาหลีเหนือ โดยในระหว่างการหาเสียงเมื่อปีที่แล้ว ยุนกล่าวว่าเกาหลีเหนือได้กระทำการละเมิดข้อตกลงหลายครั้งจากการกระหน่ำทดสอบยิงขีปนาวุธ และเตือนว่าเขาพร้อมคว่ำข้อตกลงหากชนะการเลือกตั้ง และหลังจากที่ขึ้นครองตำแหน่งผู้นำประเทศแล้ว เขากล่าวว่าชะตากรรมของสนธิสัญญานี้ขึ้นอยู่กับความประพฤติของเกาหลีเหนือเอง    …

ศาลสหรัฐสั่งจำคุกชาวนิวยอร์กผู้ขโมยความลับทางการค้า “เจเนอรัล อิเล็กทริก” ให้จีน

Loading

  กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเปิดเผยว่า ชายชาวนิวยอร์กคนหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 2 ปีในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการขโมยความลับทางการค้าของบริษัทเจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) เพื่อผลประโยชน์ต่อจีน   กระทรวงฯ ระบุว่า นายเสี่ยวฉิง เจิง วัย 59 ปี จากเมืองนิสกายูนา รัฐนิวยอร์ก ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดกระทำการจารกรรมทางเศรษฐกิจ หลังการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งสิ้นสุดลงในเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว นอกจากนี้ นางแมร์ ดีอาโกสติโน ผู้พิพากษาเขตของสหรัฐยังสั่งปรับนายเจิงอีก 7,500 ดอลลาร์และถูกคุมประพฤติอีก 1 ปีหลังออกจากคุก   เจ้าหน้าที่สหรัฐระบุว่า รัฐบาลจีนเป็นภัยคุกคามระยะยาวที่ใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของสหรัฐ และกำลังดำเนินการขโมยเทคโนโลยีที่สำคัญจากธุรกิจและนักวิจัยของสหรัฐในลักษณะที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งเบื้องต้นจีนปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว   ทั้งนี้ กระทรวงฯ เผยว่า นายเจิงทำงานอยู่ที่บริษัทจีอี พาวเวอร์ ในเมืองสเกอเนคเทอดี รัฐนิวยอร์กในตำแหน่งวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการซีลกังหัน โดยเขาทำงานที่จีอีมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงช่วงฤดูร้อนปี 2561   กระทรวงฯ เสริมว่า หลักฐานในการพิจารณาคดีแสดงให้เห็นว่า นายเจิงและพรรคพวกในประเทศจีนสมรู้ร่วมคิดกันวางแผนขโมยความลับทางการค้าของจีอีเกี่ยวกับเทคโนโลยีกังหันที่ใช้สำหรับภาคพื้นดินและการบิน เพื่อผลประโยชน์ต่อจีน รวมถึงบริษัทและมหาวิทยาลัยในจีนที่ทำการวิจัยและผลิตชิ้นส่วนสำหรับกังหัน…

“มัสยิดอัล-อักซอ” ชนวนขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์

Loading

  แนวโน้มความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อาจปะทุขึ้นอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ หลังรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ที่เพิ่งจะสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ได้เดินทางไปยังมัสยิดอัล-อักซอ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมที่ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองเก่าของนครเยรูซาเลม และยังเป็นหนึ่งในพื้นที่เปราะบางที่สุดในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มฮามาสออกมาประณามและระบุว่าการกระทำนี้เป็นการยั่วยุ และ เหตุการณ์นี้จะก่อให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่หรือไม่   ภาพของรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ “อิตามาร์ เบน กวีร์” ที่กำลังเดินเข้าไปในบริเวณมัสยิดอัล-อักซอ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของนครเยรูซาเล็ม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่น     เบน กวีร์เป็นหนึ่งในคนที่มีแนวคิดขวาจัด เขามาจากพรรคพลังชาวยิว (Jewish Power) ซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรลัทธิไซออนิสต์เคร่งศาสนา และเพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา   มีรายงานว่าเบน กวีร์ เดินทางไปมัสยิดอัล-อักซอในช่วงเวลาเช้าตรู่ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการละหมาด   เบน กวีร์ใช้เวลาอยู่ภายในมัสยิดอัล-อักซอไม่นาน ก่อนจะทวีตภาพตัวเองบนบัญชีทวิตเตอร์พร้อมกับเขียนข้อความที่มีระบุถึง Temple Mount หรือ เนินพระวิหาร ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวยิวใช้เรียกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้   เขาให้สัมภาษณ์สั้นๆ กับสื่อมวลชน ระบุว่า รัฐบาลอิสราเอลจะไม่ยอมยกสถานที่แห่งนี้ให้กับองค์กรอาชญากรรม   โฆษกของกลุ่มฮามาส ซึ่งปกครองพื้นที่ฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ออกมาแถลงการณ์ประณามทันที…

“สกมช.”ห่วงหน่วยงานรัฐขาดผู้บริหารด้านไอที

Loading

  เผย หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ยังขาดผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามที่กฎหมายกกำหนดให้ต้องมี เพื่อป้องกันและบริหารความเสี่ยงด้านภัยไซเบอร์ เร่งจัดอบรมและประสานหน่วยงานต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เปิดเผยว่า กฎหมายลูกของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ได้บังคับให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (ซีไอไอ) ของประเทศ เช่น ด้านการเงิน โทรคมนาคม  สาธารณูปโภค สาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ  ต้องมีตำแหน่งผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือซิโซ่ (CISO) เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับหน่วยงาน ให้ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและป้องกันความเสี่ยง และผลกระทบต่อที่อาจเกิดขึ้น กรณีถูกโจมตีจนเกิดความเสียหายต่อระบบ ทำให้บริการหรือธุรกิจหยุดชะงัก จนส่งผลต่อประชาชนในวงกว้าง   อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบางหน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ยังไม่มีการตั้งบุคคลมาดำรงตำแหน่งนี้ เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ที่จะขึ้นมาในระดับผู้บริหาร ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นภาคเอกชน เช่น สถาบันการเงิน ฯลฯ ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีบุคลากรที่พร้อมกว่า รวมถึงมีงบประมาณในการจ้างผู้เชี่ยวชาญในส่วนนี้ ให้มาทำงานได้ ซึ่งที่ผ่านมาทาง สกมช. ก็ได้เร่งแก้ปัญหาในกับหน่วยงานรัฐ ด้วยการเปิดหลักสูตรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระดับผู้บริหาร (เอ็กซ์คูลซีฟ ซิโซ่) ในรุ่นที่ 1 ซึ่งมีผู้บริหารหน่วยงานรัฐ สำเร็จจบหลักสูตรแล้ว 69 คน   พล.อ.ต.อมร กล่าวต่อว่า ทาง สกมช. ได้พยายามประสานและแจ้งหน่วยงานเหล่านี้แล้ว…

เรียกร้องลงโทษผู้บังคับบัญชา เลินเล่อเก็บกระสุนในอาคารเดียวกับค่ายพัก ทำให้ทหารรัสเซียดับ 63 เมื่อยูเครนใช้จรวดมะกันถล่มใส่

Loading

  ผู้ร่วมไว้อาลัยชุมนุมกันที่เมืองซามารา ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย เมื่อวันอังคาร (3 ม.ค.) ในพิธีรำลึกถึงทหารรัสเซีย 63 คน ซึ่งกระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่า เสียชีวิตในเมืองมาคีอีฟกา ในแคว้นโดเนตสก์ ของยูเครน ภายหลังยูเครนยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS ถล่มใส่เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม   กลุ่มชาตินิยมและสมาชิกสภารัสเซียบางคนเรียกร้องให้ลงโทษผู้บังคับบัญชาทหารที่ปล่อยให้มีการจัดเก็บเครื่องกระสุนในอาคารเดียวกับที่เป็นค่ายพัก ส่งผลให้ทหารรัสเซียเสียชีวิตถึง 63 นาย หลังถูกยูเครนใช้เครื่องยิงจรวด HIMARS ผลิตในสหรัฐฯ ถล่มใส่ ขณะที่เซเลนสกี ชี้รัสเซียเตรียมเปลี่ยนยุทธวิธีใช้โดรนอิหร่านโจมตียูเครนเพื่อเดินหน้ากดดันเคียฟหลังจากเพลี่ยงพล้ำในการต่อสู้ในสนามรบตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา   ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวระหว่างปราศรัยเมื่อคืนวันจันทร์ (2 ม.ค.) ว่า ยูเครนได้รับข้อมูลมาว่า รัสเซียกำลังวางแผนโจมตีระยะยาวด้วยโดรนติดระเบิดที่ผลิตโดยอิหร่าน โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายการต้านทานของยูเครน ด้วยการทำให้ประชาชน กองทัพอากาศ และพลังงานของยูเครนอ่อนล้า   ทั้งนี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ตะวันตกจัดหาให้ยูเครนทำให้เครื่องบินรบของรัสเซียโจมตีด้วยขีปนาวุธได้ยากขึ้น แต่โดรนติดระเบิดที่ผลิตในอิหร่านเป็นอาวุธที่มีต้นทุนต่ำและสร้างความหวาดกลัวทั้งในหมู่ทหารและพลเรือน   ทางด้านสถาบันเพื่อการศึกษาสงครามระบุว่า ปูตินกำลังพยายามเสริมสร้างการสนับสนุนในบรรดาบุคคลสำคัญในรัสเซีย   กลุ่มคลังสมองซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ แห่งนี้สำทับว่า การโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซียไม่ได้ทำให้เกิดผลลัพธ์ในแง่ข้อมูลต่อกลุ่มชาตินิยมในรัสเซียตามที่เครมลินต้องการ และความล้มเหลวของกองทัพรัสเซียจะทำให้ความพยายามของปูตินในการเอาใจชุมชนที่สนับสนุนสงครามซับซ้อนยิ่งขึ้น  …

LockBit อ้างความรับผิดชอบโจมตีไซเบอร์ต่อท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป

Loading

  ท่าเรือลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ซึ่งท่าเรือทางทะเลที่คับคั่งมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ จนระบบดิจิทัลหลายตัวล่ม แต่ไม่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานภายในท่าเรือแต่อย่างใด   สำนักงานท่าเรือลิสบอน (APL) ออกมาเผยว่าได้นำมาตรการตอบโต้ที่เตรียมไว้มาใช้บังคับแล้ว โดยศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติและตำรวจศาลได้เฝ้าดูเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด   ทั้งนี้ ด้านกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ LockBit ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้เพิ่มชุดข้อมูลที่อ้างว่าขโมยมาจาก APL เข้าไปยังเว็บไซต์ของทางกลุ่ม   ชุดข้อมูลนี้มีทั้งรายงานการเงิน ข้อมูลการตรวจสอบ งบประมาณ สัญญาจ้าง ข้อมูลสินค้า ข้อมูลเรือ รายละเอียดลูกเรือ ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เอกสารท่าเรือ รายละเอียดเนื้อหาอีเมล และอีกมากมาย   LockBit ออกมาตั้งค่าไถ่เป็นเงินจำนวน 1.5 ล้านเหรียญ (ราว 51.9 ล้านบาท) พร้อมขู่ว่าหากไม่ได้รับเงินค่าไถ่ภายในวันที่ 18 มกราคม ทางกลุ่มจะปล่อยข้อมูลบนโลกออนไลน์ แต่มีตัวเลือกให้ชะลอวันปล่อยข้อมูล 1 วัน ด้วยการจ่ายเงินครั้งละ 1,000 เหรียญ (ราว 34,439 บาท)   ท่าเรือลิสบอนไม่ได้มีความสำคัญต่อโปรตุเกสเท่านั้น…