สหรัฐคว่ำบาตรบริษัทอวกาศจีน ข้อหาส่งภาพดาวเทียมพื้นที่ยูเครนให้รัสเซีย

Loading

    กระทรวงการคลังของสหรัฐประกาศมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่เมื่อวานนี้ (26 ม.ค.) ซึ่งรวมถึงการคว่ำบาตรบริษัทสเปซตี ไชน่า และบริษัทในเครือที่ประเทศลักเซมเบิร์กในข้อหา “จัดหาภาพถ่ายดาวเทียมตำแหน่งที่ตั้งในยูเครน” ให้แก่บริษัทเทคโนโลยีของรัสเซีย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำศึกของกลุ่มวากเนอร์ องค์กรทหารรับจ้างของรัสเซีย ที่ส่งกองกำลังทหารและอดีตนักโทษหลายพันรายบุกยูเครน   แหล่งข่าววงในเปิดเผยกับสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐเกิดความวิตกมากขึ้นว่า บริษัทจีนหลายแห่งกำลังช่วยเหลือรัสเซียในการโจมตียูเครน โดยสหรัฐได้กล่าวโทษรัฐบาลจีนเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว   นายเจคอบ สโตกส์ อดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายการต่างประเทศในรัฐบาลสมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามากล่าวว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐยังคงหยั่งเชิงดูอยู่ว่า จีนจะตอบสนองอย่างไรต่อหลักฐานที่บ่งชี้ว่า บริษัทจีนหลายแห่งกำลังช่วยรัสเซียทำสงคราม   “การที่บริษัทจีนส่อเค้าจะทำอะไรล้ำเส้น ทำให้เกิดคำถามว่าจีนกำลังตั้งใจลองดีกับนโยบายของอเมริกาหรือไม่ หรือจริง ๆ แล้วแค่รัฐบาลจีนไม่มีขีดความสามารถในการกำกับดูแลบริษัทจีนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ” นายสโตกส์ กล่าว   อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรบ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนรับรู้ถึงบทบาทของบริษัทสเปซตี (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ บริษัทสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศฉางชาเทียนอี้) ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยข้อมูลเอกสารทางออนไลน์ของบริษัทระบุว่า สเปซตีเป็น “บริษัทเอกชนแห่งใหม่ด้านอวกาศที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว” ซึ่งผลิต “ดาวเทียมนาโน/ไมโคร/ขนาดเล็กราคาประหยัด” ออกมาเป็นจำนวนมาก       ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …

ญี่ปุ่นตามล่ามือป่วน ส่งแฟกซ์ขู่วางระเบิดโรงเรียนทั่วประเทศ

Loading

    ตำรวจญี่ปุ่นกำลังพยายามระบุตัวบุคคลที่ขู่วางระเบิดโรงเรียนหลายร้อยแห่งทั่วประเทศ รวมถึงขู่สังหารนักเรียนและครูด้วยอาวุธที่ทำเอง   การคุกคามดังกล่าวถูกส่งผ่านทางแฟกซ์เมื่อวันจันทร์และวันอังคารที่ผ่านมา ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ตั้งแต่จังหวัดฮอกไกโดทางตอนเหนือสุดไปจนถึงเมืองฮิโรชิมา ผู้ก่อเหตุยังเรียกร้องค่าไถ่จากโรงเรียนต่าง ๆ เป็นเงิน 3 ล้านเยน (ราว 750,000 บาท) และมหาวิทยาลัย 300,000 เยน (ราว 75,000 บาท) และโอนไปยังบัญชีธนาคารที่ระบุ   ตำรวจเข้าตรวจค้นอาคารเรียนและมหาวิทยาลัย ขณะที่เจ้าหน้าที่ประจำการอยู่นอกทางเข้าสถานที่ต่าง ๆ ตำรวจไม่พบวัตถุระเบิด และไม่มีรายงานการทำร้ายนักเรียน หรือเจ้าหน้าที่   ตำรวจยังเปิดเผยว่า แฟกซ์ทั้งหมดมาจากหมายเลขเดียวกันในกรุงโตเกียว และส่งระหว่างเวลา 03.00-04.00 น.   ขนาดของการขู่กรรโชกได้สร้างความสนใจให้กับหลายฝ่าย แม้ว่าการใช้แฟกซ์จะชี้ให้เห็นว่าความพยายามครั้งนี้ค่อนข้างไม่ซับซ้อน ผู้แสดงความคิดเห็นทางออนไลน์บางคนถึงกับเยาะเย้ยผู้ขู่กรรโชกรายดังกล่าวที่พึ่งพาเทคโนโลยีจากทศวรรษ 1970   ข้อความหนึ่งบนเว็บไซต์ข่าว “เจแปน ทูเดย์” ระบุว่า “การใช้เครื่องแฟกซ์เพื่อขู่วางระเบิดแสดงให้เห็นถึงความเป็นญี่ปุ่น และเป็นสิ่งที่งี่เง่าที่สุดที่เคยพบมาในช่วงเวลาหนึ่ง ฉันไม่สงสัยเลยว่าการสอบสวนจะสิ้นสุดในเวลาอันสั้น และพบว่าผู้ก่อเหตุเป็นบุคคลที่น่ารำคาญ”   จากการให้สัมภาษณ์ในรายการข่าวทางโทรทัศน์ นักเรียนบางคนกล่าวว่า พวกเขากังวลเกี่ยวกับการคุกคาม…

ตึงเครียด! โตเกียวยิงจรวด บ.มิตซูบิชิ เฮฟวีส่ง “ดาวเทียมจารกรรมลับ” สอดแนมความเคลื่อนไหว “เกาหลีเหนือ” หลังดาวเทียมทหารเรดาร์ญี่ปุ่นปฏิบัติการระดับวงโคจร 5 ดวง

Loading

    เอพี/MGRออนไลน์ – โตเกียววันพฤหัสบดี (26 ม.ค.) ประสบความสำเร็จส่งจรวด H2A ของบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ นำดาวเทียม IGS-Radar 7 จารกรรมลับของรัฐบาลขึ้นสู่วงโคจร เป้าหมายเพื่อสอดแนมความเคลื่อนไหวทางการทหารเกาหลีเหนือ และเพื่อพัฒนาการรับมือต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเสริมสร้างขุมกำลังทางการทหารของญี่ปุ่น หลังเชื่อมีภัยคุกคามเพิ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ญี่ปุ่นปัจจุบันมีดาวเทียมทหารเรดาร์ 5 ดวงปฏิบัติการระดับวงโคจร   เอพีรายงานวันนี้ (26 ม.ค.) ว่า จรวด H2A ของบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ (Mitsubishi Heavy Industries Ltd) ประสบความสำเร็จถูกปล่อยออกมาจากศูนย์อวกาศเทเนกาชิมา (Tanegashima Space Center) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น วันพฤหัสบดี (26) เมื่อเวลา 10.50 น.ตามเวลาท้องถิ่น อ้างอิงเวลาจาก NHK ของญี่ปุ่น   ทั้งนี้ ศูนย์อวกาศเทเนกาชิมา เป็นขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ…

Amazon เตือนพนักงานห้ามเผยข้อมูลที่เป็นความลับกับ ChatGPT

Loading

    ทนายความของแอมะซอน แจ้งเตือนพนักงานเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT ในกรณีการแชร์ข้อมูลที่เป็นความลับ หลังพบว่ามีเนื้อหาใกล้เคียงกับความลับสำคัญของบริษัทหลุดออกไป   รายงานของสำนักข่าวบิสซิเนส อินไซเดอร์ เปิดเผยว่า เมื่อเดือนที่แล้วในช่องทางสแลค (Slack) แพลตฟอร์มการทำงานภายในของบริษัทแอมะซอน ได้เต็มไปด้วยคำถามที่มีการพูดถึง ChatGPT   ในเวลานั้นมีพนักงานของแอมะซอน ได้ถามบริษัทว่า ได้มีแนวทางเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT หรือไม่ ขณะที่ พนักงานบางรายได้สอบถามว่า บริษัทจะอนุญาตให้ปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือของการทำงานหรือไม่   ในไม่ช้า ทนายความของแอมะซอน เข้ามาเตือนพนักงานว่า ข้อมูลที่เป็นความลับใด ๆ ของแอมะซอน ไม่ว่าจะเป็นซอร์สโค้ดของงานในแอมะซอนที่ทำอยู่ ห้ามมีการใช้งานร่วมกับ ChatGPT เพราะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่พนักงานใช้ภายใน ChatGPT อาจเป็นการฝึกการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ได้ แน่นอนว่า แอมะซอนไม่ต้องการให้มีข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทรั่วไหลออกมา   พร้อมกันนี้ ทนายความของแอมะซอนกล่าวด้วยว่า เขาเคยเห็นข้อมูลจาก ChatGPT ซึ่งมีเนื้อหาใกล้เคียงกับความลับของบริษัทแอมะซอนด้วย   เพื่อเป็นการวางมาตรการป้องกันเอาไว้ล่วงหน้า บิสซิเนส อินไซเดอร์ เปิดเผยด้วยว่า แอมะซอนได้ติดตั้งระบบป้องกันภายในเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT เอาไว้แล้ว…

ระวังตกเป็นเหยื่อ มัลแวร์ซ่อนตัวในเราเตอร์ หลอกผู้ใช้ ต่อ Wi-Fi นอกบ้าน

Loading

    เชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ ระวังตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์   Kaspersky บริษัทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เผยข่าวร้ายเมื่อตรวจพบว่ามีเราเตอร์ Wi-Fi ถูกโจมตีโดยมัลแวร์ พยายามเจาะข้อมูลบนอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการ Android   มัลแวร์ที่ถูกค้นพบจากเราเตอร์มีชื่อว่า Wroba.o/Agent.eq (a.k.a Moqhao, XLoader) จะฝังอยู่ในเราเตอร์สาธารณะในคาเฟ่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน   เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อกับ Wi-Fi ที่มีมัลแวร์ฝังอยู่มันจะเด้งเข้าเว็บไซต์ที่เป็นยอดนิยม เพื่อเน้นความรวดเร็วทำให้เหยื่อนั้นไม่ได้ทันสังเกต มันเป็นเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขโมยข้อมูลและรหัสโดยเฉพาะ   เมื่อเราทำการล็อคอินหรือลงชื่อเข้าใช้ มัลแวร์ก็จะสามารถเอาข้อมูลที่แท้จริงของเรา เพื่อเข้าไปแฮกข้อมูลในแอปต่าง ๆ เพราะคนส่วนใหญ่จะใช้รหัสแบบเดียวกันนั้นเอง   นักวิจัยเผยอีกว่ามีผู้เสียหายมากถึง 46,000 คนในญี่ปุ่น ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี เกาหลีใต้ ตุรกี มาเลเซีย และอินเดีย โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด   แนวทางการแก้ไขคือ หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อกับบัญชีหรือแอปยอดนิยมที่ต้องใช้รหัสผ่านบนเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะ หรือสังเกตให้ดีก่อน หรือไม่ก็ใช้แอปที่มากับตัวเครื่องเท่านั้น      …

พร้อมหรือยังกับการรับมือ Top SaaS CyberSecurity (1)

Loading

    สำหรับปี 2566 เหล่าบรรดาแฮกเกอร์ก็ยังคงเดินหน้าโจมตีอย่างเช่นเคย และดูเหมือนที่มาในรูปแบบที่เราทุกคนไม่ค่อยให้ความสำคัญระมัดระวังกันมากสักเท่าไหร่   วันนี้ผมจะมานำเสนอ “Top SaaS Cybersecurity” 4 วิธีที่จะช่วยรักษาความปลอดภัย ตรวจสอบระบบภายในองค์กรและปกป้องข้อมูลขององค์กรตลอดทั้งปี แต่ก่อนอื่น เราจะมาทำความรู้จักกับ SaaS กันก่อน   Software as a Service (SaaS) คือ ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลได้ตามความต้องการ โดยที่ซอฟต์แวร์จะทำงานอยู่บนคลาวด์   จุดอ่อนของ Web application เว็บแอปพลิเคชันเป็นส่วนสำคัญของบริษัทผู้ให้บริการ Software-as-a-service (SaaS) ที่ดำเนินการอยู่และใช้เป็นที่จัดเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้า   โดย SaaS App มักจะมีคนใช้งานที่หลากหลาย ทำให้การปกป้องแอปพลิเคชันของผู้ใช้งานให้ปลอดภัยจากการโจมตีและผู้ใช้งานรายอื่นให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ใช่ของตนเองได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ   เพราะ Web App อาจจะมีข้อบกพร่องในการควบคุมการเข้าถึงซึ่งแฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้และทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายเมื่อมีการเขียนโค้ด   นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบความปลอดภัยด้วยเครื่องสแกนหาช่องโหว่แบบอัตโนมัติร่วมกับการทดสอบแบบปกติ ซึ่งสามารถช่วยออกแบบและสร้าง Web App ให้มีความปลอดภัยโดยการประสานรวมเข้าด้วยกันกับสิ่งที่มีอยู่เดิม และยังสามารถตรวจจับช่องโหว่ตลอดทั้งวงจรการพัฒนาอีกด้วย…