“มัสยิดอัล-อักซอ” ชนวนขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์

Loading

  แนวโน้มความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อาจปะทุขึ้นอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ หลังรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ที่เพิ่งจะสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ได้เดินทางไปยังมัสยิดอัล-อักซอ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมที่ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองเก่าของนครเยรูซาเลม และยังเป็นหนึ่งในพื้นที่เปราะบางที่สุดในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มฮามาสออกมาประณามและระบุว่าการกระทำนี้เป็นการยั่วยุ และ เหตุการณ์นี้จะก่อให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่หรือไม่   ภาพของรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ “อิตามาร์ เบน กวีร์” ที่กำลังเดินเข้าไปในบริเวณมัสยิดอัล-อักซอ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของนครเยรูซาเล็ม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่น     เบน กวีร์เป็นหนึ่งในคนที่มีแนวคิดขวาจัด เขามาจากพรรคพลังชาวยิว (Jewish Power) ซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรลัทธิไซออนิสต์เคร่งศาสนา และเพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา   มีรายงานว่าเบน กวีร์ เดินทางไปมัสยิดอัล-อักซอในช่วงเวลาเช้าตรู่ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการละหมาด   เบน กวีร์ใช้เวลาอยู่ภายในมัสยิดอัล-อักซอไม่นาน ก่อนจะทวีตภาพตัวเองบนบัญชีทวิตเตอร์พร้อมกับเขียนข้อความที่มีระบุถึง Temple Mount หรือ เนินพระวิหาร ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวยิวใช้เรียกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้   เขาให้สัมภาษณ์สั้นๆ กับสื่อมวลชน ระบุว่า รัฐบาลอิสราเอลจะไม่ยอมยกสถานที่แห่งนี้ให้กับองค์กรอาชญากรรม   โฆษกของกลุ่มฮามาส ซึ่งปกครองพื้นที่ฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ออกมาแถลงการณ์ประณามทันที…

“สกมช.”ห่วงหน่วยงานรัฐขาดผู้บริหารด้านไอที

Loading

  เผย หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ยังขาดผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามที่กฎหมายกกำหนดให้ต้องมี เพื่อป้องกันและบริหารความเสี่ยงด้านภัยไซเบอร์ เร่งจัดอบรมและประสานหน่วยงานต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เปิดเผยว่า กฎหมายลูกของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ได้บังคับให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (ซีไอไอ) ของประเทศ เช่น ด้านการเงิน โทรคมนาคม  สาธารณูปโภค สาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ  ต้องมีตำแหน่งผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือซิโซ่ (CISO) เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับหน่วยงาน ให้ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและป้องกันความเสี่ยง และผลกระทบต่อที่อาจเกิดขึ้น กรณีถูกโจมตีจนเกิดความเสียหายต่อระบบ ทำให้บริการหรือธุรกิจหยุดชะงัก จนส่งผลต่อประชาชนในวงกว้าง   อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบางหน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ยังไม่มีการตั้งบุคคลมาดำรงตำแหน่งนี้ เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ที่จะขึ้นมาในระดับผู้บริหาร ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นภาคเอกชน เช่น สถาบันการเงิน ฯลฯ ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีบุคลากรที่พร้อมกว่า รวมถึงมีงบประมาณในการจ้างผู้เชี่ยวชาญในส่วนนี้ ให้มาทำงานได้ ซึ่งที่ผ่านมาทาง สกมช. ก็ได้เร่งแก้ปัญหาในกับหน่วยงานรัฐ ด้วยการเปิดหลักสูตรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระดับผู้บริหาร (เอ็กซ์คูลซีฟ ซิโซ่) ในรุ่นที่ 1 ซึ่งมีผู้บริหารหน่วยงานรัฐ สำเร็จจบหลักสูตรแล้ว 69 คน   พล.อ.ต.อมร กล่าวต่อว่า ทาง สกมช. ได้พยายามประสานและแจ้งหน่วยงานเหล่านี้แล้ว…

เรียกร้องลงโทษผู้บังคับบัญชา เลินเล่อเก็บกระสุนในอาคารเดียวกับค่ายพัก ทำให้ทหารรัสเซียดับ 63 เมื่อยูเครนใช้จรวดมะกันถล่มใส่

Loading

  ผู้ร่วมไว้อาลัยชุมนุมกันที่เมืองซามารา ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย เมื่อวันอังคาร (3 ม.ค.) ในพิธีรำลึกถึงทหารรัสเซีย 63 คน ซึ่งกระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่า เสียชีวิตในเมืองมาคีอีฟกา ในแคว้นโดเนตสก์ ของยูเครน ภายหลังยูเครนยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS ถล่มใส่เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม   กลุ่มชาตินิยมและสมาชิกสภารัสเซียบางคนเรียกร้องให้ลงโทษผู้บังคับบัญชาทหารที่ปล่อยให้มีการจัดเก็บเครื่องกระสุนในอาคารเดียวกับที่เป็นค่ายพัก ส่งผลให้ทหารรัสเซียเสียชีวิตถึง 63 นาย หลังถูกยูเครนใช้เครื่องยิงจรวด HIMARS ผลิตในสหรัฐฯ ถล่มใส่ ขณะที่เซเลนสกี ชี้รัสเซียเตรียมเปลี่ยนยุทธวิธีใช้โดรนอิหร่านโจมตียูเครนเพื่อเดินหน้ากดดันเคียฟหลังจากเพลี่ยงพล้ำในการต่อสู้ในสนามรบตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา   ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวระหว่างปราศรัยเมื่อคืนวันจันทร์ (2 ม.ค.) ว่า ยูเครนได้รับข้อมูลมาว่า รัสเซียกำลังวางแผนโจมตีระยะยาวด้วยโดรนติดระเบิดที่ผลิตโดยอิหร่าน โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายการต้านทานของยูเครน ด้วยการทำให้ประชาชน กองทัพอากาศ และพลังงานของยูเครนอ่อนล้า   ทั้งนี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ตะวันตกจัดหาให้ยูเครนทำให้เครื่องบินรบของรัสเซียโจมตีด้วยขีปนาวุธได้ยากขึ้น แต่โดรนติดระเบิดที่ผลิตในอิหร่านเป็นอาวุธที่มีต้นทุนต่ำและสร้างความหวาดกลัวทั้งในหมู่ทหารและพลเรือน   ทางด้านสถาบันเพื่อการศึกษาสงครามระบุว่า ปูตินกำลังพยายามเสริมสร้างการสนับสนุนในบรรดาบุคคลสำคัญในรัสเซีย   กลุ่มคลังสมองซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ แห่งนี้สำทับว่า การโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซียไม่ได้ทำให้เกิดผลลัพธ์ในแง่ข้อมูลต่อกลุ่มชาตินิยมในรัสเซียตามที่เครมลินต้องการ และความล้มเหลวของกองทัพรัสเซียจะทำให้ความพยายามของปูตินในการเอาใจชุมชนที่สนับสนุนสงครามซับซ้อนยิ่งขึ้น  …

LockBit อ้างความรับผิดชอบโจมตีไซเบอร์ต่อท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป

Loading

  ท่าเรือลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ซึ่งท่าเรือทางทะเลที่คับคั่งมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ จนระบบดิจิทัลหลายตัวล่ม แต่ไม่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานภายในท่าเรือแต่อย่างใด   สำนักงานท่าเรือลิสบอน (APL) ออกมาเผยว่าได้นำมาตรการตอบโต้ที่เตรียมไว้มาใช้บังคับแล้ว โดยศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติและตำรวจศาลได้เฝ้าดูเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด   ทั้งนี้ ด้านกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ LockBit ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้เพิ่มชุดข้อมูลที่อ้างว่าขโมยมาจาก APL เข้าไปยังเว็บไซต์ของทางกลุ่ม   ชุดข้อมูลนี้มีทั้งรายงานการเงิน ข้อมูลการตรวจสอบ งบประมาณ สัญญาจ้าง ข้อมูลสินค้า ข้อมูลเรือ รายละเอียดลูกเรือ ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เอกสารท่าเรือ รายละเอียดเนื้อหาอีเมล และอีกมากมาย   LockBit ออกมาตั้งค่าไถ่เป็นเงินจำนวน 1.5 ล้านเหรียญ (ราว 51.9 ล้านบาท) พร้อมขู่ว่าหากไม่ได้รับเงินค่าไถ่ภายในวันที่ 18 มกราคม ทางกลุ่มจะปล่อยข้อมูลบนโลกออนไลน์ แต่มีตัวเลือกให้ชะลอวันปล่อยข้อมูล 1 วัน ด้วยการจ่ายเงินครั้งละ 1,000 เหรียญ (ราว 34,439 บาท)   ท่าเรือลิสบอนไม่ได้มีความสำคัญต่อโปรตุเกสเท่านั้น…

มกราคม 2566 กระทรวงยุติธรรมเตรียมทดลองระบบบล็อคเชนแจ้งเบาะแสยาเสพติดแบบลับ

Loading

  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ภายในเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2566 จะมีการทดลองใช้ระบบแจ้งเบาะแสยาเสพติดแบบไม่เปิดเผยตัวตน หรือ ระบบบล็อคเชน   ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และการศึกษารูปแบบการจ่ายเงินรางวัลนำจับที่ร้อยละ 5 ที่ขณะนี้มี 2 แนวทาง คือ 1. การจ่ายผ่านระบบ Blockchain และ Smart Contracts 2. การจ่ายผ่านระบบ Virtual Account และ ATM   แต่ในแนวทางแรก มีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะด้วยขั้นตอนที่ซับซ้อน จะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ใครเป็นผู้แจ้งเบาะแส ซึ่งจะถูกจัดเก็บข้อมูลเป็นความลับ   นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส.จะมีการสำรวจความต้องการของผู้แจ้งเบาะแสผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง หรือดำเนินการได้ง่าย รวมถึงได้มีการหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อให้การจ่ายเงินรางวัลนำจับเป็นสกุลเงินดิจิตอล ถูกต้องตามระเบียบ       ————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : …

มาตรการทางกฎหมายเพื่อการใช้งานยานไร้คนขับ

Loading

  เป็นที่ทราบกันดีว่า น่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันนั้น ถูกใช้ประโยชน์จากกิจกรรมทางทะเลหลากหลายส่วนแตกต่างกันไป   ตามความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ และประเพณีทางการค้า บ้างเป็นพื้นที่รัฐชายฝั่งที่มีอำนาจการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจทางน้ำ บ้างก็เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐ   เมื่อมีการใช้ประโยชน์ทางทะเล ประเด็นในเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากจะปรากฏการเข้าออกของเรือ รวมถึงพาหนะรูปแบบอื่นในแต่ละรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ   เมื่อพิจารณาประเด็นในด้านความมั่นคงทางทะเล จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมา อัตราส่วนของการใช้งานเรือ พาหนะทางทะเลรูปแบบอื่น และวัตถุเคลื่อนที่ทางน้ำ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานทางด้านการทหารและความมั่นคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเหตุเพราะสถานการณ์ความมั่นคงและภาวะสงครามที่มีอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน   ในบทความนี้จะพิจารณาถึงยานไร้คนขับทางน้ำ (Unmanned vehicle) ในมิติของภัยหรือความมั่นคงทางทะเล โดยจะพิจารณาถึงความหมาย บทนิยาม ประเภท การใช้งานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง   แต่อย่างไรก็ดีการใช้งานของวัตถุเคลื่อนที่ชนิดนี้ยังมีความคลุมเครือของวัตถุประสงค์การใช้งาน แม้ว่าในจุดเริ่มต้นจะมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจกรรมทางทหาร (Military Purpose)   ต่อมาถูกพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติก็ดี การถ่ายภาพก็ดีและเพื่อวัตถุในการขนส่งในอนาคต แม้กระนั้นการใช้งานวัตถุเคลื่อนที่ทางน้ำ ยังคงถูกรบกวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและปกป้องสเถียรภาพและความมั่นคงของรัฐ   ยานไร้คนขับเองนั้น (Unmanned Vehicles) มีปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ (Ancient Greek) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชื่อ…