เมื่อศาลสูงสหรัฐฯ ต้องตีความมาตรา 230 กับคดีพิพาท Google ที่อาจพลิกโฉมโลกอินเทอร์เน็ตที่เรารู้จัก

Loading

  ในวันอังคารนี้ (28 กุมภาพันธ์) ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาจะเริ่มพิจารณาคดีที่มีชื่อว่า Gonzalez v. Google ซึ่งใจความหลักของคดี คือ การตีความข้อกฎหมายที่เรียกว่า Section 230 ว่ามีขอบข่ายในการปกป้องบริษัทในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตมากแค่ไหน และผลคำตัดสินในคดีนี้อาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมนี้ไปโดยสิ้นเชิง   กฎหมายมาตรา 230 (Section 230) คืออะไร   ในช่วงต้นทศวรรษ 90 ที่อินเทอร์เน็ตกำลังก่อร่างสร้างตัว ชาวอเมริกันต่างก็ตื่นเต้นกับเทคโนโลยีนี้มาก โดยที่ทุกคนมองว่านี่คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ ทุกคนมองถึงโอกาสทางเศรษฐกิจอันจะเกิดจากการเชื่อมคนทุกคนบนโลกไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดีชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีแนวคิดแบบอนุรักษนิยมมองเทคโนโลยีใหม่นี้ด้วยสายตาเป็นกังวล เพราะพวกเขามองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไร้กฎหมายควบคุม ซึ่งอาจจะทำให้เนื้อหาในอินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยสิ่งที่ผิดศีลธรรมทั้งเรื่องเพศ ความรุนแรง และยาเสพติด   ในที่สุดกลุ่มอนุรักษนิยมก็ได้ผลักดันให้วุฒิสภาออกกฎหมายที่มีชื่อว่า Communication Decency Act of 1996 ซึ่งร่างกฎหมายนั้นเน้นไปที่การควบคุมเนื้อหาโป๊เปลือย โดยระบุให้การอัปโหลดหนังโป๊หรือภาพโป๊เปลือยเป็นความผิดตามกฎหมาย   แต่อย่างไรก็ดี เมื่อร่างกฎหมายได้ลงมาพิจารณาที่สภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. 2 คน คือ คริสโตเฟอร์ คอกซ์ และ รอน ไวเดน ได้ออกความเห็นว่าการออกบทลงโทษคนโพสต์อย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอ…

โพลล์การเมืองและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

    ในช่วงนี้ สิ่งที่ผู้คนในประเทศไทยให้ความสนใจที่สุด คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการเมือง ว่าบุคคลใดหรือพรรคใดจะขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ และในช่วงของการเลือกตั้งก็จะเห็นโพลล์การเมืองต่างๆ ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ   ไม่ว่าจะเป็นผลสำรวจความนิยมด้านการเมืองของผู้คนในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือแม้กระทั่งในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง จึงมีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าการสำรวจความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งจะถือเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือไม่   ประเด็นแรกที่ควรพิจารณา คือ “ความคิดเห็นทางการเมือง” เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ จะใช้กับกรณีที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องเท่านั้น   ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญในการพิจารณาว่าข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นทางการเมืองที่องค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยนั้นสามารถจัดเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” ได้หรือไม่ หากพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ จะเห็นคำว่า “ความคิดเห็นทางการเมือง” ปรากฏอยู่ในมาตรา 26 ที่กำหนดถึงฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (sensitive data) แต่ไม่ได้มีการอธิบายขยายความเพิ่มเติม     อีกทั้งในส่วนของความหมายของคำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ก็ได้ให้คำนิยามไว้กว้างๆ ในมาตรา 6 ว่าหมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม…

แคนาดาแบน “ติ๊กต๊อก” บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของรัฐ โยงความมั่นคง

Loading

    นับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นไป บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เป็นของรัฐบาลแคนาดา ต้องไม่มีแอปพลิเคชัน “ติ๊กต๊อก”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ว่านายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แถลงเมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการห้ามอุปกรณ์สื่อสารและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เป็นของรัฐ ติดตั้งแอปพลิเคชันติ๊กต็อก และเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดาวน์โหลดติ๊กต็อกกลับลงสู่อุปกรณ์ของรัฐด้วย โดยให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. นี้   WATCH: The Canadian government is banning the use of the popular short-form video application TikTok on all government-issued mobile devices. Read more: https://t.co/4FAhZJPvAn pic.twitter.com/cAoxaEl40P — Globalnews.ca (@globalnews) February 27,…

กูเกิลเทรนด์หลักสูตรอินเทอร์เน็ตปลอดภัย ครู-เยาวชน 3.4 ล้านคน

Loading

    กูเกิลเผยความสำเร็จโครงการ Be Internet Awesome ฝึกทักษะดิจิทัลเยาวชน และครูเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยไป 3.4 ล้านคน หลังเริ่มงานมากว่า 3 ปี เตรียมขยายโอกาสสู่โรงเรียนทั่วประเทศผ่าน ChromeOS Flex นำคอมเก่ามาใช้งานผ่านคลาวด์   แจ็คกี้ หวาง ผู้อำนวยการ กูเกิล ประเทศไทย กล่าวว่า จากภาพรวมของการค้นหาในปีที่ผ่านมา พบว่า คำค้นหาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์นั้นเพิ่มสูงขึ้นมากเป็นลำดับต้น ๆ ทำให้การผลักดันโครงการเพื่อฝึกฝนทักษะ และรู้เท่าทันโลกออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ   “การทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคนไทยทุกคนเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย โครงการ Be Internet Awesome ที่ทางกูเกิลได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้รับการตอบรับที่ดีจากโรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ”     ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหลังจากเริ่มโครงการ Be Internet Awesome ทางกูเกิล ประเทศไทย ได้สนับสนุน ฝึกอบรมครู และนักเรียนไปแล้วกว่า 3.4 ล้านคนทั่วประเทศ และจากการสำรวจความคิดเห็นของครูผู้สอนยังพบถึงแนวโน้มที่ดีในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อเนื่อง…

ออสซี่จ่อยกเครื่องกฎระเบียบ-ตั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

    นางแคลร์ โอนีล รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียเปิดเผยกับสถานีวิทยุเอบีซี (ABC Radio) วันนี้ (27 ก.พ.) ว่า ออสเตรเลียวางแผนจะยกเครื่องกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลการลงทุนของรัฐบาลในภาคส่วนดังกล่าว และช่วยประสานงานในการตอบสนองต่อการโจมตีของแฮ็กเกอร์   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ความคิดเห็นดังกล่าวมีขึ้นท่ามกลางการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งมีรายงานจากบริษัทอย่างน้อย 8 แห่งที่ถูกแฮ็ก ซึ่งรวมถึง เมดิแบงก์ ไพรเวท จำกัด (Medibank Private Ltd) บริษัทประกันสุขภาพรายใหญ่ และออปตัส (Optus) บริษัทโทรคมนาคมในเครือสิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (Singtel)   นางโอนีลกล่าวว่า กฎระเบียบด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะจัดการกับการโจมตีและไม่สามารถปกป้องข้อมูลของผู้บริโภคได้ พร้อมกล่าวโทษรัฐบาลชุดก่อนหน้าที่นำกฎระเบียบเหล่านี้มาใช้   “กฎระเบียบเหล่านั้นไร้ประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ควรค่าที่จะพิมพ์ลงบนกระดาษด้วยซ้ำ เมื่อต้องนำไปใช้รับมือกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์จริง กฎระเบียบเหล่านั้นมันไม่เหมาะจะใช้ประโยชน์ในตอนนี้ และดิฉันคิดว่าจำเป็นต้องได้รับการปฏิรูป” นางโอนีลกล่าว   นางโอนีลระบุว่า นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซีจะพบปะกับบรรดาผู้นำอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในวันนี้ และนายกฯ ได้ตัดสินใจแต่งตั้งผู้ประสานงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลให้หน่วยงานของรัฐบาลทำงานร่วมกันเมื่อต้องรับมือกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์ต่าง ๆ   ทั้งนี้ ทางการได้เผยแพร่เอกสารการอภิปรายเกี่ยวกับกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่…

คุมเข้มเบตง! หน่วยข่าวแจ้งเตือนพบแผนคนร้ายเตรียมก่อเหตุพื้นที่เป้าหมาย

Loading

    ภายหลังจากเหตุคนร้ายได้ลอบวางระเบิดและซุ่มยิงตำรวจ สภ.บันนังสตา จ.ยะลา เมื่อวันที่ 17 ก.พ.66 ที่ผ่านมาในพื้นที่บ้านสนามบิน ม.1 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา เป็นเหตุให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 5 นาย     ล่าสุดวันที่ 27 ก.พ.66 นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง จ.ยะลา ได้สั่งเน้นย้ำให้หน่วยกำลังในพื้นที่บูรณาการกำลังทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และกำลังภาคประชาชนเพิ่มความระมัดระวังและดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการในการออกปฏิบัติหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งได้กำชับทุกด่านตรวจ จุดตรวจ ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองให้เพิ่มความเข้มงวดและความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ทุกภารกิจ หลังจากแหล่งข่าวแจ้งเตือนฝ่ายตรงข้ามเตรียมก่อเหตุพื้นที่เป้าหมาย ร้านค้า สถานที่ชุมชน ปั้มน้ำมัน สถานที่ราชการ อย่างต่อเนื่อง     ขณะที่จุดตรวจกำลังร่วมเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ยะรม และ อส.เมืองเบตง ได้ตั้งด่านตรวจเข้มข้นตรวจสอบบุคคล รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รวมทั้งสิ่งของต้องสงสัยที่จะเข้าพื้นที่รอบในเขตเทศบาลเมืองเบตงเพื่อป้องกัน…