กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอินโดนีเซียเผยภาพตัวประกัน “นักบินนิวซีแลนด์”

Loading

    กองกำลังแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดปาปัวของอินโดนีเซีย เผยภาพและคลิปตัวประกัน ซึ่งเป็นนักบินชาวนิวซีแลนด์ ด้านรัฐบาลกลางในกรุงจาการ์ตายืนยัน จะช่วยออกมาให้ได้   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ว่าจากกรณีกองทัพปลดปล่อยปาปัวแห่งชาติตะวันตก ( ทีพีเอ็นพีบี ) ประกาศการควบคุมตัว นายฟิลิป เมอร์เธนส์ นักบินชาวนิวซีแลนด์ ซึ่งขับเครื่องบินเล็กแบบเช่าเหมาลำของสายการบิน ซูซี แอร์ ไปลงจอดในเขตพื้นที่ห่างไกลของจังหวัดปาปัว เมื่อช่วงต้นเดือนนี้   ทีพีเอ็นพีบีเผยแพร่ “ภาพถ่ายล่าสุด” ของเมอร์เธนส์ ซึ่งสภาพร่างกายโดยรวมยังถือว่า สมบูรณ์แข็งแรงดี พร้อมคลิป ซึ่ง เมอร์เธนส์ กล่าวในตอนหนึ่งว่า อยู่ภายใต้การควบคุมของทีพีเอ็นพีบี ซึ่งต่อสู้เพื่อการเป็นเอกราชของปาปัว กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการให้กองทัพอินโดนีเซียถอนกำลังออกไปจากพื้นที่ มิเช่นนั้นตัวเขา “ต้องอยู่ที่นี่ตลอดชีวิต”   Separatist fighters in Indonesia's Papua region released images of a hostage pilot, Philip…

สายการบิน Lufthansa ระบบไอทีล่มทั่วโลก จากสายเคเบิลในเยอรมนีขาดเพราะโดนขุดเจาะ

Loading

    เมื่อวานนี้ (15 ก.พ.) สายการบิน Lufthansa Group จากเยอรมนี เจอปัญหาระบบไอทีล่มทั่วโลก ผู้โดยสารเช็คอินไม่ได้ เที่ยวบินต้องหยุดชะงักหลายร้อยเที่ยว เหตุผลเป็นเพราะสายเคเบิลที่เยอรมนีขาด จากการก่อสร้างบริเวณใกล้เคียง   Lufthansa มีศูนย์ปฏิบัติการการบิน (global flight operations center) อยู่ใกล้กับสนามบินแฟรงค์เฟิร์ตในเยอรมนี ใช้บริการสายเคเบิลของ Deutsche Telekom แล้วเจอปัญหาว่าบริษัทรถไฟ Deutsche Bahn ขุดเจาะพื้นรางรถไฟบริเวณใกล้เคียง ทำให้สายเคเบิลขาดไป 4 เส้น ระบบของ Lufthansa จึงเจอปัญหาเข้าเต็ม ๆ   Deutsche Telekom ระบุว่าซ่อมสายเคเบิลไปแล้ว 2 เส้น ทำให้ระบบเริ่มกลับมาได้เมื่อคืนนี้ และอยู่ระหว่างการซ่อมสายเคเบิลที่เหลือ   อย่างไรก็ตาม พนักงานของ Lufthansa ยังมีแผนสไตรค์หยุดงานในวันศุกร์นี้ที่สนามบินแฟรงค์เฟิร์ตและมิวนิก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาเที่ยวบินล่าช้าหรือยกเลิกเช่นกัน     ? Currently, the…

Royal Mail ปฏิเสธจ่ายค่าไถ่ให้แฮ็กเกอร์จากรัสเซีย

Loading

    คณะผู้บริหารของ Royal Mail บริษัทไปรษณีย์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าไถ่ราว 66 ล้านปอนด์ (ราว 2,730 ล้านบาท) จาก LockBit กลุ่มแฮ็กเกอร์จากรัสเซีย   ข้อมูลนี้ได้รับการเปิดเผยในลักษณะการสนทนาระหว่าง LockBit และผู้เจรจาค่าไถ่ของ Royal Mail ซึ่งทางฝ่าย Royal Mail ปฏิเสธไป   ในบทสนทนานั้น LockBit ชี้ว่าจำนวนเงินที่เรียกค่าไถ่จาก Royal Mail นั้น ถือว่าน้อยกว่าค่าปรับที่ Royal Mail อาจต้องจ่ายให้กับหน่วยกำกับดูแลของยุโรปหาก LockBit ปล่อยข้อมูลสู่สาธารณะเสียอีก   แต่ทางผู้เจรจาของ Royal Mail ชี้ว่ารัฐบาลรู้เกี่ยวกับการแฮ็กแล้ว ถึงจะจ่ายเงินแล้วไฟล์ไม่ถูกเผยแพร่ ก็อาจต้องจ่ายค่าปรับอยู่ดี   ก่อนหน้านี้ LockBit ออกมาเผยบนดาร์กเว็บว่าได้ปิดกั้นบริการส่งจดหมายข้ามประเทศของ Royal Mail ด้วยการโจมตีซอฟต์แวร์ของบริษัทด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผลก็คือทำให้การส่งพัสดุระหว่างประเทศต้องหยุดชะงัก   โฆษก Royal…

รัสเซียเริ่มส่งเรือรบติดอาวุธนิวเคลียร์มาทะเลบอลติก ครั้งแรกรอบ 30 ปี

Loading

    หน่วยข่าวกรองนอร์เวย์ เผย รัสเซียเริ่มส่งเรือรบติดอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีไปประจำการในทะเลบอลติกเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ท่ามกลางความตึงเครียดกับชาติตะวันตก   เมื่อวันอังคารที่ 14 ก.พ. 2566 สำนักงานข่าวกรองแห่งประเทศนอร์เวย์ (NIS) เผยรายงานประจำปี ระบุว่า รัสเซียเริ่มส่งเรือรบติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี (Tactical Nuclear Weapon) มาประจำการในทะเลบอลติกเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี นับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลาย   ทั้งนี้ ในช่วงสงครามเย็น กองทัพเรือทะเลเหนือของรัสเซีย หรือ โซเวียตในขณะนั้นส่งเรือรบติดอาวุธนิวเคลียร์ออกมาลาดตระเวนในทะเลเป็นประจำ แต่นี่นับเป็นครั้งแรกในยุคสหพันธรัฐรัสเซีย   รายงานของหน่วยข่าวกรองนอร์เวย์ ระบุว่า ในขณะที่รัสเซียมีเรือดำน้ำ อาวุธต่อต้านดาวเทียมและความสามารถทางไซเบอร์ ที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อนอร์เวย์และกองกำลังพันธมิตรนาโตได้ แต่อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีคือภัยคุกคามร้ายแรงเป็นพิเศษในหลายเหตุการณ์ที่ชาติสมาชิกนาโตอาจเข้าไปมีส่วนร่วม   NIS ระบุอีกว่า ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตกหมายความว่า รัสเซียจะเป็นภัยคุกคามทางนิวเคลียร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนาโตและต่อนอร์เวย์ต่อไป และไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่สงครามในระดับท้องถิ่นจะบานปลายเป็นความขัดแย้งวงกว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้รัสเซีย สหรัฐฯ นาโต และนอร์เวย์ เข้าไปมีส่วนร่วมทางทหารโดยตรง   รายงานย้ำด้วยว่า รัสเซียจะรักษา พัฒนา และทำให้คลังแสงนิวเคลียร์ของพวกเขาทันสมัยอยู่เสมอ…

‘อีลอน มัสก์’ จำกัดการใช้เน็ต Starlink โดยกองทัพยูเครน หวั่นกลายเป็นเครื่องมือก่อ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’

Loading

    อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีคนดังเจ้าของเทสลา (Tesla) สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ว่าเขาได้จำกัดการใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” โดยกองทัพยูเครน เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบสื่อสารนี้ถูกใช้กระพือความขัดแย้งจนอาจนำไปสู่ “สงครามโลกครั้งที่ 3”   คำพูดซึ่งสื่อถึงความกังวลของ มัสก์ มีขึ้น หลังจาก สก็อตต์ เคลลี (Scott Kelly) อดีตนักบินอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ได้เข้าไปทวีตโต้เถียงกับเขาในประเด็นที่สเปซเอ็กซ์เกรงว่าสตาร์ลิงค์จะถูกกองทัพยูเครนใช้เป็น “อาวุธ”   “การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากคุณคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับยูเครน” เคลลี ทวีตถึง มัสก์   “โปรดทำให้โครงข่ายดาวเทียมสตาร์ลิงค์ใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ การป้องกันตนเองจากการรุกรานเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocidal invasion) ไม่ถือเป็นศักยภาพในการโจมตี แต่เป็นการทำเพื่อความอยู่รอด ชีวิตคนบริสุทธิ์มากมายกำลังสูญเสียไป คุณสามารถช่วยได้” เคลลี กล่าว พร้อมลงท้ายด้วยคำว่า “ขอบคุณ”   อย่างไรก็ดี ซีอีโอสเปซเอ็กซ์ได้ตอบกลับไปว่า เคลลี “คงฉลาดพอที่จะไม่หลงเชื่อทุกอย่างที่ปรากฏในข่าวและสื่อโฆษณาชวนเชื่อทั้งหลาย”   มัสก์ ย้ำว่า ทุกวันนี้บริการของสตาร์ลิงค์ยังคงเป็น “ช่องทางหลัก”…

อคติในอัลกอริทึม

Loading

    ด้วยกระแสก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) ของเอไอ ซึ่งทำให้พัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติ   ส่งผลให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในปัจจุบันได้อย่างกว้างขวาง แต่ทำอย่างไรเราจะแน่ใจได้ว่า อัลกอริทึมของการตัดสินใจโดยเอไอจะทำงานเพื่อตอบโจทย์มนุษย์อย่างแท้จริงแทนที่จะครอบงำการตัดสินใจของผู้ใช้งานอย่างมีอคติ?   อัลกอริทึม (Algorithm) เป็นคำที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งหมายถึงกระบวนการหรือชุดคำสั่งในการทำงานอัตโนมัติ โดยในอดีตอาจย้อนไปถึงการวางค่ายกลในพีระมิดโบราณ เพื่อป้องกันการโจรกรรม ซึ่งถือเป็นการออกแบบอัลกอริทึมที่ชาญฉลาดแบบหนึ่ง   ที่ผ่านมา ในการสั่งการคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการได้นั้น จำเป็นต้องออกแบบอัลกอริทึมให้เป็นชุดคำสั่งเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้   อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน คำว่าอัลกอริทึมมักถูกใช้เป็นวงกว้างในปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะอัลกอริทึมที่สร้างขึ้นมาจากข้อมูลผ่านกระบวนการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning)   บ่อยครั้งที่อัลกอริทึมสมัยใหม่ถูกใช้ในการคาดการณ์อนาคต เช่น คาดการณ์กลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่น่าจะซื้อสินค้าชนิดใหม่ คาดการณ์ภาพยนตร์ที่ผู้ใช้น่าจะชอบ หรือคาดการณ์ว่าอีเมลไหนจะเป็นสแปม เป็นต้น     การพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการให้ตรงเป้าหมายผู้ใช้มากขึ้น ช่วยการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   อย่างไรก็ตาม เมื่อกระบวนการตัดสินใจกลายเป็นรูปแบบระบบอัตโนมัติมากขึ้น โดยมีอัลกอริทึมช่วยตัดสินใจอยู่ข้างใน เราจึงจำเป็นที่ต้องตระหนักและระมัดระวังว่า ผลการตัดสินใจที่เอไอให้ออกมานั้นสมเหตุสมผลและมีอคติหรือไม่?…