ผู้ใช้บริการมีสิทธิรู้ว่า ‘ข้อมูล’ ของตนเองถูกเปิดเผยหรือโอนไปอยู่ที่ใคร

Loading

  วันที่ 12 ม.ค.2566 ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ได้เผยแพร่คำวินิจฉัยคดี C-154/21 ที่ผู้ใช้บริการของ Österreichische Post มีคำร้องขอ (data subject request: DSR) ให้ผู้ให้บริการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนเอง ว่าถูกเปิดเผยหรือโอนไปยังบุคคลใดบ้าง (access request)   ผู้ร้องขอกล่าวอ้างว่า Österreichische Post ในฐานะ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” (data controller) มีหน้าที่ตามกฎหมายในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ใช้บริการในฐานะ “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (data subject) ตาม   กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (EU General Data Protection Regulation: GDPR)   ซึ่งกำหนดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับ (recipients) หรือประเภทของผู้รับ (categories of recipient) ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของเขาถูกเปิดเผยหรือจะถูกเปิดเผย   ผู้ให้บริการตอบสนองต่อคำร้องขอของผู้ใช้บริการ โดยการให้ข้อมูลแบบไม่เฉพาะเจาะจงตัวผู้รับโอนข้อมูล กล่าวคือ ให้ข้อมูลเพียงว่า ผู้ให้บริการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตในการดำเนินกิจกรรม  …

โพลล์ชี้ 50% ของชาวอเมริกัน เชื่อสื่อจงใจนำเสนอข้อมูลบิดเบือน

Loading

    ชาวอเมริกันครึ่งหนึ่งในการสำรวจล่าสุด เชื่อว่าองค์กรสื่อระดับประเทศ ตั้งใจนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด หรือโน้มน้าวให้สาธารณชนยอมรับในมุมมองบางอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านการรายงานข่าว และไม่ถึง 1 ใน 4 ที่มองว่าสื่อมวลชนทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน ตามรายงานของเอพี   การสำรวจโดย Gallup และ Knight Foundation ที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ สอบถามชาวอเมริกัน 5,593 คน ช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม – 21 กรกฎาคมปีที่แล้ว ลงลึกกว่าการสอบถามทั่วไปเรื่องความเชื่อมั่นในสื่อในประเทศที่ตกต่ำลง ด้วยการถามถึงสาเหตุที่ชาวอเมริกันจำนวนมากมีความเชื่อว่าสื่อมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด   ในการสำรวจถามว่าชาวอเมริกันเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่าองค์กรสื่อระดับประเทศไม่ได้มีเจตนาที่จะนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด ปรากฏว่า 50% ไม่เห็นด้วย และมีเพียง 25% ที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และเมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า สื่อในประเทศ “ห่วงใยผลประโยชน์ของผู้อ่าน ผู้ชม และผู้ฟัง” ในการศึกษาพบว่า 52% ไม่เห็นด้วย   นอกจากนี้ มีเพียง 23% ของชาวอเมริกันในการสำรวจ เชื่อว่า…

กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขายสินค้า

Loading

  ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในปัจจุบันสังคมไทยมีการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ ในรูปแบบที่หลากหลาย เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่จำกัดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ต่อยอด ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง   เมื่อพิจารณาในแง่ของการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีรูปแบบในการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ   หนึ่งในประเด็นที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ สำหรับการเข้าควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเกินจำเป็น คือ การเข้าควบคุมการขายของออนไลน์ผ่านสื่อสังคมอออนไลน์ต่าง ๆ     เมื่อพิจารณากฎหมายในการควบคุมการขายของออนไลน์ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีบทบัญญัติกฎหมายที่เข้าควบคุมการขายของออนไลน์ ด้วยการแพร่ภาพผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับในอีกหลายประเทศ   ทำให้รูปแบบในการขายของออนไลน์ผ่านสื่อโซเชียลในบางครั้ง มีการใช้พฤติกรรมที่มีลักษณะส่อไปทางอนาจาร หรือมีการใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ไม่เหมาะสม อาจเป็นแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องต่อผู้บริโภคและนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ   หากไม่มีกฎหมายที่ควบคุมการแพร่ภาพดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศไทยในระยะยาว ในขณะที่ในหลายประเทศได้ออกกฎหมาย เพื่อควบคุมกิจกรรมบางอย่างบนสื่อสังคมออนไลน์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่อาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิของเด็ก หรือมีลักษณะเป็นการก่อการร้าย หรือมีลักษณะเป็นการกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน     ผู้เขียนจะยกกฎหมายของต่างประเทศที่น่าสนใจ ในการควบคุมกิจกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะนี้ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส และจีน   ในประเทศเยอรมนีมีพระราชบัญญัติตรวจสอบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (NetzDG) ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต้องตรวจสอบเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมและติดตามลบเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับการก่อการร้าย การละเมิดสิทธิของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการลามกอนาจาร และจะต้องรายงานไปยังสำนักงานยุติธรรมแห่งเยอรมัน   ในส่วนของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีพระราชบัญญัติควบคุมระบบเศรษฐกิจดิจิทัล…

สหรัฐชี้หัวหน้าอัล-กออิดะห์คนใหม่อยู่ในอิหร่าน ตั้งค่าหัว 341 ล้านบาท

Loading

      สหรัฐชี้ตัวผู้นำสูงสุดคนใหม่ของกลุ่มอัล-กออิดะห์ ว่าเป็นชาวอียิปต์ และกบดานอยู่ในอิหร่าน พร้อมทั้งตั้งรางวัลนำจับประมาณ 341 ล้านบาท   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเผยแพร่รายงานฉบับล่าสุด เกี่ยวกับกลุ่มอัล-กออิดะห์ ว่า มีผู้นำคนใหม่แล้ว คือ นายซาอีฟ อัล-อเดล วัย 62 ปี อดีตทหารยศพันโท เป็นชาวอียิปต์ และปัจจุบันอาศัยอยู่ในอิหร่าน พร้อมทั้งประกาศพร้อมมอบเงินรางวัล 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 341.91 ล้านบาท) ให้แก่บุคคลใดก็ตาม ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ นำไปสู่การค้นพบและจับกุมตัวอเดลได้   อย่างไรก็ดี รายงานวิเคราะห์โดยสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุเกี่ยวกับอเดลว่า “เป็นผู้นำเพื่อขับเคลื่อนให้อัล-กออิดะห์ เดินหน้าไปได้ก่อนในระยะนี้” แต่ให้ข้อมูลสอดคล้องกับสหรัฐ ในประเด็นที่ว่า เจ้าตัวอาศัยอยู่ในอิหร่านเป็นหลัก   NEW: The UN says that, after…

สรรพสามิตเตือนภัย ‘มิจฉาชีพ’ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงหรือรีดไถเงิน

Loading

    กรมสรรพสามิตเตือนภัยผู้ประกอบการและประชาชนอย่าหลงเชื่อ “มิจฉาชีพ” แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงหรือรีดไถเงินแนะตรวจสอบข้อมูลก่อนทุกครั้ง   16 ก.พ. 2566 – นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า “ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้ไม่หวังดี” หรือ “มิจฉาชีพ” หลอกหลวงประชาชนในหลากหลายรูปแบบเพิ่มเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี จึงได้มอบนโนบายให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ช่วยกันเฝ้าระวังและให้ข้อมูลกับ พี่น้องประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   หากผู้ประกอบการหรือประชาชนได้รับการแอบอ้างจากผู้ไม่หวังดีหรือมิจฉาชีพว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเข้าจับกุมตรวจค้นในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงตัวโดยต้องแต่งเครื่องแบบกรมสรรพสามิต พร้อมแสดงบัตรข้าราชการในขณะปฏิบัติหน้าที่ และดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบการตรวจค้นทุกประการ และ เมื่อจับกุมแล้วต้องทำบันทึกจับกุม สำหรับประเด็นการเปรียบเทียบปรับ ตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการเปรียบเทียบคดี พ.ศ. 2560 หมวด 2 ข้อ 8 วรรค 2 ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องเปรียบเทียบคดีให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด สามารถไปดำเนินการเปรียบเทียบคดีนอกสถานที่ตั้งปกติของสำนักงานได้โดยใช้สถานที่ของหน่วยงานราชการอื่นแทน   ในกรณีการหลอกลวงทางโทรศัพท์ ให้ Add line หรือผ่านทางช่องทางออนไลน์ใด ๆ ตามที่ แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตนั้น ขอให้ผู้ประกอบการและประชาชนโปรดระมัดระวัง โดยสามารถตรวจสอบกลับมาที่สำนักงานสรรพสามิตภาค หรือพื้นที่ หรือกรมสรรพสามิต เพื่อความปลอดภัย…

สายการบิน SAS ของประเทศสแกนดิเนเวียถูกโจมตีทางไซเบอร์จนแอปทำงานรวน

Loading

    สายการบิน Scandinavian (SAS) สายการบินแห่งชาติของสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ระบุว่าถูกโจมตีทางไซเบอร์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (14 กุมภาพันธ์) และขอให้ลูกค้าเลี่ยงการใช้งานแอปพลิเคชันสายการบิน   สื่อหลายสำนักรายงานว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้เว็บไซต์ของ SAS ใช้งานไม่ได้ และข้อมูลลูกค้ายังหลุดออกมาจากแอปอีกด้วย   คาริน นีแมน (Karin Nyman) หัวหน้าฝ่ายสื่อของ SAS เผยว่าบริษัทอยู่ระหว่างการแก้ไขผลกระทบจากการโจมตีที่เกิดขึ้นทั้งต่อแอปและเว็บไซต์ โดยล่าสุดชี้ว่าได้แก้ไขเป็นผลสำเร็จแล้ว   สำนักข่าว TT ของสวีเดนเผยว่าลูกค้าที่พยายามล็อกอินเข้าไปยังแอปของ SAS พบว่าตัวเองเข้าระบบไปยังบัญชีผิดอัน ทำให้ไปเห็นข้อมูลของบุคคลอื่น เช่นเดียวกับสำนักข่าว Verdens Gang ของนอร์เวย์ที่รายงานว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับลูกค้านอร์เวย์ด้วย       อ้างอิง : Reuters         ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :           …