ทำความรู้จัก “Data” ข้อมูลที่ทุกคนควรมีความรู้ หากจะอยู่ในโลกยุคดิจิทัล

Loading

  Data คืออะไร ย้อนกลับไป 3-4 ปีก่อนหน้านี้ Data ยังเป็นเรื่องใหม่ในโลกสินค้าและบริการ หลากหลายแบรนด์ตื่นตาตื่นใจกับการใช้ Data มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้โจทย์ Marketing วันนี้เราจะมาทำความรู้จักข้อมูลเหล่านี้กัน   Data “กลายเป็นเรื่องของทุกคน” นักการตลาดและแบรนด์เข้าใจมากขึ้นว่าอะไรเป็นเพียง Buzz Word และอะไรที่จำเป็นจริงๆ ไม่ว่าแบรนด์เล็กหรือใหญ่   เมื่อผู้บริโภคอยากได้ แต่ไม่ยอมให้ แบรนด์ทำอะไรต่อดี?   เมื่อ Data มาความเป็นส่วนตัวก็ตามมาติด ๆ เมื่อใคร ๆ ก็อยากมี Data ในครอบครองจึงไม่แปลกที่ผู้ใช้จะกังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวและต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น   แต่อีกทางผู้บริโภคต่างก็ตามหาแบรนด์ที่มอบประสบการณ์และความเข้าถึงได้เกี่ยวกับสินค้าและบริการเฉพาะบุคคลให้พวกเขาได้เช่นกัน นึกภาพการเข้าใช้บริการโรงแรมที่มีเค้กวางรออยู่แล้ว เพราะรู้ว่านี่คือวันเกิดเราพอดี หรือโปรโมชันพิเศษเที่เสนอให้แค่เราเมื่อรู้ว่าเราชอบลาพักร้อนในช่วงกลางปีเป็นประจำ   ซึ่งประสบการณ์เฉพาะเหล่านี้เริ่มที่การอนุญาตให้แบรนด์นำ Data ไปใช้ โดยจุดสมดุลเป็นสิ่งที่ทั้งแบรนด์ ผู้บริโภค และความเข้าใจเรื่อง Data ต้องทำร่วมกัน   ผู้บริโภคส่วนใหญ่คิดว่าแบรนด์เอา Data ไปแล้วรุกล้ำความเป็นส่วนตัว หรือรู้สึกว่าไม่อนุญาตให้มีการเก็บข้อมูลแปลว่าจะไม่มีโฆษณากวนใจซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกเสียทีเดียว เนื่องจากโฆษณาออนไลน์เป็นสิ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้…

UFO คืออะไร ทำไมถึงเรียก ยูเอฟโอ ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้คำว่า “UAPs” กันแล้ว

Loading

  ในช่วงนี้ “UFO” ได้กลายมาเป็นคำคุ้นหูคุ้นตา ผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย และไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ก็มีการกล่าวคำนี้มากันอย่างเนิ่นนาน ซึ่งหลาย ๆ คน ก็จะสื่อถึงยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาว และหลาย ๆ คน ก็อาจจะยังไม่รู้ว่า UFO – ยู เอฟ โอ เป็นตัวย่อที่มีความหมายมาจากคำว่าอะไร Science MGROnline จีงขอพาไปทำความรู้จักกับคความหมายของคำว่า UFO คืออะไร และทำไมถึงเรียก ยู เอฟ โอ     UFO ย่อของคำว่า Unidentified Flying Object ในความหมายกว้างที่สุดที่ได้มีการบรรยายไว้ มีความหายว่า สิ่งผิดปกติประจักษ์ชัดใด ๆ ในท้องฟ้า หรือใกล้หรืออยู่บนพื้นดิน แต่สังเกตว่าบินร่อน ลงจอดหรือทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งไม่สามารถระบุได้ในทันทีว่าเป็นวัตถุหรือปรากฏการณ์ใด ๆ ที่ทราบจากการสังเกตด้วยตา และ – หรือ การใช้เครื่องมือช่วย เช่น…

กห. คุมเข้มคลังแสง เตรียมซ้อมรับเหตุระเบิด-อัคคีภัย

Loading

  กห. สั่งคุมเข้มคลังแสง เตรียมฝึกซ้อมรับเหตุระเบิด-อัคคีภัย “บิ๊กช้าง” ย้ำกำลังพล ทำตามระเบียบ วางตัวไม่ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงกองทัพ-พร้อมระวังอุบัติเหตุในการฝึกคอบร้าโกลด์   พันเอก จิตนาถ ปุณโณทก รองโฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมสภากลาโหม ที่มี พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รมช. กลาโหม เป็นประธาน ได้เน้นย้ำให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ กํากับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยอาวุธ ยุทโธปกรณ์ ตลอดจนเครื่องกระสุนและวัตถุระเบิดที่อยู่ในคลังต่าง ๆ ของหน่วย ให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อกําหนดของทางราชการ ตลอดจนฝึกซ้อมแผนการปฏิบัติในการเผชิญเหตุต่าง ๆ อย่าง ต่อเนื่อง อาทิ แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนการอพยพเคลื่อนย้ายกรณีเกิดการระเบิด ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์   นอกจากนั้นยังให้กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ ดําเนินการฝึกร่วมผสมคอบร้าโกลด์ 2023 (27 ก.พ. – 10 มี.ค.66) ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการฝึก เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถและเพิ่มพูนประสบการณ์ ให้กับกําลังพลของกองทัพไทยและกองทัพมิตรประเทศในการปฏิบัติการร่วมและผสม ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ…

ธ.เครดิตสวิสฟ้องคนปล่อยข้อมูลบัญชีฐาน ‘จารกรรม’ พร้อมเอาผิดสื่อ 39 ประเทศที่ร่วม ‘SuisseSecret’

Loading

ภาพปกโดย alex.ch   ธนาคารเครดิตสวิสเตรียมดำเนินคดีข้อหาจารกรรมข้อมูลทางเศรษฐกิจกับผู้ปล่อยข้อมูลบัญชีลูกค้าธนาคารกว่า 30,000 ชื่อ หลังจากรัฐสภาสวิสมีมติไม่ปฏิรูปกฎหมายการธนาคารที่ละเมิดเสรีภาพสื่อ และสื่อมวลชนจาก 39 ประเทศอาจโดนหางเลขจากการเปิดโปงข้อมูลธุรกรรมน่าสงสัยของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลทั่วโลกในโครงการ SuisseSecrets   สำนักข่าวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์รายงานเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่าธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse Bank) ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เตรียมฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลผู้ให้ข้อมูลบัญชีลูกค้าของธนาคารกว่า 30,000 บัญชีที่นำไปสู่การเผยแพร่รายงานข่าว ‘สวิสซีเคร็ตส์’ (SuisseSecrets) หรือโครงการข่าวสืบสวนสอบสวนข้ามชาติเพื่อเปิดโปงข้อมูลการทำธุรกรรมที่น่าสงสัยในธนาคารเครดิตสวิส ซึ่งธุรกรรมเหล่านั้นอาจเชื่อมโยงกับการทำธุรกิจผิดกฎหมาย การทุจริต หรือการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีข้อมูลของนักธุรกิจและอดีตข้าราชการชาวไทยบางคนที่เคยมีประวัติทางการเงินหรืออาชญากรรมปรากฏร่วมอยู่ในรายงานดังกล่าว   โครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริต (Organized Crime and Corruption Reporting Project: OCCRP) ผู้เปิดเผยรายงานข่าวสืบสวนสอบสวนดังกล่าวร่วมกับสื่อจาก 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประชาไท เปิดเผยว่าอัยการสวิสเริ่มต้นการสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำความผิดฐานเผยแพร่ข้อมูลทางบัญชีของธนาคารเครดิตสวิส รวมถึงเตรียมฟ้องดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าวและสำนักข่าวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล แม้ว่าข้อมูลบางส่วนจะสามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือการกระทำความผิดด้านอื่นๆ เช่น การฟอกเงิน การหลบเลี่ยงภาษี หรือการนำเงินที่อาจเกี่ยวกับการกระทำความผิดไปฝากในดินแดนภาษีต่ำ (Tax Haven) ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและธุรกิจ เป็นต้น  …

กอ.รมน. ประชุมร่วม มิตรอาเซียน ป้องกัน ปัญหาก่อการร้าย-อาชญากรรมข้ามชาติ

Loading

  กอ.รมน. ประชุมร่วม มิตรประเทศอาเซียน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ   24 ก.พ. 66 – ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นางทศยาพร ดิเรกวุฒิ รองโฆษก (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า พล.อ.อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นประธานเปิดการประชุมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติกับกลุ่มประเทศอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 (ASEAN Counter Terrorism and Transnational Crime Coordination Conference – ACTC 2023) จัดโดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 กอ.รมน. ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการ บูรณาการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ   การประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน ประกอบด้วยผู้ช่วยทูตทหารอาเซียนประจำประเทศไทย ผู้แทนจากหน่วยงานความมั่นคง อาทิ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.), ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.), กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.),…

80% ของคดีฆาตกรรมในสหรัฐฯ เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ

Loading

  องค์กรสิทธิมนุษยชนเผย 80% ของคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงในสหรัฐฯ ปี 2022 เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ   ปี 2022 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดเหตุฆาตกรรมจำนวนมากในสหรัฐฯ โดยเฉพาะความรุนแรงจากอาวุธปืน ซึ่งเกิดบ่อยจนแทบจะกลายเป็นเหตุการณ์ปกติที่ไม่ควรปกติในดินแดนแห่งเสรีภาพไปแล้ว และหนึ่งในรากเหง้าของปัญหานี้ ก็คือรากเหง้าเชิงทัศนคติความเชื่อ   สมาคมต่อต้านการหมิ่นประมาท (ADL) เปิดเผยว่า ในปี 2022 สหรัฐฯ มีเหตุฆาตกรรมที่ถูกจัดประเภทว่า “เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรง” อยู่ทั้งหมด 25 คดี และมีมีหลายคดีที่ “มีมูลเหตุทั้งหมดหรือบางส่วนมาจากแนวคิดความเชื่อ”   และแนวคิดความเชื่อที่นำไปสู่ความรุนแรงมากที่สุดในสหรัฐฯ คือแนวคิดเหยียดเพศ และแนวคิดเหยียดเชื้อชาติที่เชื่อว่าคนผิวขาวเป็นผู้ที่มีสถานะสูงสุดในสหรัฐฯ หรือ White Supremacy นั่นเอง   ตัวอย่างเช่น เหตุกราดยิงในเดือน พ.ค. 2022 ที่เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ซึ่งผู้ที่มีความเชื่อ White Supremacy ก่อเหตุยิงคนผิวสีเสียชีวิต 10 คน และอีกเหตุการณ์ในเดือน พ.ย. 2022 ที่โคโลราโดสปริงส์…