ไม่รอด! สแกมเมอร์บุก ChatGPT ปั่น AI ไว้หลอกลวงผู้คน

Loading

  เมื่อ ChatGPT กลายเป็นเครื่องมือของเหล่านักเขียน นักเล่าเรื่อง ที่เป็นกระแสเรียกความสนใจจากคนทั่วโลก โดย AI ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแบ่งเบาภาระให้กับการทำงานแบบเดิม แม้จะมีปัญหาตรงที่ยังสู้คนเขียนจริง ๆ ไม่ได้ แต่เรื่องของการพัฒนาระบบถือว่าใช้ได้   ดังนั้น ChatGPT จึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือให้เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้ในการสร้างเรื่องหลอกลวงผู้คนทั้งข้อมูลส่วนตัวและหลอกเงิน ผ่านข้อความที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยและยังไม่มีวิธีป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามเหล่านี้ได้ด้วย   อย่างไรก็ตาม ChatGPT ยังมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก แต่ด้วยความเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีการป้องกันที่รัดกุม ทำให้แฮ็กเกอร์เอง ก็กำลังเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ในการนำไปใช้ในการหลอกลวงผู้คนเช่นกัน     มัลแวร์ (Malware)   เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้รูปแบบของการติดไวรัสในอุปกรณ์บางอย่าง จากนั้นระบบปฏิบัติการณ์จะสั่งให้อัปเดตอุปกรณ์เพื่อป้องกันมัลแวร์   จากนั้นก็จะใช้การแจ้งเตือนให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกถึงแรงอันตรายจนนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต้องออกมาเตือนถึงปัญหาภัยคุกคาม   ซึ่ง ChatGPT มีความสามารถในการเขียนโค้ดที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะ AI ที่มีความสามารถในการเขียนมัลแวร์แบบโพลีมอร์ฟิค ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังไม่สามารถตรวจจับหรือป้องกันได้   นอกจากนี้ เหล่าแฮคเกอร์ยังใช้ ChatGPT เขียนโค้ดอันตรายมาก ๆ ให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าพวกเขากำลังโดนหลอกจากการหลอกโจมตีด้วยมัลแวร์แบบ 24 ชั่วโมง  …

กว่า 60 ประเทศลงนามในแถลงการณ์ที่ขอให้ใช้ AI ทางทหารอย่างรับผิดชอบ

Loading

  กว่า 60 ประเทศร่วมลงนามในแถลงการณ์เรียกร้องให้แต่ละประเทศใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการทหารอย่างมีความรับผิดชอบ   ในบรรดาประเทศที่ลงนามมี สหรัฐอเมริกา และจีน ด้วย โดยเจ้าภาพไม่เชิญรัสเซียจากกรณีการรุกรานยูเครน ส่วนยูเครนไม่ได้เข้าร่วม ขณะที่อิสราเอล แม้จะเข้าร่วมแต่ไม่ได้ลงนาม   รายละเอียดของเอกสารฉบับนี้คือการให้คำมั่นในการพัฒนาและใช้ปัญญาประดิษฐ์ทางการทหารที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติทางกฎหมายสากล และไม่กระทบต่อความมั่นคง เสถียรภาพ และหลักความรับผิดระหว่างประเทศ   เอกสารดังกล่าวเป็นผลลัพธ์จากการประชุมสุดยอดผู้นำปัญญาประดิษฐ์ทางการทหารระหว่างประเทศ (REAIM) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ โดยมีเนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพร่วมกับเกาหลีใต้   บอนนี เจนกินส์ (Bonnie Jenkins) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายควบคุมอาวุธของสหรัฐฯ ใช้โอกาสนี้ในการผลักดันกรอบข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่ชี้ว่าระบบอาวุธปัญญาประดิษฐ์ควรต้องพึ่งพาการตัดสินใจของมนุษย์ในระดับที่เหมาะสม   ทางฝั่ง เจี้ยนตัน (Jian Tan) ผู้แทนจากจีนกล่าวต่อที่ประชุมว่าทุกประเทศควรต่อต้านการแสวงหาความได้เปรียบและการเป็นเจ้าด้านการทหารแบบเบ็ดเสร็จผ่านการใช้ปัญญาประดิษฐ์     ที่มา Reuters, Toby Sterling       ————————————————————————————————————————- ที่มา :       …

หมายแดงตำรวจสากล…คืออะไร?

Loading

  ช่วงนี้มีประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศหลายประเด็นมาก วันนี้เลยขออนุญาตนำประเด็นหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นที่สนใจของหลายคน นั่นก็คือ ประเด็นเกี่ยวกับหมายแดงและองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศครับ   1. ตำรวจสากลคืออะไร?   องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (International Criminal Police Organization หรือ INTERPOL) หรือรู้จักกันในนาม “ตำรวจสากล” เป็นองค์การระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization) ซึ่งมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 194 ประเทศ เพื่อช่วยเหลือตำรวจในประเทศสมาชิกให้สามารถทำงานร่วมกัน โดยผ่านการแลกเปลี่ยนและการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการสนับสนุนทางเทคนิคและปฏิบัติการต่าง ๆ   โดยหลักแล้ว ตำรวจสากลมีโครงการที่จัดการเกี่ยวกับประเด็นอาชญากรรมระหว่างประเทศทั้งสิ้น 3 ประเด็น ได้แก่ การต่อต้านการก่อการร้าย (counter-terrorism) องค์กรอาชญากรรม (organized and emerging crime) และอาชญากรรมไซเบอร์ (cybercrime)   2. หมายแดงคืออะไร?   หมายแดง (red notice) คือคำร้องให้สามารถบังคับใช้กฎหมายทั่วโลกเพื่อระบุและจับกุมบุคคลโดยผ่านวิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ส่งตัวผู้ร้าย หรือกระบวนการกฎหมายที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้…

รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับ สาวจีนซื้อเกาะในโอกินาวะ “ถูกต้องตามกฎหมาย”

Loading

  เปิดกฎหมายที่ดินญี่ปุ่นกรณีสาวจีนซื้อเกาะร้างในหมู่เกาะโอกินาวะไม่เข้าข่ายพื้นที่ควบคุม รัฐบาลไม่สามารถแทรกแซงได้ ถึงแม้ประชาชนจะกังวลเรื่องความมั่นคงก็ตาม   หญิงสาวชาวจีน 34 ปี เผยแพร่ภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ระบุว่า ครอบครัวของเธอได้ซื้อเกาะ “ยานะฮะจิมะ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะโอกินาวะของญี่ปุ่น กลายเป็นประเด็นร้อนในแดนอาทิตย์อุทัย ชาวญี่ปุ่นต่างระบุว่า “นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการบุกรุกดินแดน” และหวั่นใจว่าจะซ้ำรอยเกาะเซ็งกากุ ที่เรือประมงและเรือติดอาวุธของหน่วยยามฝั่งของจีน เข้ามาในพื้นที่ใกล้กับหมู่เกาะเซ็งกากุอยู่เป็นประจำ   ทั้งนี้ กฎหมายของญี่ปุ่นไม่ได้มีข้อห้ามชาวต่างชาติซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่น โดยเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีประจำปี แต่ว่าการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับวีซ่าให้เข้าประเทศ หรือมีสิทธิพำนักในญี่ปุ่น     นายมัตสึโนะ ฮิโรคาสุ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุว่า การซื้อขายเกาะดังกล่าวทำถูกต้องตามกฎหมาย แต่รัฐบาลจะจับตาความเคลื่อนไหวในกรณีนี้ต่อไป   อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออก กฎหมาย “ตรวจสอบที่ดินที่มีความสำคัญ” บังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว กฎหมายดังกล่าวให้รัฐบาลมีอำนาจตรวจสอบที่ดิน 3 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ได้แก่ 1.ที่ดินใกล้กับพื้นที่ของกองกำลังป้องกันตนเอง 2.ที่ดินใกล้กับโรงไฟฟ้าและสถานที่ทางนิวเคลียร์ 3.พื้นที่เกาะที่ใกล้กับพรมแดน     พื้นที่ใกล้กับที่ดินดังกล่าวรัศมี 1 กิโลเมตรจะถือเป็น “พื้นที่เฝ้าระวัง” ทางการญี่ปุ่นสามารถตรวจสอบชื่อและสัญชาติของเจ้าของที่ดินได้ นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่มีความสำคัญมากขึ้นก็จะถูกจัดเป็น “พื้นที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ”…

SKY ผนึก มจธ. เร่งพัฒนา Tech Talent พร้อมหนุนทุนวิจัยเทคโนโลยีในสนามบิน

Loading

  SKY ICT จับมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เชื่อมทักษะจากห้องเรียนสู่การปฏิบัติจริง พัฒนา Tech Talent รุ่นใหม่ขับเคลื่อนอนาคตประเทศ พร้อมเตรียมงบประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อหนุนทุนวิจัย-ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี เสริมแกร่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มุ่งยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ   นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือ KMUTT ในการร่วมกันพัฒนานักศึกษาสู่การเป็น Tech Talent ที่ผ่านการปฏิบัติงานจริง และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานบัณฑิตหลังจบการศึกษา ตลอดจนสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนางานบริการทางวิชาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศต่อไปในอนาคต ตามปณิธานของสกาย ไอซีทีด้าน Tech Talent Transformation ที่มุ่งสร้าง Tech Talent สายเลือดใหม่เข้ามาเติมเต็ม Tech…

ผู้ใช้บริการมีสิทธิรู้ว่า ‘ข้อมูล’ ของตนเองถูกเปิดเผยหรือโอนไปอยู่ที่ใคร

Loading

  วันที่ 12 ม.ค.2566 ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ได้เผยแพร่คำวินิจฉัยคดี C-154/21 ที่ผู้ใช้บริการของ Österreichische Post มีคำร้องขอ (data subject request: DSR) ให้ผู้ให้บริการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนเอง ว่าถูกเปิดเผยหรือโอนไปยังบุคคลใดบ้าง (access request)   ผู้ร้องขอกล่าวอ้างว่า Österreichische Post ในฐานะ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” (data controller) มีหน้าที่ตามกฎหมายในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ใช้บริการในฐานะ “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (data subject) ตาม   กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (EU General Data Protection Regulation: GDPR)   ซึ่งกำหนดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับ (recipients) หรือประเภทของผู้รับ (categories of recipient) ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของเขาถูกเปิดเผยหรือจะถูกเปิดเผย   ผู้ให้บริการตอบสนองต่อคำร้องขอของผู้ใช้บริการ โดยการให้ข้อมูลแบบไม่เฉพาะเจาะจงตัวผู้รับโอนข้อมูล กล่าวคือ ให้ข้อมูลเพียงว่า ผู้ให้บริการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตในการดำเนินกิจกรรม  …