คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! รวมคำถามฮิต e-Signature / Digital Signature

Loading

1. “รูปลายเซ็น ตัด แปะ” ลงในไฟล์ PDF และส่งทางอีเมลถือเป็น e-Signature หรือไม่ ? ตอบ : ก่อนอื่นต้องมาทบทวนความหมายของ e-Signature กันก่อน เนื่องจาก e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ถูกสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น   ดังนั้น จากคำถามข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปลายเซ็นที่ตัดแปะลงในไฟล์ PDF สามารถเป็น e-Signature ตามมาตรา 9 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งจะเรียกกันว่า “e-Signature แบบทั่วไป” นั่นเอง โดย e-signature ดังกล่าวตามกฎหมายจะต้องระบุองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้ ดังนี้ 1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นลายเซ็นคือใคร 2. สามารถระบุเจตนาตามข้อความที่เซ็นได้ ว่าเป็นการเซ็นเพื่ออะไร…

หอการค้าสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีมาตรการควบคุม AI

Loading

  หอการค้าสหรัฐอเมริกา (USCC) เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือกลายเป็นภัยความมั่นคง   USCC ชี้ว่านักกำหนดนโยบายและผู้นำด้านธุรกิจจะต้องเร่งกำหนดแนวทางกำกับดูแลด้านความเสี่ยง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกใช้อย่างมีความรับผิดชอบ   ทาง USCC ยังประเมินว่าปัญญาประดิษฐ์จะเพิ่มมูลค่าการเติบทางเศรษฐกิจโลกสูงถึง 13 ล้านล้านเหรียญ (ราว 455 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 และเห็นด้วยว่าที่ผ่านมาเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยเสริมศักยภาพทางการแพทย์และการป้องกันไฟป่าของรัฐ   โดยมีการประเมินว่า หน่วยงานรัฐบาลและองค์กรธุรกิจเกือบทุกแห่งจะนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ภายใน 20 ปีต่อจากนี้   ในทางกลับกัน ก็จำเป็นต้องมีความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ในอนาคตด้วย ซึ่งก็ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและเหมาะสม มาตรการที่จะออกมาต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอ     ที่มา Reuters         ————————————————————————————————————————- ที่มา :                   แบไต๋           …

ศาลอินโดนีเซียจำคุก จนท. 2 ราย เหตุเหยียบกันตายในสนามฟุตบอล

Loading

  ศาลอินโดนีเซียตัดสินลงโทษจำคุกเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันฟุตบอล 2 คน ในความผิดฐานประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมในสนามฟุตบอลครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์วงการฟุตบอลของอินโดนีเซีย ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลในเมืองมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว   นายอับดุล ฮาริส ผู้จัดการแข่งขันฟุตบอลจากทีม อารีมา เอฟซี ซึ่งเป็นทีมเหย้า ถูกศาลในเมืองสุราบายา ตัดสินว่ามีความผิดจากการประมาทเลินเล่อและถูกจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน ผู้พิพากษายังตัดสินจำคุกนายซูโก ซูทริสโน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในความผิดฐานประมาทเลินเล่อ เขาถูกลงโทษจำคุกเป็นเวลา 1 ปี   ผู้พิพากษากล่าวด้วยว่า จำเลยไม่คาดคิดว่าจะเกิดความวุ่นวาย เพราะไม่เคยเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินมาก่อน จำเลยจึงไม่เข้าใจหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดีเพียงพอ ทั้ง 2 คน มีเวลา 7 วัน ที่จะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาล นอกจากนี้ยังมีตำรวจอีก 3 นาย ที่ถูกตั้งข้อหาและกำลังรอคำตัดสินของศาล ส่วนอดีตผู้อำนวยการของบริษัทที่บริหารการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอินโดนีเซีย ตกเป็นผู้ต้องสงสัยและกำลังอยู่ในระหว่างการถูกสอบสวนความผิด   หลังคำตัดสินเมื่อวันพฤหัสบดี ครอบครัวของเหยื่อแสดงความผิดหวังต่อคำตัดสินที่พวกเขากล่าวว่าเป็นการลงโทษแบบผ่อนปรน หลังจากอัยการเคยเสนอให้ลงโทษจำคุกเขาเป็นเวลา 6 ปี 8 เดือน   เหตุเหยียบกันตายในสนามฟุตบอลอินโดนีเซีย เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมเปอร์เซบายา…

แบงก์ชาติเอาจริง! ประกาศบังคับทุกธนาคาร เริ่มใช้มาตรการป้องกันภัยโกงเงิน

Loading

  แบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) เผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ เช่น SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม และแอปพลิเคชันดูดเงิน จึงต้องบังคับใช้มาตรการป้องกันกับทุกธนาคาร   แบงก์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่พบภัยจากไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็น SMS ปลอม , แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแอปพลิเคชั่นดูดเงินต่างๆ   แบงก์ชาติ จึงต้องออกนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน สรุปได้ดังนี้     มาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น –  ให้สถาบันการเงินงดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน –  จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ของแต่ละสถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดยต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง –  พัฒนาระบบความปลอดภัยบน…

รัฐมนตรีสหราชอาณาจักรชี้บริษัทจีนที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลเคยโจมตีไซเบอร์ต่อประเทศ

Loading

  จอร์จ ฟรีแมน (George Freeman) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของสหราชอาณาจักร (DSIT) ชี้ว่าบริษัทจีนที่ได้รับสัมปทานด้านโควิดของรัฐเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS)   บริษัทนี้มีชื่อว่า BGI Group ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐระบุว่าเป็นผู้แฮ็ก Genomics England โครงการข้อมูลคนไข้ของกระทรวงสาธารณสุข (DHSC) เมื่อปี 2014   BGI Genomics ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ BGI Group สามารถชนะการประมูลสัญญาการทดสอบโควิดมูลค่า 11 ล้านปอนด์ (ราว 457 ล้านบาท) จากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้เมื่อปี 2021   ก่อนหน้านี้สมาชิกรัฐสภาเคยขอให้รัฐบาลยุติการทำงานร่วมกับบริษัทดังกล่าว โดยให้เหตุผลด้านความมั่นคง   ด้าน BGI Group ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าบริษัทไม่เคยและไม่มีทางที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแฮ็กใครก็ตาม และย้ำว่าบริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน   ห้องทดลองที่อยู่ในสหราชอาณาจักรก็มีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเอง ไม่เคยส่งข้อมูลออกไปนอกประเทศ   ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาก็ออกมาขึ้นบัญชีดำบริษัทนี้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรม   ที่มา…