ส่งจดหมายขู่ถึงสถานีโทรทัศน์ 5 แห่งในเอกวาดอร์

Loading

  คนร้ายส่งจดหมายขู่ระเบิดสถานีโทรทัศน์อย่างน้อย 5 แห่งในเอกวาดอร์   รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในประเทศของเอกวาดอร์ รายงานมีจดหมายขู่หลายฉบับส่งจากเมืองกิมซาโลมาในจังหวัดชายฝั่งลอสริออส จดหมายขู่ 3 ฉบับ ส่งไปที่เมืองกัวยากิลที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ และ อีก 2 ฉบับส่งไปที่กรุงกีโต ทุกฉบับมียูเอสบีแนบไปด้วย   ผู้สื่อข่าว เลนิน อาร์เตดา แห่งสถานีโทรทัศน์เอกวาวิซา ได้รับจดหมายบรรจุไดรฟ์ที่กดระเบิด เมื่อเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยที่มือและใบหน้า พนักงานสอบสวนรายงานมีจดหมายขู่ระเบิดถูกส่งไปที่สำนักงานของสถานีโทรทัศน์ทีซีด้วย รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในกล่าวว่า เป็นการส่งสาส์นอย่างชัดเจนเพื่อปิดปากผู้สื่อข่าว         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                             today line             …

‘ภัยคุกคามไซเบอร์’ โจมตี ‘เซิร์ฟเวอร์ไทย’ พุ่ง 89.48%

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์โลก เปิดรายงานความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุด พบไทยเจอเหตุการณ์โจมตีที่เป็นอันตรายจำนวน 364,219 เหตุการณ์ เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทย สูงกว่าปีที่แล้ว 89.48% หรือ 192,217 เหตุการณ์   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ประเทศไทย มีสถิติที่โดดเด่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปี 2562 มีการบันทึกเหตุการณ์โจมตีมากที่สุดกว่า 1.08 ล้านเหตุการณ์ ตัวเลขดังกล่าวลดลงในช่วงที่เกิดโรคระบาดในปี 2563-2564 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นได้บันทึกไว้อีกครั้งล่าสุดในปี 2565   ช่วง 3 ปีที่ผ่านมากลายเป็นบททดสอบที่ยิ่งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจ องค์กรทุกขนาดถูกบังคับให้เปลี่ยนลำดับความสำคัญ โดยมุ่งเน้นที่การปลดล็อกเพื่อเปลี่ยนไปสู่การทำงานจากระยะไกล ในขณะที่ยังต้องต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และการลงทุนในแหล่งรายได้ใหม่   อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจหลังแพร่ระบาดดูเหมือนจะได้รับการเตรียมพร้อมอย่างดี สำหรับอนาคตที่สดใสของประเทศไทย โดยปีนี้ รัฐบาลไทยมีเป้าหมายเร่งรัดการลงทุนของรัฐ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% ในปี 2566 โดยการเติบโตได้แรงหนุนจากแผนรัฐบาลในการเร่งการลงทุนของรัฐในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ขณะที่ ภาพรวมของภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้…

เตือน!! แฮ็กเกอร์ใช้ AI สร้างวิดีโอน่าเชื่อถือ หลอกล่อเหยื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พ่วงมัลแวร์

Loading

  แฮ็กเกอร์ใช้วิธีการใหม่ในการหลอกล่อเหยื่อ ด้วยการใช้ AI สร้างวิดีโอเพิ่มความน่าเชื่อถือ   ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างคอนเทนต์ให้เราได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบทความ, การสร้างภาพงานศิลป์ กระทั่งการสร้างวิดีโอให้ดูสมจริง ทว่า นี่กลับกลายเป็นช่องทางให้แฮ็กเกอร์สามารถหลอกลวงเหยื่อได้แนบเนียนขึ้นกว่าเดิม!!   การโจมตีบนยูทูบเพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน   CloudSEK บริษัทด้าน AI คาดการณ์ว่า ในแต่ละเดือนจะพบการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ (YouTube) เพิ่มขึ้น 200-300% ซึ่งการโจมตีจะอยู่ในรูปแบบการฝังโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ลงในลิงก์ที่มากับวิดีโอ โดยมัลแวร์เหล่านี้จะมีความสามารถในการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเหยื่อได้ เช่น ไวดาร์ (Vidar), เรดไลน์ (RedLine) และแรคคูน (Raccoon)     หลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลด “มัลแวร์”   สำหรับวิธีการที่แฮ็กเกอร์ใช้หลอกล่อเหยื่อ ให้เข้ามาดาวน์โหลดมัลแวร์จากลิงก์ที่อยู่ในส่วนขยายความ (Description) ของยูทูบ คือ การสร้างวิดีโอที่น่าเชื่อถือโดยมีผู้บรรยายประกอบ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะอาศัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสร้างวิดีโอเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ แพลตฟอร์มซินธิเซีย (Synthesia) และ ดี-ไอดี…

ช็อก!! ชาวซิกข์ประท้วงเดือดบุกดึง “ธงชาติอินเดีย” ลงจากเฉลียงสถานทูตอินเดียในลอนดอน “โมดี” ตัดอินเทอร์เน็ต 27 ล้านคนวันที่ 4 ไล่ล่าแบ่งแยกดินแดนปัญจาบ

Loading

  เอเจนซีส์/เอพี/MGRออนไลน์ – กลุ่มประท้วงชาวซิกข์ในขบวนการ Khalistan (Khalistan) เปิดฉากประท้วงคู่ขนานทั้งที่สถานทูตอินเดียประจำกรุงลอนดอน และสถานกงสุลใหญ่อินเดียในเมืองซานฟรานซิสโก วันอาทิตย์ (19 มี.ค.) ภาพเผยแพร่ว่อนธงเหลืองขบวนการคาลิสถานแบ่งแยกดินแดนเผยแพร่ไปทั่ว ก่อนผู้ประท้วงใจกล้าบุกขึ้นเฉลียงชั้น 1 สถานทูตในอังกฤษ ก่อนปลดธงชาติ 3 สีอินเดียออก ระหว่างที่รัฐบาลนิวเดลีสั่งตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 27 ล้านคน เพื่อให้ตำรวจปัญจาบตามไล่ล่าบุคคลสำคัญกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวซิกข์   เอพีรายงานวานนี้ (20 มี.ค.) ว่า ตำรวจอังกฤษและตำรวจเมืองซานฟรานซิสโก แถลงตรงกันในวันจันทร์ (20) ว่า หน้าต่างของสถานทูตอินเดียประจำกรุงลอนดอน และหน้าต่างของสถานกงสุลใหญ่อินเดียประจำเมืองซานฟรานซิสโก ได้รับความเสียหายจากการประท้วงกลุ่มผู้สนับสนุนขบวนการคาลิสถาน (Khalistan) ซึ่งแบ่งแยกดินแดนชาวชาวซิกข์   ภาพที่เผยแพร่ไปทั่วโลกโซเชียลมีเดียอย่างสุดระทึกที่ด้านหน้าสถานทูตอินเดีย ในกรุงลอนดอน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ (19) แสดงให้เห็นผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งมาพร้อมธงสีเหลืองอันเป็นธงสัญลักษณ์ของขบวนการ พร้อมกับมีชายคนหนึ่งโพกผ้าสีเหลืองปีนขึ้นเฉลียงชั้น 1 ของอาคารสถานทูตกำลังปลดธงชาติ 3 สีของอินเดียลงท่ามกลางเสียงตะโกนเชียร์อย่างกึกก้อง อ้างอิงจากสื่อดิอินดีเพนเดนต์ของอังกฤษ   ตำรวจนครบาลอังกฤษ MET แถลงว่า มีชายคนหนึ่งถูกจับกุมในบ่ายวันอาทิตย์ (19) หลังก่อความไม่สงบอย่างรุนแรงด้านนอกสถานทูตอินเดีย…

ไทยผลักดันเร่งด่วน ต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ 1 ใน 9 วาระสำคัญ ประชุม รมต.อาเซียนด้านดิจิทัล ชูผลดี สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ร่วมมือ

Loading

    รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เผยผลประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 ไทยผลักดันเร่งด่วน ต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ ชู สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ร่วมมือสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เศรษฐกิจดิจิทัล และพัฒนาเมืองอัจฉริยะ   วันนี้ (21 มี.ค.) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Digital Ministers’ Meeting : ADGMIN ครั้งที่ 3) และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เกาะโบราไคย์ ฟิลิปปินส์ โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีและผู้ที่ได้รับมอบหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ร่วมกับประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้…

เตือนภัย! ทิ้งรอยเท้าไว้ในโลกดิจิทัล

Loading

    วันที่ 21 มี.ค.66 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | Anti-Fake News Center Thailand แจ้งว่า ระวังให้ดี! สื่อออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว   สิ่งที่เราทำลงไปในโลกดิจิทัล เช่น การโพสต์ การแชร์ การแสดงความคิดเห็น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในประวัติข้อมูลของเรา เปรียบเสมือนเป็นการฝากรอยเท้าไว้ในโลกดิจิทัล เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่าไม่ใช่คนดัง ไม่ใช่ดาราแล้วจะไม่มีใครสนใจ อาจเดือดร้อนได้จากสื่อออนไลน์   รอยเท้าดิจิทัล คือ การโพสต์ แชร์ แสดงความคิดเห็น เช็คอิน ข้อมูลส่วนตัว เลขบัตรต่างๆ เบอร์โทร, ภาพถ่าย ความสัมพันธ์กับผู้คน   อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากรอยเท้าดิจิทัล ถูกปลอมสำเนาการเงิน เอกสารราชการ บัตรประชาชน เสียภาพพจน์ ถูกปลอมบัญชีโซเชียลมีเดียต่างๆ   วิธีจัดการ ลบประวัติการค้นหาและการเข้าถึง ตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา อย่าคลิกลิงก์ที่ไม่น่าไว้ใจ ไม่แชร์ข้อมูลที่ไม่จำเป็น ตรวจสอบบัญชีเชื่อมโยง      …