เสียงดังคล้ายระเบิดสนั่น ควันโขมงที่สุไหงปาดี

Loading

  ชายแดนใต้อึมครึม เกิดเสียงดังสนั่นคล้ายระเบิดใน อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส พร้อมกลุ่มควันหนา สั่งคุมเข้มทุกหน่วยรักษาที่ตั้งเข้มแข็ง ป้องกันถูกลอบโจมตี เตรียมรุดตรวจที่เกิดเหตุวันรุ่งขึ้น ส่วนที่ปัตตานี ประกบยิง ผบ.ร้อยทหารพรานบาดเจ็บสาหัส   เมื่อเวลาประมาณ 21.25 น. วันอาทิตย์ที่ 26 มี.ค.66 เกิดเสียงดังคล้ายระเบิดในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ทำให้เกิดกลุ่มควันหนา มองเห็นจากระยะไกล หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยได้ประสานให้มีการตั้งด่าน เฝ้าระวังเส้นทาง และใช้มาตรการป้องกันที่ตั้ง ทั้งฐานปฏิบัติการ ฐานชุดคุ้มครองตำบล หรือ ชคต. และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หรือ ชรบ. ทุกแห่ง พร้อมปฏิบัติการรักษาที่ตั้งและตอบโต้อย่างมีประสิทธิภาพหากมีคนร้ายบุกโจมตีฐาน ส่วนการตรวจที่เกิดเหตุอย่างละเอียด จะดำเนินการในวันรุ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัย เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความสูญเสีย   ช่วงค่ำวันเดียวกัน เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ประกบยิง ร.ท.สิทธิชัย ทวิธางกูล ผู้บังคับกองร้อยทหารพรานที่ 2006 (ผบ.ร้อย ทพ.2006) ในพื้นที่บ้านโสร่ง หมู่ 3 ต.เขาตูม…

ไม่ใช่แค่ขู่! รัสเซียประกาศแผนติดตั้ง “อาวุธนิวเคลียร์” ในเบลารุส

Loading

    ปูตินแถลง บรรลุข้อตกลงติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของเบลารุส เป็นการนำอาวุธนิวเคลียร์ไปใกล้ชาติยุโรปมากขึ้น   หนึ่งในสิ่งที่ทั่วโลกมีความกังวลที่สุดเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน คือเรื่องของ “การใช้อาวุธนิวเคลียร์” ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้สงครามครั้งนี้รุนแรงขึ้นจนอาจยกระดับกลายเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 3”   ตลอดปีที่ผ่านมา คำขู่เรื่องอาวุธนิวเคลียร์ของฝ่ายรัสเซียดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ทีเล่นทีจริง ไม่มีใครเดาใจผู้นำรัสเซียอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน ออกว่า ท้ายที่สุดแล้วเขาจะตัดสินใจใช้อาวุธร้ายแรงนี้ในการทำศึกหรือไม่     อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวานนี้ (25 มี.ค.) ปูตินได้ออกมาแถลงผ่านช่องโทรทัศน์ของรัฐว่า “รัสเซียได้บรรลุข้อตกลงในการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของเบลารุส”   ความเคลื่อนไหวนี้เท่ากับว่า รัสเซียได้นำคลังแสงนิวเคลียร์บางส่วนไปไว้ใกล้กับยูเครน และยุโรป   ปูตินอ้างว่า การตัดสินใจนี้ไม่นับเป็นการละเมิดข้อตกลงไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยมีลักษณะเหมือนกับข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับพันธมิตรหลายชาติในยุโรปที่อนุญาตให้สหรัฐฯ ไปตั้งฐานอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศเหล่านั้นได้   “เรื่องนี้ไม่มีอะไรผิดปกติ ประการแรก สหรัฐฯ ทำสิ่งนี้มานานหลายทศวรรษแล้ว พวกเขาติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของประเทศพันธมิตรมานานแล้ว” ปูตินกล่าว   มีการประเมินโดยศูนย์ควบคุมอาวุธและการไม่แพร่ขยายอาวุธว่า สหรัฐฯ มีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 100 ชิ้นจัดเก็บอยู่ในฐานทัพยุโรป 6 แห่งใน 5 ประเทศ…

หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์ หากพบแนบลิงก์ ระวังอาจเป็นมิจฉาชีพ

Loading

ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย   หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ธนาคารสามารถแยกได้ระหว่าง SMS ธนาคาร กับ SMS มิจฉาชีพแอบอ้างธนาคารได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการให้ธนาคารยกเลิกแนบลิงก์ทาง SMS และอีเมล ป้องกันสับสนระหว่างข้อความของธนาคาร และข้อความที่ส่งโดยมิจฉาชีพ   หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์   ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย ธ.กสิกรไทย         0-2888-8888   กด 001 ธ.กรุงไทย         0-2111-1111   กด 108 ธ.กรุงศรีอยุธยา        1572   กด 5 ธ.กรุงเทพ          1333 หรือ…

ตุลาการสหรัฐตัดสิน “อินเทอร์เน็ต อาร์ไคฟ์” ละเมิดลิขสิทธิ์

Loading

    เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผู้พิพากษาสหรัฐมีคำตัดสินว่า ห้องสมุดออนไลน์ที่ดำเนินการโดย “อินเทอร์เน็ต อาร์ไคฟ์” (ไอเอ) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ละเมิดลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์สหรัฐรายใหญ่ 4 ราย ด้วยการให้ยืมสำเนาหนังสือแบบดิจิทัลที่มาจากการสแกน   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ว่า คำตัดสินของนายจอห์น โคเอลต์ ผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางเขตแมนฮัตตัน มีต่อคดีที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นการตรวจสอบความสามารถของไอเอ ในการให้ยืมผลงานของนักเขียน และสำนักพิมพ์ที่ยังคงได้รับการคุ้มครอง จากกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ   ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไอเอทำการสแกนหนังสือหลายล้านเล่ม และให้ยืมสำเนาในรูปแบบดิจิทัลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งแม้หนังสือหลายเล่มจะเป็นสมบัติสาธารณะ แต่หนังสือราว 3.6 ล้านเล่ม ได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง     สำนักพิมพ์ของสหรัฐ 4 แห่ง ฟ้องร้องไอเอ เกี่ยวกับหนังสือ 127 เล่ม เมื่อปี 2563 หลังจากองค์การขยายการให้ยืมหนังสือในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 โดยยกเลิกการจำกัดจำนวนคนที่สามารถยืมหนังสือเล่มหนึ่งได้ในแต่ละครั้ง   ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา…

OpenAI ยอมรับบั๊กของ ChatGPT มีโอกาสเผยข้อมูลอีเมลและประวัติการชำระเงินของผู้ใช้งาน

Loading

    โอเพนเอไอ ผู้พัฒนา ChatGPT ออกมาเปิดเผยว่าบั๊กที่เกิดขึ้นบนแชตบอตยอดนิยมในช่วงต้นสัปดาห์ อาจมีการรั่วไหลของข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน ทั้งในส่วนบัตรเครดิต และอีเมล   ChatGPT เป็นแชตบอตที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวลานี้ โดยเป็นผลงานการพัฒนาของโอเพนเอไอ ก่อนที่จะออกโมเดลธุรกิจเพื่อหากำไรมากขึ้นด้วยการออกระบบสมาชิกที่มีชื่อว่า ChatGPT Plus เพียงแต่ในช่วงวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้ใช้งาน ChatGPT พบบั๊กระหว่างการใช้งาน โดยเป็นการแสดงรายการแชตของผู้ใช้งานรายอื่น   ด้วยเหตุดังนั้นจึงทำให้โอเพนเอไอ สั่งปิด ChatGPT ชั่วคราวเป็นเวลากว่า 10 ชั่วโมง จนกระทั่งในเช้าวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา โอเพนเอไอ ได้ออกมาชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น   จากการตรวจสอบ โอเพนเอไอ พบว่าบั๊กที่แสดงรายการแชตของผู้ใช้งานรายอื่น มีโอกาสที่จะเปิดเผยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิก ChatGPT Plus ราว 1.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประกอบไปด้วยชื่อ นามสกุล อีเมล และข้อมูลการชำระเงิน   แต่ในส่วนเลขบัตรเครดิต โอเพนเอไอ ยืนยันว่า เห็นเฉพาะเลข 4 หลักสุดท้ายเท่านั้น ไม่ได้เห็นเลขบัตรเครดิตทั้งหมด   ในเวลาเดียวกัน…

แท็กทีมแบน! ‘ฝรั่งเศส’ สั่งห้าม จนท.รัฐใช้ TikTok บนมือถือทำงาน

Loading

    รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศห้ามข้าราชการใช้แอปพลิเคชัน TikTok บนโทรศัพท์มือถือสำหรับทำงาน โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงทางไซเบอร์   สตานิสลาส เกรินี รัฐมนตรีกระทรวงข้าราชการของฝรั่งเศส ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า “เพื่อรับรองความมั่นคงทางไซเบอร์ของหน่วยงานรัฐและข้าราชการ รัฐบาลจึงตัดสินใจห้ามการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสันทนาการต่างๆ เช่น TikTok บนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการทำงานของข้าราชการ”   เกรินี ย้ำว่า ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศหุ้นส่วนทั้งในยุโรปและนานาชาติต่างก็ใช้มาตรการจำกัด/แบนการดาวน์โหลดและติดตั้ง TikTok เนื่องจากแอปพลิเคชันเพื่อสันทนาการเหล่านี้มีระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลผู้ใช้ไม่มากพอที่จะใช้งานบนอุปกรณ์ของรัฐ   คำสั่งแบนนี้มีผลบังคับใช้ทันที และทางการฝรั่งเศสจะติดตามผลการปฏิบัติตามคำสั่งของข้าราชการด้วย   รัฐบาล และสถาบันต่างๆ ของตะวันตกเริ่มทยอยสั่งแบน TikTok กันในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น รัฐสภาอังกฤษ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเบลเยียม และรัฐสภานิวซีแลนด์ เป็นต้น   เมื่อปลายเดือน ก.พ. คณะกรรมาธิการยุโรปและคณะมนตรียุโรปซึ่งเป็น 2 องค์กรบริหารใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป (อียู) ก็ได้ประกาศห้ามเจ้าหน้าที่ใช้แอป TikTok โดยอ้างเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์เช่นกัน   หลายประเทศต่างแสดงความวิตกกังวลว่ารัฐบาลจีนอาจจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ TikTok เช่น สถานที่อยู่ หรือรายชื่อผู้ติดต่อผ่านทางฐานข้อมูลของ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่สัญชาติจีน…