คลุมเครือต่อไป! สหรัฐฯ ไม่อนุญาตเผยคลิปยิงสอย ‘วัตถุบินปริศนา’ เหนืออะแลสกา อ้างเป็นข้อมูล ‘ชั้นความลับ’

Loading

    กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อ้างคลิปบันทึกเหตุการณ์ขณะที่เครื่องบินของกองทัพยิงสอยวัตถุบินปริศนาเหนือรัฐอะแลสกาเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ยังถือเป็นข้อมูลชั้นความลับ (classified) และไม่สามารถเผยให้สาธารณชนรับรู้ได้   “คลิปการยิงทำลายวัตถุปริศนาในบรรยากาศชั้นสูงมีอยู่จริง” โฆษกเพนตากอนให้สัมภาษณ์กับ Fox News Digital แต่ย้ำว่า “ยังไม่มีคลิปไหนที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ได้ และมันยังจัดเป็นข้อมูลชั้นความลับอยู่”   คำยืนยันจากโฆษกผู้นี้มีขึ้นหลังจากที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ออกมาระบุเมื่อเดือน ก.พ. ว่า มีวัตถุบินจำนวนมากถูกกองทัพยิงตกเหนือรัฐอะแลสกาตามคำสั่งของประธานาธิบดี โจ ไบเดน   “วัตถุดังกล่าวลอยอยู่ที่ระดับความสูง 40,000 ฟุต และก่อความเสี่ยงต่อเครื่องบินพลเรือน” แพทริก ไรเดอร์ เลขานุการฝ่ายสื่อมวลชนของเพนตากอน ออกมาให้สัมภาษณ์หลังจากที่มีการยิงวัตถุบินลึกลับชิ้นหนึ่งตก   เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ หลังสหรัฐฯ พบ “บอลลูนสอดแนมจีน” เคลื่อนผ่านน่านฟ้าหลายรัฐตั้งแต่ภาคตะวันตกเรื่อยไปจนถึงตะวันออก จนสุดท้ายไปถูกเครื่องบินขับไล่อเมริกันยิงตกที่นอกชายฝั่งรัฐเซาท์แคโรไลนา   ในขณะที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีการปล่อยภาพนิ่งของบอลลูนจีน ทว่าจนถึงขณะนี้กลับยังไม่ยอมเผยคลิปหรือภาพอย่างเป็นทางการของวัตถุบินปริศนาเหนือรัฐอะแลสกา   “คลิปของวัตถุดังกล่าว รวมถึงคลิปการยิงทำลายยังไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ และผมเองก็ไม่สามารถระบุกรอบเวลาสำหรับการเผยแพร่ในอนาคตด้วย” โฆษกเพนตากอนระบุ   การออกมาให้ข้อมูลที่คลุมเครือเช่นนี้ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า จริงๆ แล้วกองทัพสหรัฐฯ ยิงอะไรตกกันแน่? และล่าสุดมีสมาคมบอลลูนสมัครเล่นแห่งหนึ่งออกมาระบุว่า…

Europol ตำรวจยุโรป เตือน! มิจฉาชีพ อาจใช้ ChatGPT หลอกแฮ็ก-ดูดเงิน ประชาชน

Loading

    Europol เตือนภัย ChatGPT อาจตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ เพื่อหลอกรัก แฮ็กข้อมูล ดูดเงินประชาชน หลังฉลาดเป็นกรด จนนึกว่าคนจริง   กองกำลังตำรวจของสหภาพยุโรป หรือ Europol ออกมาเตือนเกี่ยวกับการใช้ แชตบอทที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ อย่าง ChatGPT ในทางที่ผิด เช่น หลอกคุยเพื่อแฮ็กบัญชีด้วยหน้าเว็บปลอม (ฟิชชิ่ง) การบิดเบือนข้อมูล และ ใช้ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์   นับตั้งแต่ ChatGPT เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว เจ้าของอย่าง OpenAI ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft สร้างกระแสให้โลกด้วยความสามารถของมัน จนทำให้บริษัทด้านเทคโนโลยีใหญ่ ๆ ต่างพยายามเปิดตัวแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ไปตาม ๆ กัน   “ความสามารถของ LLM (โมเดลภาษาขนาดใหญ่) อย่าง ChatGPT กำลังได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การใช้ประโยชน์จากระบบ AI ประเภทนี้ โดยอาชญากร จึงเป็นที่น่ากังวล” ตามรายงานของ Europol  …

Elon Musk, Steve Wozniak และผู้นำเทคโนโลยี ลงนามขอให้หยุดฝึก AI ที่ทรงพลังกว่า GPT-4 เป็นเวลา 6 เดือน

Loading

  ผู้มีบทบาทด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) , อีลอน มัสก์ (Elon Musk) , Steve Wozniak (สตีฟ วอซเนียก) และผู้นำเทคโนโลยีหลายร้อยคน ร่วมกันลงนามเกี่ยวกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ริเริ่มโดยสถาบันฟิวเจอร์ ออฟ ไลฟ์ (Future of Life Institute) เพื่อขอให้ห้องปฏิบัติการเอไอหยุดฝึกระบบเอไอที่ทรงพลังกว่า จีพีทีโฟร์ (GPT-4) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน   โดยในจดหมายผนึกกล่าวไว้ว่า ระบบ AI ที่มีความฉลาดแข่งขันกับมนุษย์สามารถก่อให้เกิดภัยร้ายแรงต่อสังคมและมนุษยชาติ AI ขั้นสูงสามารถเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ เพราะเหตุนี้จึงควรได้รับการวางแผนและจัดการที่เหมาะสม   โดยการหยุดฝึก 6 เดือนนี้ เป็นการหยุดเพื่อพัฒนาและกำหนดกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ให้ AI มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และการหยุดชั่วคราวนี้ควรเปิดเผยต่อสาธารณะและสามารถตรวจสอบได้ หากไม่สามารถประกาศใช้การหยุดชั่วคราวดังกล่าว รัฐบาลควรเข้ามาดำเนินการและควบคุมเรื่องนี้เช่นกัน   ดูจดหมายเปิดผนึกฉบับเต็มได้ที่ https://futureoflife.org/open-letter/pause-giant-ai-experiments/   ผู้ร่วมลงนามส่วนหนึ่งในจดหมายฉบับนี้   ยูวัล โนอาห์…

ตร.คุมเข้มก่อนเลือกตั้ง เก็บข้อมูลมือปืนรับจ้าง ผู้มีอิทธิพล ลุยค้นเป้าหมายต่อเนื่อง!

Loading

    พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วย ผบ.ตร. เตรียมคุมเข้มก่อนการเลือกตั้ง ตร.ทั่วประเทศรวบรวมข้อมูลมือปืนรับจ้าง ผู้มีอิทธิพล ปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายต่อเนื่อง ชี้ขณะนี้ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้   เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) กล่าวถึงนโยบายการดำเนินการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วงก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 พ.ค.นี้ ว่า พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้สั่งการให้ตำรวจทุกหน่วยวางแผนเตรียมการปฎิบัติ โดยเฉพาะตนเองที่ได้รับมอบหมายปฎิบัติภารกิจในศูนย์ป้องกันและปราบปรามมือปืนรับจ้างและผู้มีอิทธิพล ซึ่งมี พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ก็ได้สั่งการให้ตำรวจทั่วประเทศเก็บรวบรวมข้อมูลมือปืนรับจ้าง และผู้มีอิทธิพล และได้มีการปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แล้วถ้าจุดใดมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นก็จะสั่งการให้กองบังคับการปราบปราม และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เข้าไปดำเนินการทันที โดยมีการเฝ้าระวังทุกพื้นที่ ซึ่งในการประชุมบริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติครั้งที่แล้ว ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เตรียมความพร้อมในทุกมิติ ให้มีแผนเผชิญเหตุ…

จุฬาฯ-ทภ.1 ซ้อมรับมือวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน – สู้” ติดอาวุธ นิสิต-นักศึกษา

Loading

    “จุฬาฯ-ทภ.1″ ซ้อมรับมือเหตุวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน – สู้” ติดอาวุธองค์ความรู้”นิสิต-นักศึกษา” ตระหนัก ตื่นตัว เอาตัวรอด   28 มีนาคม 2566 เวลา ณ อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์รักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสํานักงานบริหารกิจการนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 1, กองทัพน้อยที่ 1 และ กรมการสารวัตรทหารบก จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ Chula Public Safety ในหัวข้อ “หนี(Run) ซ่อน (Hide) สู้(Fight)”   โดยมี ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีกํากับดูแลงานด้านการพัฒนานิสิตและงานด้านการรักษาความปลอดภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พลโท ชิษณุพงศ์ รอดสิริ แม่ทัพน้อยที่ 1 พลตรี…

ย้อนรอย เหตุ “ซีเซียม-137” ถูกฝังในอพาร์ตเมนต์นับ 10 ปีที่ยูเครน

Loading

    เหตุเสียชีวิตปริศนาเกิดขึ้นที่อพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในเมืองกรามาตอสก์ ภูมิภาคดอแนตสก์ ประเทศยูเครน หลังมีผู้อาศัยเสียชีวิตถึง 4 รายโดยไม่ทราบสาเหตุ   เหตุการณ์เกิดขึ้นที่อาคารหมายเลข 7 ห้องพักที่ 85 ซึ่งเปิดให้มีผู้อาศัยครั้งแรกหลังการก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1980   ครอบครัวแรกที่ย้ายเข้ามาอยู่ได้เพียงปีเดียวต้องพบกับความสูญเสีย เมื่อลูกสาววัย 18 ปี เสียชีวิตก่อนวัยอันควรในวัย 18 ปีเมื่อปี ค.ศ. 1981   หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1982 น้องชายวัย 16 ปีและผู้เป็นแม่ ก็เสียชีวิตในปีเดียวกันนั้น   ทั้งสามเสียชีวิตจากสาเหตุเดียวกันคือการป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งแพทย์ลงความเห็นในขณะนั้นว่าสาเหตุน่าจะมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม   หลายปีต่อมา ครอบครัวที่สองได้ย้ายเข้ามาอยู่ในห้องเดียว และต้องเผชิญกับชะตากรรมไม่แตกต่างกัน เมื่อลูกชายคนโตต้องเสียชีวิตด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวในปี 1987 ส่วนลูกชายคนเล็กต้องล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเช่นเดียวกัน   หลังพบผู้อาศัยล้มป่วยโดยไม่สามารถหาสาเหตุจำนวนมาก บิดาจากครอบครัวผู้สูญเสียและผู้อาศัยในอพาร์ตเมนต์จึงรวมตัวกันเรียกร้องให้มีการตรวจสอบความเป็นไปได้ที่ผู้อาศัยอาจล้มป่วยจากการสัมผัสรังสีเกินขนาด   เจ้าหน้าที่จากสถาบันศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ของยูเครน (NASU) ทำการตรวจสอบห้องที่เกิดเหตุในปี ค.ศ. 1989 และพบว่าในห้องนอนของเด็กมีปริมาณรังสีแกมม่าสูงกว่าปกติ ทั้งจากกำแพงและบนเพดาน…